“ไขมันทรานส์” ไม่กระทบ TKN
จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) หรือที่เรียกว่า “ไขมันทรานส์” โดยมีผลบังคับใช้หลัง 180 วันนับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
คุณค่าบริษัท
จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) หรือที่เรียกว่า “ไขมันทรานส์” โดยมีผลบังคับใช้หลัง 180 วันนับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผลดังกล่าวกระทบต่อกลุ่มน้ำมันปาล์มและกลุ่มใช้น้ำมันปาล์มที่มีส่วนผสมไขมันทรานส์ ครีมเทียม เนยเทียม เนยขาว มาการีน คุกกี้ โดนัท พัฟ พาย ขนมเวเฟอร์ต่าง ๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในส่วนของ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TKN มีสินค้าสาหร่ายทอดที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นส่วนประกอบในกระบวนการผลิต
ทางบริษัทขอยืนยันว่าสินค้าสาหร่ายทอดไม่ใช้น้ำมันที่มีการเติมไฮโดรเจนในกระบวนการผลิตแต่อย่างใด โดยมีการตรวจสอบและรับรองจากผู้ผลิตเพื่อระบุบนข้อมูลโภชนาการ Trans Fat 0% ในบรรจุภัณฑ์ต่างประเทศอยู่แล้ว เนื่องจากบริษัทมีการส่งออกสินค้าไปกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และมาตรฐานดังกล่าวมีการบังคับใช้ในบางประเทศอยู่แล้ว ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นของบริษัท เช่น สาหร่ายย่าง ไม่มีการใช้น้ำมันข้าวโพดซึ่งไม่มีการเติมไฮโดรเจนในการผลิตเช่นกัน
ดังนั้น จากคำแถลงข่าวของผู้บริหารว่าบริษัทไม่ได้ใช้น้ำมันปาล์มทอดสาหร่ายปราศจากไขมันทรานส์ และย้ำสินค้าทุกชิ้นผ่านการตรวจสอบมาตรฐานตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ซึ่งทำให้การลงทุนในหุ้น TKN คลายความกังวลได้จากประเด็นนี้
นอกจากการคลายความกังวลในเรื่องไขมันทรานส์แล้ว ทาง TKN ยังมีความน่าสนใจ เนื่องด้วยนักวิเคราะห์คาดกำไรสุทธิไตรมาส 2/2561 อยู่ที่ 166 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 9.2% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 23% จากงวดเดียวกันของปีก่อน) ถือว่าฟื้นตัวได้ตามคาด ภายหลังเริ่มรับรู้ต้นทุนสาหร่ายล็อตใหม่ที่ถูกลงกว่าเดิมราว 10%-15% แต่การฟื้นตัวทำได้ช้ากว่าที่คาดไว้
ส่วนหากกำไรสุทธิไตรมาส 2/2561 เป็นไปตามคาด บริษัทจะมีกำไรสุทธิครึ่งแรกปี 2561 อยู่ที่ 318 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 4% จากงวดเดียวกันของปีก่อน) แนวโน้มกำไรจะฟื้นตัวต่อเนื่อง และกลับมาเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในช่วงครึ่งหลังปี 2561
เป็นผลจาก (1) ผลของปัจจัยฤดูกาลที่มักขายดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง (2) จะรับรู้ต้นทุนสาหร่ายใหม่ที่ถูกลงได้เต็มไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 3/2561 (3) ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่า น่าจะช่วยให้บริหารจัดการ FX ได้ง่ายขึ้น (4) คาดจะทยอยเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตโรงงานใหม่ให้สูงขึ้นต่อเนื่อง และจะเริ่มรับรู้กำลังการผลิตโรงงานใหม่เฟส 3 (สาหร่ายย่าง) ได้ตั้งแต่ไตรมาส 4/2561 เป็นต้นไป 5) คาดอัตราภาษีจ่ายจะลดลงมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จากการใช้กำลังการผลิตโรงงานใหม่ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ปรับลดกำไรสุทธิปี 2561 ลง 9% เป็น 744 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 22% จากงวดเดียวกันของปีก่อน)
ในขณะที่ นักวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 19 บาท
…
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- บริษัท พีระเดชาพันธ์ โฮลดิ้ง 360,000,000 หุ้น 26.09%
- นายอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ 331,040,700 หุ้น 23.99%
- นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี 79,320,620 หุ้น 5.75%
- น.ส.อรพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ 71,500,000 หุ้น 5.18%
- นายณัชชัชพงศ์ พีระเดชาพันธ์ 70,900,000 หุ้นn 5.14%
รายชื่อกรรมการ
- นายยุทธ วรฉัตรธาร ประธานกรรมการ
- นายยุทธ วรฉัตรธาร กรรมการอิสระ
- นายยุทธ วรฉัตรธาร กรรมการตรวจสอบ
- นายอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- นายอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ กรรมการ