AJA หมดอนาคต.!?
ชักเริ่มริบหรี่.!!กับอนาคตบริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ AJA เมื่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 40 ราย กรณีสร้างราคาหุ้นบริษัท คราวน์ เทค แอดวานซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ AJD ปัจจุบันคือ AJA นั่นเอง ด้วยค่าปรับทางแพ่งรวม 1,727 ล้านบาท
สำนักข่าวรัชดา
ชักเริ่มริบหรี่.!!กับอนาคตบริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ AJA เมื่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 40 ราย กรณีสร้างราคาหุ้นบริษัท คราวน์ เทค แอดวานซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ AJD ปัจจุบันคือ AJA นั่นเอง ด้วยค่าปรับทางแพ่งรวม 1,727 ล้านบาท
นั่นทำให้ 3 ใน 40 รายที่ถูกดำเนินคดี ต้องพ้นจากกรรมการและผู้บริหาร AJA ทันที นำโดย “อมร มีมะโน” กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตามด้วย “พิภัทร์ ปฏิเวทภิญโญ” กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ และ “ณษิกา มีมโนนันท์” กรรมการ
แม้บอร์ด AJA มีการแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารเข้ามาใหม่..แต่มองไม่เห็นอนาคตว่า AJA ที่อย่าว่าแต่จะฟื้นตัวเลย..เอาแค่จะประคองตัวไว้ได้อย่างไร..ยังถือเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็นแล้ว.!? ว่ากันตรง ๆ มาถึงวันนี้ ไม่ชัดเจนเลยว่า “ธุรกิจหลักของ AJA” คืออะไรกันแน่..!?
จุดเริ่มต้น AJA เริ่มจากปี 2544 ด้วยชื่อบริษัท คราวน์ เทค แอดวานซ์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มภาพและเสียง จากนั้นปี 2553 เริ่มนำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องเล่นคาราโอเกะภายใต้ตราสินค้า AJ และ TJ ถือเป็นการแจ้งเกิดคำว่า “พระเอกตัวจริง” จากนั้นเป็นต้นมา..!
ถัดมาอีก 4 ปี (ปี 2557) AJA เข้ามาเฉิดฉายในตลาดหุ้นไทย ภายใต้ชื่อบริษัท คราวน์ เทค แอดวานซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ AJD โดยมีจุดขายคือ “เครื่องใช้ไฟฟ้า ยี่ห้อ AJ” ตามด้วยสตอรี่ใหม่คือ “กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัล (Set Top Box)” ที่มโนภาพกำไรกันสวยหรู..!?
แต่..ดีอยู่ได้ไม่นาน ธุรกิจ “เครื่องใช้ไฟฟ้า-กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล” เริ่มอิ่มตัว..และเห็นสัญญาณถดถอยลงอย่างน่าใจหาย..!!
ความหวังใหม่ AJA (หรือ AJD) เกิดขึ้นอีกครั้ง..ด้วยธุรกิจใหม่คือ “ตู้เติมเงิน” ภายใต้ชื่อ “เอเจเติมสบาย” เรียกเสียงฮือฮาจากนักลงทุนได้ไม่นาน..ก็แผ่วลงไป..!?
จึงหันมาจับมือกับ Alibaba.com และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เพื่อเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและทำการตลาดร่วมกันด้านการหาสมาชิกให้เว็บไซต์ Alibaba.com นั่นเอง
แต่..ทั้ง 2 ธุรกิจใหม่..ก็แผ่วลงไปอีกเช่นกัน..ซ้ำร้ายตัวเลขรายได้และกำไร AJA ดิ่งลงอย่างน่าใจหาย..!? จากปี 2559 ทำรายได้สูงสุด 2,558 ล้านบาท กำไรสุทธิ 355 ล้านบาท ทว่า..ปี 2560 รายได้ลดฮวบเหลือ 682 ล้านบาท พลิกขาดทุนสุทธิ 410 ล้านบาท และช่วง 9 เดือนปี 2561 มีรายได้ 600 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 5 ล้านบาท
อีกความหวังใหม่ AJA คือรถยนต์ไฟฟ้า (EV : Electric Vehicle) ที่ประกาศจับมือกับกลุ่มยนตกิจ เพื่อนำเข้าและจำหน่ายรถ EV ภายใต้บริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี จำกัด โดย AJA ถือหุ้น 45% เมื่อช่วงกลางปี 2561
จากวันนั้น..ถึงวันนี้ มีใครเห็นรถ EV ของค่าย AJA บ้าง..!? (ยกมือขึ้น) คำตอบคือไม่เห็นเลย..นั่นหมายถึง “สารกระตุ้นธุรกิจ AJA” ใช้ไม่ได้ผลอีกแล้ว.!?
ซ้ำร้ายหัวเรือใหญ่ AJA อย่าง “อมร มีมะโน” ถูกขึ้นบัญชีดำ..สิ่งที่เคยทำมา..จึงต้องหมดกัน..!?
นี่คือจุดจบของ AJA แล้วใช่หรือไม่..มาช่วยกันหาคำตอบดูที..!??
…อิ อิ อิ…