IVL ฉลาดซื้อ “ตกเขียว”

การที่บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL ประกาศปิดดีลใหญ่ เพื่อตั้งบริษัทร่วมทุนในสหรัฐฯ แล้วเอาบริษัทร่วมทุนไปซื้อทรัพย์สินของโรงงานปิโตรเคมีปลายน้ำในสหรัฐฯอีกต่อหนึ่ง...หากจะบอกว่าเป็นเรื่องปกติก็ดูเฉื่อยชาต่อปฏิิบัติการ "ฉลาดซื้อ" ที่ต่างจากในอดีตหลายอย่างด้วยกัน


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

การที่บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL ประกาศปิดดีลใหญ่ เพื่อตั้งบริษัทร่วมทุนในสหรัฐฯ แล้วเอาบริษัทร่วมทุนไปซื้อทรัพย์สินของโรงงานปิโตรเคมีปลายน้ำในสหรัฐฯอีกต่อหนึ่ง…หากจะบอกว่าเป็นเรื่องปกติก็ดูเฉื่อยชาต่อปฏิิบัติการ “ฉลาดซื้อ” ที่ต่างจากในอดีตหลายอย่างด้วยกัน

รายงานที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่า 

  • บริษัทย่อยทางอ้อมของ IVL ชื่อ Indorama Ventures Holdings LP (IVHLP) ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อว่า Corpus Christi Polymers LLC (CC Polymers) โดยร่วมลงทุน 3 ฝ่าย กับบริษัท Alpek, S.A.B. de C.V. (Alpek) และบริษัท Far Eastern Investment (Holding) Ltd. (Far Eastern) ในสัดส่วนที่เท่ากัน
  • บริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ CC Polymers ได้ลงนามในสัญญาซื้อทรัพย์สินกับบริษัท M&G USA Corp. และลูกหนี้ที่เกี่ยวข้อง (M&G) เพื่อเข้าซื้อทรัพย์สินของโรงงาน PTA-PET แบบบูรณาการ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ตั้งอยู่ที่เมืองคอร์ปัส คริสตี (Corpus Christi) รัฐเท็กซัส สหรัฐฯ (โครงการคอร์ปัส คริสตี) 
  • สินทรัพย์ที่ซื้อมาของโครงการคอร์ปัส คริสตี ได้รวมเอาทั้งทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพย์สินที่ใช้ผลิตสาธารณูปโภคของ M&G ด้วย
  • โครงการคอร์ปัส คริสตี อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะมีกำลังการผลิต PET อยู่ที่ 1.1 ล้านเมตริกตัน และมีกำลังการผลิต PTA อยู่ที่ 1.3 ล้านเมตริกตันต่อปี ถือเป็นโรงงานผลิต PTA และ PET แบบบูรณาการในแนวดิ่ง (Vertically Integrated) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นโรงงานผลิต PTA ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือและใต้
  • เงื่อนไขของบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้น หรือ CC Polymers กำหนดว่า 1) คู่สัญญาทุกฝ่ายจะต้องจัดสรรทรัพยากรให้แก่บริษัท CC Polymers เพื่อให้โครงการคอร์ปัส คริสตีแล้วเสร็จ อย่างมีประสิทธิผลและเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด 2) ผู้ร่วมทุนอย่าง Alpek, IVHLP และ Far Eastern แต่ละราย มีสิทธิที่จะได้รับผลิตภัณฑ์ PTA และ PET จำนวนหนึ่งในสามของกำลังการผลิตทั้งหมดเมื่อโครงการคอร์ปัส คริสตีเสร็จสิ้น….นั่นคือเป็นทั้ง ผู้ถือหุ้นบริษัทร่วมทุน เป็นซัพพลายเออร์ และเป็นผู้ผูกมัดสัญญาซื้อวัตถุจากโรงงาน…ครบวงจรจริงๆ

