รายงานพิเศษ : ไม่ควรกังวลกับสงคราม เกาหลีเหนือ-สหรัฐฯ
ความคิดหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นในทุกตลาดและกำลังสร้างความวิตกคือสงครามที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐฯ แต่ผลการศึกษาจากสงครามในอดีตก็มีเหตุผลที่จะบอกว่านักลงทุนไม่จำเป็นต้องกังวลมาก
มีหลายเหตุผลที่ทำให้ตลาดปรับตัวลงอย่างรุนแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตั้งแต่ผลประกอบการไม่ดี มีการคุมเชิงบริเวณชายแดนระหว่างอินเดียและจีน ความซบเซาที่เกิดขึ้นทั่วโลก เกิดปัญหากับค่าเงินรูปีเมื่อนักลงทุนต่างชาติถอนเงินออก ถึงแม้ว่าไม่คำนึงถึงเหตุผลเหล่านี้ ตลาดหุ้นได้ปรับตัวลงเกือบ 4.8% จากที่พุ่งสูงสุดในช่วงหนึ่งสัปดาห์ บริษัทเล็กๆผลกระทบมากกว่าใคร ดัชนีบริษัทที่มีมูลค่าตลาดน้อยปรับตัวลงเกือบ 7% และดัชนีบริษัทที่มีมูลค่าตลาดปานกลางปรับตัวลงประมาณ 6%
ไม่ใช่ตลาดอินเดียแห่งเดียวที่เจ็บปวด ตลาดหุ้นทั่วโลกก็เจอแรงเทขายอีกรอบ ดัชนีหุ้นทุกประเทศของเอ็มเอสซีไอได้ปรับตัวลงเกือบ 9.81% ในช่วงสามวันที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความวิตกของตนเองหลายเรื่อง และเรื่องหนึ่งที่กำลังทำให้ตลาดกังวลคือสงครามที่กำลังตั้งเค้าระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐฯ
โดยทั่วไปแล้วตลาดมักกังวลทุกครั้งที่กำลังมีเค้าลางของสงคราม ในครั้งนี้มันต่างจากครั้งก่อนๆ สื่อตะวันตกอ้างว่าเกาหลีเหนือมีอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพและอาวุธเคมี หากเกิดสงครามใดๆ ก็จะเป็นหายนะอย่างใหญ่หลวง ถึงแม้ว่ายังไม่รู้ความจริงเกี่ยวกับการกล่าวอ้างนี้ แต่มันก็อาจเป็นการคุกคามที่เพียงพอที่จะสร้างความกลัวให้กับตลาดได้
อย่างไรก็ดี เมื่อย้อนกลับไปดูหลายๆ สงครามในอดีต ถือว่าตลาดปรับตัวได้ไม่เลวนัก ภายในไม่กี่เดือนหลังจากที่เริ่มเกิดสงคราม และตลาดได้ข้ามจุดสูงสุดก่อนสงคราม
ผลการศึกษาของเน็ด เดวิส รีเสิร์ช เกี่ยวกับวิกฤติภูมิศาสตร์การเมืองที่มีแรงส่งมากที่สุดในช่วงปี ค.ศ. 1900-2014 ชี้ว่า หลายตลาดฟื้นตัวจากช่วงตกต่ำหลังสงครามได้ในเวลาอันสั้นและจริงๆ แล้วภายในหกเดือนมีการซื้อขายสูงกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤติ ผลการศึกษานี้ได้ทำจากเหตุการณ์ทั้งหมด 51 เหตุการณ์ ซึ่งรวมถึงสงครามโลกสองครั้ง การสังหารจอห์น เอฟ เคเนดี้ วิกฤติการเงินเอเชียและการลงประชามติของอังกฤษเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากอียู โดยในเกือบทุกกรณี ตลาดฟื้นตัวในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน
ตลาดอินเดียเกิดความกลัวเป็นครั้งแรกในช่วงสงครามคาร์กิล (สงครามระหว่างอินเดียและปากีสถานในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2542) ในเวลาไม่ถึงสองเดือน ตลาดอินเดียทำนิวไฮและปรับตัวขึ้น ประมาณ 35% ภายในปลายปีนั้น
ได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเมื่อประเทศอยู่ในภาวะสงคราม รัฐบาลใช้จ่ายเงินอย่างไม่จำกัดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มอีก และบริษัทชั้นนำในภาควิศวกรรมส่วนใหญ่ ได้ช่วยหนุนความพยายามนั้นและได้นำตลาดดีดตัวขึ้น
อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่เปลี่ยนศตวรรษ มีการเปลี่ยนแปลงในตลาดเกิดขึ้น ในช่วงต้นๆ อุตสาหกรรมรถยนต์ สาธารณูปโภคและวิศวกรรม มีสัดส่วนมากในดัชนีหุ้นซึ่งช่วยเหลือรัฐบาลด้วยการดีดตัวในตลาดในเวลาเดียวกัน แต่ในขณะนี้องค์ประกอบของดัชนีเปลี่ยนไป ในขณะนี้ภาคบริการมีสัดส่วนมากในดัชนีต่างๆ โดยสะท้อนตามเศรษฐกิจ แม้ว่าบางภาคในเศรษฐกิจจะได้กำไรในกรณีที่มีสงครามแต่ผลกระทบต่อดัชนียังไม่แน่นอน อย่างไรก็ดี ภาคอื่นๆ จะได้กำไรเมื่อมีดีมานด์เพิ่มขึ้น
แน่นอนว่า ไม่มีใครได้ประโยชน์เมื่อมีการประกาศสงคราม แต่สงครามในอดีตโดยเฉพาะสงครามที่เกิดขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ ได้เป็นผลดีต่อตลาด ดังนั้นความตื่นตระหนกใดๆ อาจเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนจำนวนมากที่กำลังรออยู่ได้
สำหรับในสัปดาห์นี้ ประเด็นที่ตลาดต่างประเทศจะจับตามองได้แก่ การเริ่มเจรจาข้อตกลงเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) ใหม่ โดยการเจรจาใหม่รอบแรกจะเริ่มขึ้นในวันพุธ และกินเวลาไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์สัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ในระหว่างการหาเสียง เขาโทษว่านาฟตาทำให้ตำแหน่งงานในภาคผลิตย้ายไปยังเม็กซิโกและได้เรียกข้อตกลงนาฟตาว่าเป็นข้อตกลงการค้าที่แย่ที่สุดที่เคยมีการลงนามในที่ใดๆ ก็ตาม แม้ผลการศึกษาของสภาคองเกรสในปี 2558 พบว่าข้อตกลงนาฟตาไม่ได้ทำให้สหรัฐฯ สูญเสียตำแหน่งงาน
คณะบริหารของทรัมป์ต้องการข้อตกลงที่จะลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ กับเม็กซิโก เข้มงวดกฎหมายแรงงาน และเพิ่มเกณฑ์ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซในเม็กซิโก
สัปดาห์นี้ยังมีการแถลงผลประกอบการต่อของภาคค้าปลีกในสหรัฐ เช่นโฮม ดีโปจะแถลงในวันอังคาร วอลมาร์ทและแก็ปจะแถลงในวันพฤหัสบดี ขณะเดียวกันจะมีการเปิดเผยรายงานยอดขายปลีกในเดือนกรกฎาคมในวันอังคาร หากยอดขายปลีกยังคงลดลงก็ยากที่ทรัมป์จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ โต 3% ตามที่สัญญา