กลยุทธ์ลงทุนแบบ DCA

พลวัตว่าด้วยเรื่อง “การลงทุน” มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภายใต้เงื่อนไขแตกต่างกันไป ทั้ง “ผลตอบแทนการลงทุน” หรือ “ตัวเลือก” ที่ต้องการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้, ตราสารทุนหรือตราสารอนุพันธ์ต่างๆ แต่ทว่าเหนือสิ่งอื่นใดคือ “ทฤษฎีและกลยุทธ์การลงทุน” ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่จะได้มาซึ่ง “ผลตอบแทนสูงสุดและความเสี่ยงต่ำสุด” ดังนั้นจึงได้เห็นทฤษฎีและกลยุทธ์การลงทุนเกิดขึ้นมากมาย


พลวัตปี 2017 : สุภชัย ปกป้อง (แทน)

พลวัตว่าด้วยเรื่อง “การลงทุน” มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภายใต้เงื่อนไขแตกต่างกันไป ทั้ง “ผลตอบแทนการลงทุน” หรือ “ตัวเลือก” ที่ต้องการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้, ตราสารทุนหรือตราสารอนุพันธ์ต่างๆ แต่ทว่าเหนือสิ่งอื่นใดคือ “ทฤษฎีและกลยุทธ์การลงทุน” ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่จะได้มาซึ่ง “ผลตอบแทนสูงสุดและความเสี่ยงต่ำสุด” ดังนั้นจึงได้เห็นทฤษฎีและกลยุทธ์การลงทุนเกิดขึ้นมากมาย

กลยุทธ์การลงทุนแบบ DCA (Dollar-cost averaging) หรือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถลงทุนในตลาดทุนได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการซื้อหุ้นทุนจำนวนหนึ่งด้วยจำนวนเงินคงที่ ในแต่ละเดือน เมื่อครบ 1 ปี นำมาวัดผลโดยนำต้นทุนเงินทั้งหมดที่ซื้อไปหารด้วยจำนวนหุ้นที่ซื้อได้ จะได้อัตราต้นทุนต่อหุ้นแบบถัวเฉลี่ยช่วงปีที่ลงทุนดังกล่าว

การลงทุนแบบ DCA เป็นวิธีการลงทุนระยะยาวรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยหลักคิดง่ายๆ คือ การนำเงินจำนวนหนึ่งมาลงทุนอย่างสม่ำเสมอ โดยแบ่งเป็นงวดๆ มีกำหนดช่วงเวลานำเงินไปลงทุนไว้อย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งเงินส่วนหนึ่งเพื่อนำไปลงทุนทุกวันที่ 1 ของแต่ละเดือน เป็นต้น เรียกให้เข้าใจง่ายๆ คือ “การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนอย่างต่อเนื่อง” จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการลงทุนในหุ้นหรือหน่วยลงทุนอื่นๆ ที่มีระดับความเสี่ยงสูง แต่ไม่สามารถรับความเสี่ยงและความผันผวนระยะสั้นที่เกิดขึ้นได้

โดยมีหลักการสำคัญคือความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เน้นวินัยการซื้อและความมั่นคงทางจิตใจ สามารถซื้อหุ้นได้โดยไม่สนใจราคา ณ วันที่ขายว่ามีราคาเท่าใด แต่ให้ซื้อด้วยจำนวนเงินที่กำหนดไว้ทุกๆ เดือน เช่น หลังเงินเดือนออก หักเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินออมและแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่รับความเสี่ยงได้ มาลงทุนแบบ DCA การลงทุนด้วยกลยุทธ์นี้เหมาะสมกับผู้ที่ไม่ได้มีเวลาติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดมากนัก หรือไม่อยากหวั่นไหวไปกับการขึ้น-ลงรายวัน

วิธีการลงทุนแบบ DCA ช่วยลดปัญหาจากการทุ่มเงินก้อนเพื่อซื้อหุ้นตัวที่ต้องการแต่กลับมองสัญญาณผิด พลาด ทำให้ซื้อผิดเวลาและขายไม่ทันหรือ Cut Loss ไม่เป็นได้

แน่นอนว่า DCA เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาติดตามการเคลื่อนไหวของตลาด แต่ไม่เหมาะกับคนที่ไม่เรียนรู้ศึกษาตลาดเลย โดยเฉพาะการซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง ก่อนใช้วิธี DCA กับหุ้นตัวนั้นต้องศึกษาและเข้าใจประสิทธิภาพและความเป็นมาของบริษัทอย่างดี

