ค่า PE ที่ 22 เท่าไม่ใช่เรื่องแปลก
ค่า PE ระดับ 22 เท่าไม่ใช่เรื่องแปลก หากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวดี จากสถิติในอดีตพบว่าหาก GDP ขยายตัวสูง SET จะขึ้นและค่า PE จะสูงตามไปด้วย แต่ถ้าการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงSET จะปรับตัวลงจนค่า PE ต่ำลง แต่ในปัจจุบัน การขยายตัวของ GDP ลดลงจนใกล้ติดลบ แต่ค่า PE กลับสูงระดับ 22 เท่า จึงเป็นเรื่องไม่สมเหตุผล "รณกฤต สารินวงศ์" นักวิเคราะห์มือหนึ่งของบริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้ออย่างน่าสนใจ
ค่า PE ระดับ 22 เท่าไม่ใช่เรื่องแปลก หากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวดี จากสถิติในอดีตพบว่าหาก GDP ขยายตัวสูง SET จะขึ้นและค่า PE จะสูงตามไปด้วย แต่ถ้าการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงSET จะปรับตัวลงจนค่า PE ต่ำลง
แต่ในปัจจุบัน การขยายตัวของ GDP ลดลงจนใกล้ติดลบ แต่ค่า PE กลับสูงระดับ 22 เท่า จึงเป็นเรื่องไม่สมเหตุผล “รณกฤต สารินวงศ์” นักวิเคราะห์มือหนึ่งของบริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้ออย่างน่าสนใจ
“รณกฤต” มองภาพการลงทุนโดยรวมปีนี้ว่า ภาพรวมการลงทุนหลังจาก SET ขึ้นทดสอบระดับ 1600 จุด การเคลื่อนไหวของการลงทุนโดยรวมค่อนข้างผันผวน โดยตลอดเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดัชนีฯมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างแคบ ทั้งนี้ เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อปัจจัยสำคัญ ได้แก่การตกต่ำของราคาน้ำมัน และทิศทางที่ยังผันผวน ปัญหาหนี้ของกรีซต่อกลุ่มยูโรแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐ ผลประกอบการไตรมาสที่ 4/57 และค่า PE ระดับ 22 เท่าไม่ใช่เรื่องแปลกหากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวดี แต่เรากลับมีการขยายตัวของ GDP ตกต่ำอย่างมาก
“สถิติในอดีตพบว่าหาก GDP ขยายตัวสูง SET จะขึ้นและค่า PE จะสูงตามไปด้วย แต่ถ้าการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงSET จะปรับตัวลงจนค่า PE ต่ำลง แต่ในปัจจุบัน การขยายตัวของ GDP ลดลงจนใกล้ติดลบ แต่ค่า PE กลับสูงระดับ 22 เท่า จึงเป็นเรื่องไม่สมเหตุผล”
แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาหุ้นไทยจะมีปัจจัยต่างๆเข้ามากระทบ แต่ปัจจัยเหล่านี้กมีความคลี่คลายลงบ้าง ทำให้ SET ยังคงทรงตัวใกล้ระดับ 1600 จุด และหลังจากประกาศผลประกอบการ Q4/57 ที่ทำให้ผลประกอบการทั้งปี 57 ลดลง 15% กับปี 56 ทำให้ค่า PE ของตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 22 เท่า
นั่นหมายความว่า ขนาดทุนจดทะเบียนของตลาดหุ้นมีค่าเฉลี่ยเหมาะสมที่ระดับ 80% ของขนาดผลผลิตมวลรวมเท่านั้น หากสูงกว่านี้เราอาจเรียกว่าตลาดหุ้นอยู่ในภาวะ Over investment สิ่งที่สร้างความน่ากังวลต่อการเทียบเคียงตัวเลขนี้คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การลงทุนที่ลดลง และเฟ้อที่ตกต่ำแสดงถึงการหมุนเวียนของเงินในระบบเข้าขั้นฝืด การลงทุนใน real sector ลดลง แต่กลับไปเติบโตอย่างมาก
การที่ SET มีค่า PE สูงขึ้นอย่างไม่สมเหตุผลเมื่อเทียบกับ GDP ที่ลดลง ทำให้เรากังวลมากขึ้นเมื่อนำขนาดของทุนจดทะเบียนตลาดหุ้นไทย (Market Capital) ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์มีมูลค่า 14.86 ล้านล้านบาท สูงกว่าขนาดของ GDP ณ สิ้นปี2557 ซึ่งอยู่ที่ 12.8 ล้านล้านบาท ในอัตรา 15% จากข้อมูลสถิติพบว่า Market cap. เคยสูงกว่า GDP เพียงปีเดียวคือ 2555 ที่ระดับ 5.6% ขณะที่ปัจจุบันสูงถึง 15% และหากย้อนหลังสถิติ 10 ปี จะอยู่ที่ 80%ในตลาดหุ้น
