FPI กับฟาร์มวัวนม.!?
จากกรณีบริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ FPI บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อหุ้นบริษัท ทีเอสอีโอเวอร์ซีส์กรุ๊ป จำกัด (TSEO) สัดส่วน 40% (จำนวน 74,000,000 หุ้น) จากบริษัท ไทย โซล่าร์เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE รวมมูลค่า 1,695 ล้านบาท โดย TSEO มีการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 8 แห่ง ในประเทศญี่ปุ่น ขนาดกำลังผลิตรวม 76.72 เมกะวัตต์
แฉทุกวันทันเกมหุ้น
จากกรณีบริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ FPI บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อหุ้นบริษัท ทีเอสอีโอเวอร์ซีส์กรุ๊ป จำกัด (TSEO) สัดส่วน 40% (จำนวน 74,000,000 หุ้น) จากบริษัท ไทย โซล่าร์เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE รวมมูลค่า 1,695 ล้านบาท โดย TSEO มีการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 8 แห่ง ในประเทศญี่ปุ่น ขนาดกำลังผลิตรวม 76.72 เมกะวัตต์
หลังจากก่อนหน้านี้ FPI ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท อีซีเอฟ พาวเวอร์ จำกัด หรือ ECF-P บริษัทย่อยของบริษัท อีสต์โคสท์ เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) หรือ ECF จัดตั้งบริษัท เซฟเอนเนอร์จี โฮลดิ้งส์ จำกัด (SAFE) ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดย FPI ถือหุ้นสัดส่วน 49.98% และ ECF-P ถือหุ้นสัดส่วน 49.98% ด้วยเป้าหมายกำลังผลิต 50-60 เมกะวัตต์ ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต
ถือเป็นโจทย์ที่น่าสนใจว่า..ทำไม FPI ในฐานะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตจากพลาสติก และเป็นศูนย์รวมในการจำหน่าย ทั้งชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ทดแทน (REM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ภายใต้ตราสินค้าของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ (OEM) จึงหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับ “ธุรกิจพลังงานทดแทน” อย่างที่เห็น 2 ดีลใหญ่ดังกล่าว
หากวิเคราะห์จากโมเดล BCG Matrix (BCG ย่อมาจาก Boston Consulting Group) หรือการแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยใช้อัตราการเจริญเติบโตและส่วนแบ่งการตลาด..นั่นคือ..
- STAR : กลุ่มดาวรุ่ง เป็นธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโต (ยอดขายสูง) ผลิตภัณฑ์อยู่ช่วงกำลังเติบโต ทำรายได้และกำไรให้กับบริษัทได้อย่างโดดเด่น
- CASH COW : กลุ่มวัวให้นม เป็นธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายสม่ำเสมอ สามารถทำ กำไรที่คงตัว
- QUESTION MARK : กลุ่มน่าสงสัย เป็นธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ ที่มีอัตราเติบโตของยอดขายสูง แต่ส่วนแบ่งการตลาดต่ำ จึงต้องกำหนดระยะเวลากลุ่มนี้ให้ชัดเจน
- DOG: กลุ่มสุนัข เป็นธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายต่ำและส่วนแบ่งการตลาดต่ำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำกำไรและมักจะขาดทุน บริษัทควรจะตัดผลิตภัณฑ์นี้ออกไป
จากการวิเคราะห์ตามโมเดลดังกล่าว ทำให้เห็นชัดว่า FPI กำลังสร้าง “ฟาร์มวัวนม” เพราะการเข้าลงทุนธุรกิจพลังงานทางเลือกทั้งไม่ว่า “โรงไฟฟ้าชีวมวล” หรือ “โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์” ถือเป็นการลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนระยะยาวอย่างสม่ำเสมอ (Recurring income) เสมือนมีวัวให้รีดนมขายหรือมีกระแสเงินสด เข้ามาอย่างต่อเนื่อง..
กรณีนี้ “สมพล ธนาดำรงศักดิ์” กรรมการผู้จัดการ FPI ระบุชัดว่า การลงทุนธุรกิจพลังงานทางเลือก ถือเป็นการสร้าง Recurring income และกระจายความเสี่ยง ช่วงภาวะธุรกิจหลักอย่าง “ชิ้นส่วนยานยนต์” เกิดความผันผวนได้
สิ่งที่ต้องติดตามกันต่อไป..นั่นคือ “ฟาร์มโคนม” ของ FPI จะรีดศักยภาพ “นมวัว” ได้มากน้อยแค่ไหน..!?
แน่นอน FPI ต้องดูด้วยว่าพันธมิตรอย่าง TSE และ ECF จะขุนวัวสมบูรณ์ไม่ติดโรค..ได้มากน้อยด้วย
..อิ อิ อิ…