ก่อนการลงทุนด้วยวิธี DCA จึงต้องมีความมั่นใจในความมั่นคงและความสามารถทำกำไรระยะยาว โครง สร้างการบริหาร ธรรมาภิบาลและประวัติการจ่ายปันผล เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถลงทุนต่อเนื่องได้มากกว่า 1 ปี

ส่วนนักลงทุนที่สนุกกับการลุ้นความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ย่อมไม่เหมาะกับวิธีแบบ DCA เพราะมันจะกลายเป็นเรื่อง “น่าเบื่อกับการลงทุน” เว้นแต่คนที่มีแนวคิดการทดลองการลงทุนหลายแบบแตกต่างกัน เพื่อทดสอบว่าลงทุนแบบใดให้ผลตอบแทนดีสุด เช่น มีการจัดพอร์ตเพื่อทดลองซื้อหุ้นตัวเดียวกันด้วยวิธีซื้อขายตามจังหวะเวลา กับวิธี DCA เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ ช่วงเวลาเดียวกันว่าให้ผลตอบแทนแตกต่างกันอย่างไร

เคล็ดลับความสำเร็จของกลยุทธ์แบบ DCA คือ ความพิถีพิถันการเลือกหุ้นที่จะลงทุน และที่สำคัญ “ไม่ควรซื้อมากเกิน 2-3 ตัว” เนื่องจากผู้ลงทุนต้องรู้จักบริษัทที่ลงทุน ไม่ต่างจากเป็นธุรกิจตัวเอง หลายคนมองหุ้นเพียงผลกำไรหรือการทำกำไรจาก “ส่วนต่างราคาหุ้น” ช่วงสั้นๆ มักหลงใหลได้ปลื้มกับราคาหุ้นและความโลภที่จะได้กำไรสูงขึ้นไปอีก ดังนั้นการเลือกหุ้นเพียง 1-2 ตัว จึงน่าจะเพียงพอสำหรับการเริ่มต้น

อย่างไรก็ดีสัจธรรมที่ว่า “ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง” เป็นความจริงเสมอไม่ว่าทฤษฎีหรือกลยุทธ์จะถูกออกแบบมาดีแค่ไหนก็ตาม การลงทุนแบบ DCA จึงมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการลงทุนหุ้นแบบทั่วไป หลักสำคัญต้องมีการกำหนดการใช้เงิน เพื่อการลงทุนเป็นสัดส่วนที่แน่นอน เหมาะสมจากรายได้ต่อเดือนและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ด้วย..!?

 

 

เปรียบเทียบผลดี-ผลเสียการลงทุนแบบ DCA

:ข้อดีของ DCA

1) ทุนน้อยเริ่มลงทุนได้ วิธีนี้สามารถเริ่มลงทุนด้วยการใช้เงินลงทุนต่องวดแต่ละเดือนไม่มากนัก จึงเหมาะกับนักลงทุนที่อาจมีทุนเริ่มต้นไม่มาก ที่ต้องการออมเงินไว้ในหุ้น ด้วยการสะสมหุ้นเพื่อให้เงินทำงานและผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร

2) มนุษย์เงินเดือน ทำงานประจำ หรือธุรกิจส่วนตัวลงทุนได้ เพราะไม่ต้องติดตามข่าวหรือดตามราคาหุ้นในตลาดหุ้นมากนัก จึงไม่กระทบกับกิจการหรืองานที่ทำอยู่ เพียงแต่ต้องใช้เวลาและพิถีพิถันการเลือกหุ้นพื้นฐานดีตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

3) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสะสมระดับที่น่าพอใจ ประมาณ 10-15%ต่อปี

4) การทำ DCA จะทำได้ดี เมื่อหุ้นนั้นเป็นขาลงคือได้จำนวนหุ้นที่มากกว่าและลดการขาดทุนหนักๆ ได้ หากราคาปรับตัวลงอย่างรุนแรง

:ข้อเสียของ DCA

1) ต้องมีวินัยและต่อเนื่องกับการที่จะต้องกันเงินมาไว้ซื้อหุ้นแต่ละเดือน

2) DCA เหมาะกับหุ้นที่มี Upside Gain ค่อนข้างมาก เพื่อเป็นส่วนชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนระยะยาวและเวลาที่เสียไป

3) กรณีหุ้นเป็นขาขึ้นจะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการซื้อขายแบบทั้งหมดทีเดียว

4) ถึงแม้จังหวะที่ราคาหุ้นปรับตัวลง ด้วยกลยุทธ์การซื้อเฉลี่ย ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง แต่ไม่ได้รับประกันว่าจะไม่ขาดทุน

Back to top button