ลูกค้าคือตัวประกัน.!
“ลูกค้าคลื่น 850 MHz” (คลื่น 900 MHz) ที่กำลังนับถอยหลังสู่การสิ้นสุดอายุสัมปทาน 15 ก.ย. 2561 ได้ตกเป็นตัวประกันของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เพื่อเกมต่อรองมาตรการเยียวยากับกสทช.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำนักข่าวรัชดา
“ลูกค้าคลื่น 850 MHz” (คลื่น 900 MHz) ที่กำลังนับถอยหลังสู่การสิ้นสุดอายุสัมปทาน 15 ก.ย. 2561 ได้ตกเป็นตัวประกันของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เพื่อเกมต่อรองมาตรการเยียวยากับกสทช.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กรณีนี้ถูกหยิบยกขึ้นมา..ตั้งเป็นคำถามว่า DTAC จับเอาผู้ใช้บริการเป็นตัวประกันบีบให้กสทช.ต้องออกมาตรการเยียวยา เพื่อต้องการใช้คลื่นความถี่ 850 MHz ฟรี..หรือจ่ายค่าเช่าใช้คลื่นอัตราต่ำโดยไม่ต้องประมูล ถือเป็นการเอาเปรียบประเทศชาติและผู้ใช้บริการหรือไม่..!?
แน่นอนว่า..หากกสทช.ยินยอมดำเนินการตามข้อเรียกร้องของ DTAC ไม่เพียงเป็นการตกหลุมพรางที่บริษัทเอกชนวางเอาไว้ การพิจารณาออกมาตรการเยียวยาจึงดูไม่มีความสมเหตุสมผลหรือมีอำนาจดำเนินการได้ เนื่องจากการจัดประมูลเพื่อออกใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz (หรือ 850 MHz) เป็นการดำเนินการก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง จึงไม่มีเหตุผลใดที่ต้องออกมาตรการเยียวยาช่วงเปลี่ยนผ่านเหมือนที่เคยทำในอดีต
นั่นคือ..กสทช.มีการจัดประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz เพื่อออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม 3G (ไลเซนส์ 3G) ไปแล้ว (ประมูลคลื่นความถี่เดิมของ DTAC ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน) แต่ DTAC มิใช่หรือที่แสดงเจตจำนงไม่เข้าร่วมประมูลเอง
นี่เป็นการบ่งบอกถึงความไม่จริงใจในการรักษาฐานลูกค้าผู้ใช้บริการเดิมให้ใช้บริการต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด..ที่สำคัญหาก DTAC มีเหตุอันจำเป็นในเชิงธุรกิจที่ไม่สามารถประมูลได้..ควรได้เห็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านลูกค้าไปสู่คลื่นอื่น ๆ ที่ DTAC ด้วยมิใช่หรือ.!?? แต่ไม่มีปรากฏให้เห็นแต่อย่างใด
กรณีการหยิบประเด็นความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการเดิมที่ DTAC อ้างว่ามี 90,000 เลขหมาย มาเป็นตัวประกันและเป็นข้อต่อรอง เพื่อกดดันให้กสทช.ต้องออกมาตรการคุ้มครองเป็นการชั่วคราว
อีกด้าน DTAC ยื่นศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งยับยั้งมติกสทช. (18 ส.ค. 2561) และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวด้านหนึ่งอาจดูเหมือน “ช่วยเหลือลูกค้าของตนเอง”…อีกมุมหนึ่งนี่คือ “การประวิงเวลา” ในช่วงเปลี่ยนผ่าน..
แต่ว่ามุมที่อาจมองข้ามกันไปคือ…หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เท่ากับกว่าหลังจากวันที่ 15 ก.ย. 2561 เป็นต้นไป DTAC จะใช้คลื่น 850 MHz ต่อไป โดยไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทาน (สัมปทานหมดอายุแล้ว) หรือไม่..!?
ว่ากันว่า..ล่าสุดมีการวิ่งเต้นเพื่อล็อบบี้บรรดาผู้มีอำนาจสูงสุด เพื่อให้ช่วยเหลือกรณีดังกล่าว..จริงหรือไม่..ใช่หรือเปล่า..ต้องตรวจสอบความชัดเจนกันต่อไป
การเคลื่อนไหวของเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (ส.ท.ช.) นำโดยณัชพล โรจน์ถาวร และสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชน (ประเทศไทย) นำโดยคฑาภณ สนธิจิตร ที่เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เพื่อขอให้กสทช.ระงับการออกมาตรการเยียวยาให้กับ DTAC กรณีสิ้นสุดสัมปทาน 16 ก.ย. 2561
ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ..แต่อย่าได้มองข้ามเลยทีเดียว..!!
…อิอิอิ…