ดีลกิจการในครั้งนี้ ไม่ต่างอะไรกับการ “ตกเขียว” ในโครงการคอร์ปัส คริสตี ดีๆ นี่เอง

ความใหญ่ของดีลนี้ ทำให้ดีลก่อนหน้า ของ IVL ในการเข้าซื้อกิจการโรงงานผลิต PET ในบราซิลก่อนหน้านี้ไม่ถึงสัปดาห์ ในสัญญาซื้อกิจการกับ M&G Chemicals Brazil S.A. เพื่อซื้อกิจการ 100% ของบริษัท M&G Polimeros Brazil S.A. ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองอีโปะจูกา (Ipojuca) ในบราซิล IVL ซึ่งเป็นโรงงานผลิต PET ใหญ่สุดในบราซิล มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 550,000 ตันต่อปี เพื่อยึดหัวหาดตลาดอเมริกาใต้….กลายเป็นดีลที่จิ๊บจ๊อยไปเลย เพราะเทียบขนาดแล้วต่างกันลิบลับ

หากมองข้ามประเด็นที่นักวิเคราะห์หุ้นชอบเน้นย้ำว่าดีลที่เกิดขึ้นจะส่งคุณูปการต่อราคาหุ้นและกำไรสุทธิในอนาคตแล้ว (เพราะไม่มีใครรู้จริงหรอก คาดเดากันเองทั้งนั้น) จะเห็นได้จากการที่นายอาลก โลเฮีย ซีอีโอยังคงไม่ทิ้งยุทธการเดิมที่ถนัดมือในการเติบโตทางลัดด้วยการเข้าซื้อกิจการปิโตรเคมีปลายน้ำหลายประเทศทั่วโลกมาทำต่อ

ไม่นับช่วงระหว่างปลายปี 2555-2557 ซึ่ง IVL ประกาศพักยกชั่วคราวกับการไล่ล่ากิจการ โดยจะซื้อกิจการใหม่เท่าที่จำเป็นโดยข้ออ้างว่า “เรากินไปเยอะแล้ว ก็ต้องขอเวลาย่อย” แล้ว ปฏิบัติการ “ฉลาดซื้อ” ยังคงดำเนินไม่ขาดสาย

จารีตของการไล่ล่ากิจการทั้งระลอกเก่า และระลอกใหม่ที่ IVL ลงมือกระทำ มักจะเป็นกิจากรที่ดำเนินการอยู่แล้ว แต่มีปัญหาทางการเงิน ด้วยเหตุผลทางธุรกิจแต่ละรายที่ต่างกันไป เพื่อให้การควบรวมกิจการหรือซื้อขายกิจการมีต้นทุนเข้าซื้อที่ตกลง…. จากนั้นก็เข้าไปดำเนินการปรับปรุงเพื่อให้ดำเนินการต่อไป ได้รับรู้รายได้และกำไรในทันที

หลายปีมานี้ การเข้าซื้อกิจการในอินเดีย สหรัฐฯ ยุโรป หรือ อื่นๆ ล้วนเป็นไปตามจารีต “….ซื้อกิจการที่พร้อมจะบันทึกรายได้กลับทันทีโดยไม่สะดุดเพื่อทำให้ยอดขายและกำไรก้าวกระโดดไปข้างหน้าเรียบง่ายและฉับไว….” ตามประสา อาลก โลเฮีย จริงๆ…ห้ามลอกเลียนแบบ เพราะผลลัพธ์อาจจะไม่เหมือนกัน……ทำจนไม่มีใครคาดคิดว่า IVL จะทำอย่างอื่นเป็น

กรณีดีลล่าสุดใน CC Polymers ถือเป็นการประกาศว่าคนอย่าง อาลก โลเฮีย ….ทำแบบไม่ติดกรอบชนิด “ไม่มีสูตรสำเร็จ” ก็เป็น…อย่าประมาทไป

อิ อิ อิ

Back to top button