แสดงว่า นักลงทุนหันเข้าตลาดหุ้นมากกว่าที่จะนำเงินไปสร้างรายได้จากการลงทุนทางอื่น จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นเติบโตเฟื่องฟูผิดปกติ มีปริมาณการซื้อขายสูงต่อเนื่อง และนี่คือคำถามว่า ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะฟองสบู่หรือไม่ หากเราใช้ค่าเฉลี่ย 10 ปีของ Market Cap ต่อขนาดของ GDP ที่ 80% และการเติบโตของ GDP ในระดับปัจจุบัน เราพบว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET ควรปรับฐานลงมาที่ระดับ 1,471 จุดจึงจะเป็นระดับที่น่าลงทุน ดังนั้นเราเชื่อว่า SET มีความเสี่ยงที่จะเคลื่อนไหวในระดับต่ำลงในช่วงครึ่งหลังของปี มากกว่าที่จะสร้าง new high หรือทรงอยู่ระดับสูงตลอดปี
“รณกฤต” ได้กล่าวถึงกลยุทธ์การลงทุนว่า การเลือกหุ้นลงทุนนั้น จากการที่เรามองว่าตลาดหุ้นมีการลงทุนที่มากเกินไป และค่า PE ในระดับสูง ทำให้เราเลือกลงทุนอย่างระมัดระวัง สำหรับหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่มที่น่าสนใจ คือ กลุ่มธนาคาร อย่าง SCB มองว่า กลุ่มธนาคารปรับตัวลดลงมากในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ค่า Forward PE ของ Bank ใหญ่ลดลงเหลือระดับ 8 เท่าซึ่งค่อนข้างต่ำ โดยเราให้ SCB เป็น Top Pick สำหรับกลุ่ม โดยมี Upside สูงสุดที่ 24% ราคาเหมาะสม 210 บาท
กลุ่มพลังงาน BANPU โดดเด่น กลุ่มไอซีที MFEC มองว่า กลุ่มผู้รับเหมาวางระบบโทรคมนาคม เป็นกลุ่มที่เราสนใจในปี 58 เนื่องจากจะมีงานระบบต่างๆ ออกมาค่อนข้างมาก ทำให้อัตราการเติบโตโดดเด่น เรามองว่า MFEC มีความโดดเด่น อีกทั้งมีค่า PE ในระดับต่ำกว่า 15 เท่า และให้ปันผลสูง โดยปี 57 จะปันผลในระดับ 5.8% (XD 27/4/58) ขณะที่ปี 58 ยังอยู่ในระดับสูงเช่นกัน
กลุ่มอสังหา ต้อง SPALI และยังจัดเป็นหุ้น Top pick ของกลุ่ม เนื่องจากมีศักยภาพโดดเด่นด้านการรักษาอัตรากำไร และมีขนาด backlog สูงกว่า 3.2 หมื่นล้านบาท ค่า PE ปี 58 ลดลงเหลือเพียง 7 เท่า ราคาเหมาะสม 37 บาทให้ Upside สูงถึง 54% ส่วนกลุ่มนิคม ต้อง TFD มองว่า หุ้นนิคมอุตสาหกรรมในปี 58 จะกลับมาฟื้นตัวได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจัยการเมืองที่สงบ
ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว ทำให้เม็ดเงินด้านการลงทุนจากต่างประเทศจะกลับมามากขึ้น เราเลือก TFD จากประเด็นดังกล่าว และเสริมด้วยปัจจัยบวกจากการ turnaround ทางธุรกิจ และมองว่าจะเป็นบริษัทที่โดดเด่นในปี 58 โดยประเมินราคาเหมาะสม 9 บาท
กลุ่มเหล็ก MILL หุ้นเด่นกลุ่มเหล็ก คาด จะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ แต่บริษัทที่ขยายธุรกิจไปทำพลังงานทางเลือกจะมีกำไรที่ก้าวกระโดด อย่างไรก็ตามเราเลือก MILL ด้วยปัจจัยที่บริษัทจะฟื้นตัวอย่างมานัยยะสำคัญหลังจากซื้อโรงเหล็ก TSSI อีกทั้งโรงเหล็กบางสะพานสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เต็มที่ และมีกำไรจากการขายที่ดิน ดังนั้นจึงเป็นบริษัทที่น่าจับตาอย่างมาก แนะนำซื้อลงทุนให้ราคาเหมาะสม 3.40 บาท
กลุ่มพลังงานทางเลือก UAC ถือเป็นบริษัทที่มีความชำนาญการทำพลังงานชีวะมวลบริษัทแรกๆ ที่เข้าตลาด แต่ในช่วงก่อนหน้านี้การรับรู้รายได้ยังชะลอตัว ขณะที่โครงการต่างๆ จะเริ่มรับรู้และเห็นผลอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 58 เป็นต้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงสร้างรายได้ที่หลากหลายทั้งการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เคมี การขายไฟฟ้า การขาย LPG, NGV และคาดว่าจะมีโครงการโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาก เราแนะนำซื้อลงทุนโดยให้ราคาเหมาะสม 13 บาท