เสน่ห์ตลาดหุ้นไทยพลวัต2015
รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกมาแถลงข่าวพร้อมตัวเลขมากมายที่เป็นสถิติวานนี้ เพื่อจะบอกหรือส่งสัญญาณว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีเสน่ห์น่าลงทุนต่อไป ด้วยเหตุผลหลายประการ นับแต่
รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกมาแถลงข่าวพร้อมตัวเลขมากมายที่เป็นสถิติวานนี้ เพื่อจะบอกหรือส่งสัญญาณว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีเสน่ห์น่าลงทุนต่อไป ด้วยเหตุผลหลายประการ นับแต่
– 3 เดือนมานี้ ผู้ลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิต่อเนื่องในตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ 3,118 ล้านบาท แม้จะขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทย 156 ล้านเหรียญสหรัฐ
– ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่าการระดมทุนทั้งในตลาดแรกและตลาดรองรวมทั้งสิ้น 144,237 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3.25 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
– ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 1/58 ออกมาใกล้เคียงกับการคาดการณ์
– ค่าฟอร์เวิร์ด พี/อี ของตลาดหุ้นไทยที่ระดับ 15.1 เท่าเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม ยังคงน่าสนใจ เพราะยังไม่ได้แพงมาก เทียบกับตลาดอื่นๆ ในภูมิภาค (ดูตารางประกอบ)
(หน่วย: เท่า)
ตลาดหุ้น |
2557 |
2558 |
ไทย |
13.76 |
15.01 |
เกาหลีใต้ |
10.86 |
11.46 |
ฮ่องกง |
10.79 |
13.00 |
ไต้หวัน |
14.91 |
13.56 |
สิงคโปร์ |
14.55 |
14.09 |
มาเลเซีย |
16.75 |
16.30 |
อินโดนีเซีย |
15.52 |
16.34 |
จีน |
7.91 |
18.36 |
ฟิลิปปินส์ |
18.53 |
19.61 |
ข้อสุดท้ายนั้น จะเห็นได้ว่า โดยเปรียบเทียบแล้ว ค่าฟอร์เวิร์ดพี/อี ของตลาดหุ้นไทยปัจจุบันนั้น ถือว่าปานกลาง ไม่ได้สูงมากหรือน้อยเกินไป
ข้อมูลที่รองผู้จัดการตลาดฯ ชี้แจงออกมานั้น ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ย่อมได้ ขึ้นกับกรอบคิดและมุมมอง
ข้อมูลเหล่านี้ ไม่ได้บอกชัดเจนเลยว่า เหตุผลใดนักลงทุนจึงถอยห่างออกจากตลาดหุ้นไทย ดังจะเห็นได้จากมูลค่าซื้อขายประจำวันที่หลายเดือนมานี้ ย่ำแย่ลงอยู่ที่ระดับไม่เกิน 4 หมื่นล้านบาท ทั้งที่หากใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานมาวัด จะต้องเห็นตัวเลขที่ระดับมากกว่า 4.5 หมื่นล้านขึ้นไป
คำอธิบายง่ายๆ แบบสูตรสำเร็จที่ว่า นักลงทุนมีความกังวลกับตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในไตรมาส 1/58 ที่ขยายตัว 3.0% ต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 3.4% ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก เพราะว่าไปแล้ว ปัจจัยที่จะทำให้ตลาดคึกคัก (ภาวะกระทิง) หรือหงอยเหงา (ภาวะหมี) นั้น มีหลายปัจจัย ไม่ได้ขึ้นกันภาวะเศรษฐกิจมหภาคอย่างเดียว ดังตัวอย่างตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ที่ร้อนแรงท่ามกลางสภาวะแวดล้อมเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
ความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่บทบาทของนักลงทุนรายย่อย เพราะในช่วงที่ตลาดคึกคักกับภาวะกระทิง สัดส่วนของนักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นไทยนั้น อยู่ที่ระดับประมาณ 65-70% แต่ในหลายเดือนมานี้ เราได้เห็นสัดส่วนการซื้อขายของรายย่อยที่หดตัวลงเหลือเพียงสัดส่วนประมาณ 50-57% ของมูลค่าซื้อขายประจำวัน
ข้อมูลที่ระบุว่า นับแต่ต้นปีมาจนถึงล่าสุดวานนี้ ต่างชาติขายสุทธิมากกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดหุ้นไทยในสายตาของต่างชาติ ยังมีเสน่ห์ต่ำกว่าตลาดอื่นในภูมิภาค เพราะบรรยากาศของตลาดหุ้นไทยในปีนี้ เห็นได้ชัดว่าไม่เอื้ออำนวยเสียเลย
นักลงทุนรายย่อยที่พากันติดหุ้นกันอย่างมาก หลังจากที่ดัชนีของตลาดปรับจากระดับเหนือ 1,600 จุด มาอยู่ที่ระดับ 1,500 จุด เพราะคาดเดาทิศทางของราคาหุ้น และตลาดผิด จากความผันผวนของปัจจัยภายในและภายนอก
สำหรับนักลงทุนต่างชาตินั้น เสน่ห์ของตลาดหุ้นไทยในปีนี้ เป็นได้แค่ตลาดทางเลือก เมื่อเทียบกับตลาดอื่นที่ร้อนแรงอย่างเซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง อินเดีย หรือญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักแต่อย่างใด
โดยทฤษฎีและรูปธรรมการตัดสินใจของต่างชาติสนการข้ามพรมแดนเข้ามาลงทุนในประเทศต่างๆ (หรือในกรณีคนไทยอยากออกไปลงทุนต่างประเทศ) จะต้องพิจารณาปัจจัยหลากหลาย ท่ามกลางข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ประกอบด้วย
– แนวโน้มอัตราการเติบโตของรายได้ต่อหัวประชากรในอนาคตโดดเด่นเพียงใด
– อัตราการว่างงานหรือกำลังซื้อของผู้บริโภคและผู้มีเงินออม มีโอกาสเติบโตขึ้นได้อีกมากน้อยเพียงใด
– สัดส่วนเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในเขตเมืองใหญ่มากน้อยเพียงใด เพื่อชี้ทิศทางว่าจะยังสามารถเติบโตได้อีกหรือไม่
– ขั้นตอนของพัฒนาการทางด้านการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมและบริการ ที่จะทำให้เกิดผู้ประกอบการที่หลากหลายและกิจการที่ให้เลือกลงทุน
-ระเบียบกติกาด้านการไหลเวียนของทุนและตลาดเงิน-ตลาดทุนโดยสะดวกมากน้อยเพียงใด
– มีบริษัทดีเด่นน่าซื้อลงทุนมากน้อยเพียงใดๆ
สำหรับตลาดหุ้นไทย ถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักสำคัญของอาเซียนที่เรียกว่า TIPs ที่รองลงมาจากสิงคโปร์ และหากคิดรวมกับตลาดทุนที่พัฒนาใกล้เคียงกันในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่มีมาร์เก็ตแค็ปรวมประมาณ 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาค แต่ความสำคัญตรงนี้ ไม่ได้มีหลักประกันเสมอไปว่า จะเป็นตลาดที่มีความคึกคักร้อนแรงตลอดเวลา เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีคนหรือเกิดสภาพบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนเก็งกำไร เมื่อนั้น ตลาดก็มีสิทธิที่จะวาย หรือเข้าสู่ภาวะหมี
ไม่มีข้อยกเว้นและไม่มีหลักประกันใดๆ ว่า ขนาดใหญ่ของตลาดหุ้น จะถูกนักลงทุนทั้งภายในและต่างชาติเมินไม่ได้ แต่ก็เช่นกัน หากคิดจะสร้างบรรยากาศที่มีผลทางบวก ก็ทำได้เช่นกัน