DTAC สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วันนี้ (25 เม.ย.) จะมีความชัดเจนว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ไม่ว่าจะเป็นกำหนดวันที่ประมูล-ราคาเริ่มของการประมูลและรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ที่จะมีความชัดเจนเช่นกัน


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วันนี้ (25 เม.ย.) จะมีความชัดเจนว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ไม่ว่าจะเป็นกำหนดวันที่ประมูล-ราคาเริ่มของการประมูลและรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ที่จะมีความชัดเจนเช่นกัน

การประมูลครั้งนี้ถูกโฟกัสไปที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ในฐานะผู้ที่กำลังสูญเสียคลื่น 1800 MHz ขนาดจำนวนรวม 35 MHz (คลื่น 850 MHz ขนาด 10 MHz และคลื่น 1800 MHz ขนาด 25 MHz) ที่หมดอายุสัมปทานเดือน ก.ย.นี้ (พร้อมของ CAT อีก 20 MHz) นั่นทำให้ DTAC ต้องสู้เต็มที่ เพื่อให้ได้คลื่นนี้กลับมาอยู่ในมืออีกครั้ง เพื่อให้เพียงพอต่อการบริการลูกค้าและรักษาอำนาจในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

แต่สถานการณ์ของ DTAC เปลี่ยนไป เมื่อล่าสุด DTAC ได้ลงนามสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมและสัญญาการใช้บริการฯ คลื่น 2300 MHz อย่างเป็นทางการ เพื่อเปิดให้บริการ 4G LTE-TDD คลื่น 2300 MHz บนแบนด์วิดท์ที่กว้างถึง 60 MHz ด้วยเงินลงทุนกว่า 33,800 ล้านบาท

ทำให้ DTAC พลิกจากสถานการณ์บีบคั้นมาสู่ประกายความหวังจากคลื่น 2300 MHz ทันที นั่นหมายถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ DTAC ต้องแย่งชิงคลื่น 1800 MHz กลับมาดังที่กล่าว ถูกลดความสำคัญลงไปทันที และด้วยคุณสมบัติคลื่น 2300 MHz ในเชิงเทคนิคของ 4G LTE-TDD และโอกาสทางธุรกิจ จึงมีมูลค่าเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญและเป็นเหตุผลเพียงพอ ที่จะหันมาให้ความสำคัญต่อการลงทุนคลื่น 2300 MHz แทน

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า DTAC จะพัฒนาให้ทันต่อการบริการ ก่อนคลื่น 1800 MHz หรือไม่..!!??

ในทางกลับกันหาก DTAC เดินลงสนาม เพื่อแย่งชิงเค้กคลื่น 1800 MHz และหากชนะประมูล 1 ใบอนุญาต (ขนาด 15 MHz) อาจทำให้ DTAC มีภาระการลงทุนเพิ่มทั้ง 2 คลื่นดังกล่าว รวมกันไม่ต่ำกว่า 50,000-60,000 ล้านบาท

ปัญหาจึงย้อนมาถามว่า แล้ว DTAC จำเป็นต้องลงทุนขนาดนั้นหรือไม่..!??

หากดูจากสถานการณ์ตอนนี้..DTAC ไม่เสียเปรียบค่าย ADVANC หรือ TRUE อีกแล้ว..ดูได้จากคลื่นที่อยู่ในมือทั้ง 3 ราย กล่าวคือ ADVANC มีคลื่นอยู่ในมือ 40 MHz ( คลื่น 900 MHz ขนาด 10 MHz คลื่น 1800 MHz ขนาด 15 MHz และคลื่น 2100 MHz ขนาด 15 MHz) ค่าย TRUE มีคลื่นอยู่ในมือ 55 MHz (คลื่น 850 MHz ขนาด 15 MHz คลื่น 900 MHz ขนาด 10 MHz คลื่น 1800 MHz ขนาด 15 MHz และคลื่น 2100 MHz ขนาด 15 MHz) ขณะที่ DTAC มีคลื่นในมือทั้งหมด 75 MHz (คลื่น 2100 MHz ขนาด 15 MHz และคลื่น 2300 MHz ขนาด 60 MHz)

ดูจากสถานการณ์ดังกล่าว โฟกัสจึงพุ่งเป้าไปที่กสทช.แล้วล่ะว่า การประมูลคลื่น 1800 MHz จะมีผู้เข้าประมูลหรือไม่ และใครจะเข้ามาร่วมประมูลบ้าง แน่นอน TRUE-ADVANC มีเงื่อนไขเดียวกันคือ หากไม่มีการแบ่งงวดชำระค่าไลเซนส์คลื่น 900 MHz งวดสุดท้ายปี 2563 จำนวน 60,000 ล้านบาท สุดท้ายทั้ง TRUE-ADVANC ไม่น่าจะเข้าประมูลด้วย

ที่สำคัญแม้ว่า DTAC จะเข้าร่วมประมูลด้วย แต่ด้วยเกณฑ์ N-1 การประมูลก็มิอาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน..!?

มาถึงจุดนี้ต้องยอมรับว่าแม้ DTAC พลิกสถานะจากมวยรองบ่อน..ก้าวขึ้นมาท้าชิงเวทีใหญ่ได้แล้วก็ตาม แต่โจทย์ใหญ่อยู่ที่ DTAC จะเรียกความเชื่อมั่น พร้อมดึงฐานลูกค้าเดิม ที่ไหลไปสู่ ADVANC และ TRUE กลับคืนมาได้อย่างไร

เพราะนั่นหมายถึง..จุดประเมินความคุ้มค่าต่อการลงทุนของ DTAC ต่อไปนั่นเอง..

…อิ อิ อิ…

Back to top button