BBL ไม่แซ่บ แต่แข็ง

โลกของการลงทุนเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการซื้อขายหุ้นให้ทันท่วงที เพราะการนั่งอยู่เฉยๆ ทั้งที่ปัจจัยรอบด้านเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ย่อมทำให้พอร์ตของนักลงทุนลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจารย์ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด


ตีแผ่บจ.ดัง

คุณอรพิน จากบางปะกอก กรุงเทพฯ พูดถึงความต้องการของตนเองว่า ดิฉันเป็นนักลงทุนมือใหม่ จึงอยากจะลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีเป็นเวลา 5-10 ปี จึงมีคนแนะนำให้หันไปดู BBL หรือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพราะธนาคารยักษ์ใหญ่ที่อยู่คู่กับระบบเศรษฐกิจไทยมาเป็นเวลานาน แต่เมื่อหันมาดูราคาย้อนหลังปรากฏว่า หุ้นไม่ร้อนแรงอย่างที่คิด เพราะในปี 2537 ราคาหุ้นอยู่ที่ 180 บาท บนพาร์ 10 บาท วันนี้ 6 ก.ย. 2560 ราคา 184 บาท จึงอยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายว่า เกิดอะไรขึ้นคะ

 

โลกของการลงทุนเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการซื้อขายหุ้นให้ทันท่วงที เพราะการนั่งอยู่เฉยๆ ทั้งที่ปัจจัยรอบด้านเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ย่อมทำให้พอร์ตของนักลงทุนลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจารย์ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด

เนื่องจากหลักปฎิบัติของการเป็นนักลงทุนที่ดีมักว่าด้วยเรื่องการทำกำไรให้ได้ทุกโอกาส และต้องรู้จักจำกัดความเสียหายที่เกิดจากการลงทุนที่ผิดพลาด อาจารย์ถึงมองการกระทำของ คุณอรพิน เป็นอะไรที่ผิดจากหลักการ และควรเริ่มทำความเข้าใจรูปแบบการลงทุนใหม่โดยด่วนครับ

เหมือนกับการลงทุนในหุ้น BBL หรือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ถ้ามองว่า จุดแข็งของหุ้นตัวนี้อยู่ที่ความแข็งแกร่งของตัวธนาคาร และเป็นธนาคารที่อยู่คู่กับเศรษฐกิจไทยมาเป็นเวลานาน น่าจะเข้าใจถึงไซเคิลของธุรกิจที่เริ่มตั้งแต่ “ฟื้นตัว เติบโต ถดถอย ตกต่ำ” ล้วนเป็นตัวบอกให้นักลงทุนรู้ว่า ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เกิดขึ้นให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะธุรกิจธนาคารเกี่ยวข้องโดยตรงกับเศรษฐกิจในประเทศ หากช่วงไหนเศรษฐกิจของประเทศดี กำไรของธนาคารก็จะดีตามไปด้วย ซึ่งจะผลักดันให้ราคาหุ้นทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางกลับกันหากพบว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังถดถอย กำไรของธนาคารก็จะลดลงตามไปด้วย ซึ่งจะกดดันให้ราคาหุ้นอ่อนตัวอย่างต่อเนื่อง

นั่นหมายความว่า นับตั้งแต่ปี 2537-2560 ประเทศไทยเจอวิกฤตเศรษฐกิจหนักๆ 2 ครั้งด้วยกัน ย่อมทำให้ BBL ได้รับผลกระทบอย่างหนักหนาสาหัสพอสมควร โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2540 ซึ่งเป็น “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ธุรกิจภาคการเงิน อสังหาริมทรัพย์ล้มเป็นโดมิโน ส่วนครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปี 51 ซึ่งเป็น “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” ธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีปัญหา ธุรกิจส่งออกติดขัดอย่างหนักนะครับ

ที่น่าสนใจคือ ในระหว่างทางก็มีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมใหญ่ ปัญหาภัยแล้ง ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ล้วนเป็นตัวแปรที่ส่งผลโดยตรงกับความสามารถในการทำกำไรของ BBL และยังทำให้ราคาหุ้นแกว่งตัวขึ้นๆ ลงๆ ตามข่าวที่เข้ามากระทบอีกด้วย

สุดท้ายอาจารย์ขอสรุปว่า ในความเป็นจริงไม่มีใครถือหุ้นยาวนานถึง 20 ปี (ยกเว้นมรดกตกทอด) และนักลงทุนที่ดีควรขยับพอร์ตทุกเดือน เพื่อจะได้เข้าใจอารมณ์ตลาดหุ้นช่วงนั้นเป็นอย่างไร?

หากทำไม่ได้ ก็ควรเข้ามาเล่นหุ้น BBL เพราะข้อมูลกราฟในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาฟ้องว่า หุ้นมีทั้งช่วงขาขึ้น และช่วงขาลง จึงน่าจะมีคนได้กำไรจากการเหวี่ยงตัวของหุ้นครับ

กราฟประกอบคอลัมน์ : Aspen, ราคาปิด ณ วันที่ 15 ก.ย.60

Back to top button