การเปลี่ยนของยุคสมัย

มีการเปลี่ยนแปลงในโลกใบนี้ทุกวันแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เรียกได้ว่าการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย 3 เหตุการณ์ที่จะมีผลต่อสังคมโลกและสังคมไทยรวมทั้งตลาดทุนไทยอย่างมีนัยสำคัญการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยนี้ตรงกับภาษาเยอรมันว่า zeitgeist  ที่กินความลึกซึ้งพอสมควรการเปลี่ยนแปลงทั้งสามได้แก่


พลวัตปี 2019 : วิษณุ โชลิตกุล

มีการเปลี่ยนแปลงในโลกใบนี้ทุกวันแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เรียกได้ว่าการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย 3 เหตุการณ์ที่จะมีผลต่อสังคมโลกและสังคมไทยรวมทั้งตลาดทุนไทยอย่างมีนัยสำคัญ การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยนี้ตรงกับภาษาเยอรมันว่า zeitgeist  ที่กินความลึกซึ้งพอสมควร

การเปลี่ยนแปลงทั้งสามได้แก่

ชัยชนะแบบถล่มทลายของพรรคชาตินิยมฮูนดูเข้มข้นภารติยะชนะตะ หรือ  BJP ในอินเดียที่ทำให้นายนเรนทรา โมดี ได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอินเดียต่อเป็นสมัยที่สองอีก  5  ปี

– การประกาศลาออกจากตำแหน่งอย่างหมดสภาพของนายกรัฐมนตรีอังกฤษนางเทเรซาเมย์ ที่จะมีผลวันที่ 7  มิถุนายนนี้

– การก่อตั้งรัฐบาลผสมพิลึกพิลั่นสุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยและการถึงแก่อนิจกรรมของรัฐบุรุษพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ หนึ่งในเสาค้ำอำนาจเผด็จการทหารคสช.

เรื่องแรกพรรคชาตินิยมฮินดูภารติยะ ชนะตะหรือ BJP ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ในการเลือกตั้งล่าสุดที่มีผู้ใช้สิทธิ์กว่า 600  ล้านคน ในประเทศประชาธิปไตยใหญ่สุดของโลกมีความสำคัญต่ออนาคตของอนุทวีปและภูมิศาสตร์การเมืองของโลกในอนาคตอย่างมาก

ชัยชนะของพรรคที่สามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรกรอบ  30  ปี ของอินเดียไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ามาจาก 2  เหตุปัจจัยหลักคือความสำเร็จทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนายโมดีและความเฟื่องฟูของพลังขบวนการชาตินิยมฮินดูเข้มข้นที่น่าหวาดหวั่นของพรรค BJP

5  ปี ที่ผ่านมา รัฐบาลนายโมดี สามารถสร้างให้อินเดียกลายเป็นชาติ ที่มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจแซงหน้าจีนขึ้นเป็นอันดับ  1  ของโลกได้ และปีนี้จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นอันดับของโลกแซงเบียดอังกฤษให้ตกลงไป

เคล็ดลับของความสำเร็จสำคัญสุดคืออินเดียกลายเป็นชาติที่มีตลาดแรงงานฝีมือสูงที่เป็นประชากรหนุ่มสาวในสัดส่วนสูงมากที่สุดเป็นกลจักรสำคัญผลักดันได้รับผลของสังคมสูงวัยน้อยที่สุดและการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจมากขึ้นทำให้ทุนต่างชาติมั่นใจในระบบเศรษฐกิจเพราะปีที่ผ่านมาปีเดียวมีทุนต่างชาติที่ไม่ใช่เก็งกำไรถูกอัดฉีดเข้ามาเกือบ 4.4  หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สู่ภาคธุรกิจและการจ้างงาน

การเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจทำให้อินเดียมีความก้าวหน้าในหลายด้านคู่ขนานไปเช่นการสร้างถนนเพิ่มการสร้างงานในเขตชนบทการขายแก๊สหุงต้มราคาถูกแก่ผู้ยากจนการสร้างห้องน้ำหมู่บ้านและโครงการประกันด้านสุขภาพแก่ประชาชนที่อาจส่งผลดีแก่ชาวอินเดีย  500  ล้านครอบครัว แม้ว่าจะยังมีจุดอ่อนเปราะคั่งค้างในเรื่องปัญหาอุปสงค์มวลรวมในประเทศที่ลดลงรายได้ประชากรลดลงมีอัตราการว่างงานสูงที่สุดรอบ  4  ทศวรรษ รวมถึงประเด็นปัญหาแรงกดดันของจำนวนประชากรที่คาดว่าภายในปี 2024  อินเดียจะเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแซงหน้าจีนและเป็นประเทศที่มีเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก

