10 เดือนกับหุ้นติด Cash Balance!

ปี 2561 ผ่านไปแล้ว 10 เดือน ก็พบว่า มีหลักทรัพย์หลั่งไหลเข้าติด Cash Balance ไม่ว่าจะเป็นหลักทรัพย์เดิมติดอยู่แล้ว และหลักทรัพย์ใหม่เข้ามา...อย่าง  “ไม่ขาดสาย” สำหรับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายผิดปกติตามเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีการออกมาตรการมาตั้งแต่ 5 ม.ค.


รายงานพิเศษ

ปี 2561 ผ่านไปแล้ว 10 เดือน ก็พบว่า มีหลักทรัพย์หลั่งไหลเข้าติด Cash Balance ไม่ว่าจะเป็นหลักทรัพย์เดิมติดอยู่แล้ว และหลักทรัพย์ใหม่เข้ามา…อย่าง  “ไม่ขาดสาย” สำหรับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายผิดปกติตามเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีการออกมาตรการมาตั้งแต่ 5 ม.ค. 2558

โดยเงื่อนไขการติด Cash Balance ทางตลท.จะใช้ข้อมูลในการพิจารณาจากวันสุดท้ายของสัปดาห์ก่อน (วันศุกร์) ถึงวันก่อนวันสุดท้ายของสัปดาห์ปัจจุบัน (พฤหัสบดี)

สำหรับหุ้นสามัญ

  • SET ต้องมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์ >= 100 ล้านบาทต่อวัน (รวม 500 ล้านบาท/สัปดาห์ในสัปดาห์ที่มี 5 วัน หรือ 400 ล้านบาท/สัปดาห์ในสัปดาห์ที่มี 4 วัน เป็นต้น)

ส่วนหุ้นในตลาด mai คาดว่ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นใช้เกณฑ์มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยที่ 80 ล้านบาทต่อวันแทนแล้ว

  • มีPE >= 40 เท่า หรือ ขาดทุน (ตลท.จะใช้ EPS ย้อนหลัง 4 ไตรมาสในการคำนวณ)
  • ตลท.จะใช้เกณฑ์ค่าTurnOver Ratio >= 40%

ส่วนทางด้านวอร์แรนต์ 1. SET ต้องมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์ >= 100 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่วอร์แรนต์ใน mai คาดว่ายังใช้เงื่อนไขเดียวกับวอร์แรนต์ใน SET

  • ค่า% Premium ต้อง >= 20% ของหุ้นแม่
  • ต้องมี TurnOver Ratio >= 100%
  • และเพิ่มเติมเกณฑ์ให้ Warrant ของหุ้นที่ติด Cash Balance ต้องติดตามหุ้นหลักด้วย ตามระยะเวลาที่หุ้นหลักติด ถึงแม้ว่า Warrant จะเข้ามาเทรดใหม่ก็ตาม…

ทั้งนี้ จึงทำให้มาตรการ Cash Balance หรือมาตรการกำกับการซื้อขาย (สกัดหุ้นร้อนแรง) สามารถสกัดหุ้นราคาผิดไปจากสภาพปกติ ไม่ก่อให้เกิดการปั่นหุ้นได้เสมอมาถึงปัจจุบัน

หุ้นที่เข้าติดระดับ 1: Cash Balance ในช่วง 10 เดือนพบว่ามีหุ้นสามัญจำนวน 33 หุ้น และวอร์แรนต์จำนวน 7 หน่วย

เมื่อดูรายละเอียดหลักทรัพย์เข้าติดระดับ 1: Cash Balance มากสุด ตกเป็น DCORP ติดไป 5 ครั้ง ถัดลงมา HUMAN, OCEAN ติดไป 4 ครั้ง ขณะที่ ASAP, DDD, TVD ติดไป 3 ครั้ง ส่วน GULF, JKN, KCM, PORT, SOLAR, TITLE และ UREKA ติดไป 2 ครั้ง แต่ทาง UREKA ยังไม่หลุด Cash Balance โดยจะไปหลุดในวันที่ 2 พ.ย. 2561 ซึ่งยังมีลุ้นว่าจะมีการติดต่อหรือไม่…

ขณะเดียวกันยังมีหุ้น AMANAH, AU, CHAYO, CHO, CMAN, COTTO, ECF, FLOYD, GCAP, GL, III, JMART, KOOL, NFC, PSTC, RML, SCI, SEAOIL, TTCL ติดไปตัวละ 1 ครั้ง ทั้งนี้หลักทรัพย์ที่ยังไม่หลุด Cash Balance ได้แก่ CHAYO จะหลุดในวันที่ 2 พ.ย. 2561 ส่วน SEAOIL จะหลุดในวันที่ 19 พ.ย. 2561 ขณะที่ ECF จะหลุดในวันที่ 23 พ.ย. 2561 อีกทั้ง JMART จะไปหลุดวันที่ 7 ธ.ค. 2561 และ RML จะไปหลุดวันที่ 7 ธ.ค. 2561

นอกจากนี้ ส่วนของวอร์แรนต์ที่เข้าติดระดับ 1: Cash Balance พบว่ามี DNA-W1 ติดไป 2 ครั้ง ส่วน ECF-W2, ECF-W3, JKN-W1, JMART-W2, PSTC-W1 และ TCMC-W2 ติดไปตัวละ 1 ครั้ง

ทั้งนี้ วอร์แรนต์ที่ยังไม่หลุด Cash Balance คือ ECF-W2, ECF-W3 จะไปหลุดในวันที่ 23 พ.ย. 2561 และ JMART-W2 จะไปหลุดวันที่ 7 ธ.ค. 2561

สรุปได้ว่า เกณฑ์มาตรการ Cash Balance ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ยังคงมีความเข้มงวดในการสกัดหุ้นที่มีการซื้อขายร้อนแรงได้เป็นอย่างดี !!!

Back to top button