ส่วนการเถลิงอำนาจของกระแสชาตินิยมฮินดูเข้มข้นซึ่งเป็นผลพวงจากปฏิกิริยาโต้กลับนโยบายที่ผู้นำหลายประเทศใช้เรียกคะแนนนิยมเช่นประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ของสหรัฐฯ ที่ประกาศจะ ทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง (Make America Great Again)  เช่นเดียวกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ปูตินของรัสเซีย ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน เพื่อชูพลังเอกภาพในชาติกอบกู้ความยิ่งใหญ่ของชาติกลับคืนมาอีกครั้งได้ถูกนายโมดี ใช้เป็นประเด็นในการหาเสียงเลือกตั้งโดยเปรียบการปกครองของเขากับพระรามในศาสนาฮินดูโดยอ้างว่าบรรดาบิดาผู้ก่อตั้งพรรคได้ยึดแนวคิดที่เรียกว่า Ram Rajya  มาใช้และพยายามมุ่งไปสู่การปกครองในอุดมคตินี้แม้จะยืนกรานว่าพวกเขาไม่ได้ต่อต้านชนกลุ่มน้อยในประเทศแต่นโยบายการเมืองแบบผู้นำแข็งแกร่งและบทบาททางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นทำให้คาดหมายว่าจะมีเรื่องน่าห่วง 2  เรื่องรอข้างหน้า

ภายในประเทศที่ผ่านมาพรรคบีเจพี มักผสมผสานการใช้วาทศิลป์กับแนวคิดการมืองฝ่ายขวาแบบเดียวกับที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ การเรียกผู้อพยพผิดกฎหมายว่า”ปลวก”  พร้อมประกาศจะ จับพวกเขาโยนลงอ่าวเบงกอล  แต่กลับเสนอมอบสถานะพลเมืองให้แก่ผู้ลี้ภัยที่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธอาจจะนำไปสู่ความรุนแรงทางชาติพันธุ์ได้ง่าย

ในระดับภูมิภาคอินเดียอาจจะก่อสงครามที่ไม่จำเป็นบ่อยขึ้นในอนาคตเพื่อช่วยดึงคะแนนนิยมในพรรคและรัฐบาลนายโมดีที่ดิ่งลงในบางช่วงโดยเฉพาะความขัดแย้งเรื่องพรมแดนในแถบเทือกเขาหิมาลัยและในบริเวณทะเลจีนใต้กับจีน

แนวโน้มดังกล่าวสอดรับกับแนวยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ที่ต้องการให้กองทัพอินเดียได้ผงาดขึ้นเป็นผู้คานอำนาจของจีนในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และช่องแคบมะละกา รวมทั้งช่วยค้ำจุนสหรัฐฯ ที่กำลังอ่อนอิทธิพลลง

เรื่องสองการลาออกจากตำแหน่งของนางเทเรซาเมย์ นายกรัฐมนตรีหญิง ของอังกฤษคนที่ เพราะความขัดแย้งภายในพรรคคอนเซอร์เวทีฟว่าด้วยเรื่องยุโรปหลังจากดำรงตำแหน่ง ปีเศษ ทำให้ความมุ่งมั่นไปที่การพาสหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป “แบบมีข้อตกลง” เผชิญกับความสิ้นหวังที่จะทำตามผลประชามติซึ่งเสนอขึ้นโดยเดวิด คาเมรอน นายก ฯ คนก่อนหน้า

หลังการลาออกเสียงวิจารณ์ส่วนใหญ่ออกมาในเชิงลบว่าชื่อเสียงของเธอจะได้รับการบันทึกไว้ว่าทึ่งที่เธอสามารถทนความอับอายจากความพ่ายแพ้ในการเจรจาเรื่องเบร็กซิทไม่ว่าจะเป็นกับสหภาพยุโรปหรือในสภาผู้แทนราษฎรในอังกฤษเอง

ความจริงแล้วแรงผลักดันให้นางเมย์ ยืนหยัดสู้ถือว่าสูญเปล่าหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี  2017 เมื่อ  2  ปีก่อน ซึ่งพรรคคอนเซอร์เวทีฟไม่ได้เสียงข้างมากและต้องพึ่งพรรคเดโมแครติกยูเนียนนิสต์ถึงจะจัดตั้งรัฐบาลได้ทำให้ฐานะเธอไม่เคยฟื้นตัวได้อีกเลยและดูเหมือนว่าส.ส. ในพรรคก็รอจะหาหัวหน้าพรรคคนใหม่มากกว่า อนาคตของนางเมย์ จบลง แต่ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษน่าจะเซซวนไปอีกยาวนานจากการไร้ข้อตกลงกับสหภาพยุโรป

เรื่องสุดท้ายใกล้ตัวคนไทยมากสุดแต่เปรียบได้กับ “เส้นผมบังตา” เพราะการพยายามจัดตั้งรัฐบาลผสมมากกว่า 10  พรรคการเมืองอย่างฝืนธรรมชาตินอกจากมีโอกาสทำลายความชอบธรรมและไร้ประสิทธิภาพแล้วการใช้อำนาจกดดันให้ฝ่ายตรงข้ามที่เห็นแย้งไร้เวทีในรัฐสภา (รวมความถึงความเป็นไปได้ในการยุบพรรคอนาคตใหม่ด้วยข้ออ้าง “ตัดไฟแต่ต้นลม” แบบวัวสันหลังหวะ)  จะทำให้โอกาสของสถานการณ์รุนแรงอันไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้นอย่างเปราะบางในอนาคตในยามที่เศรษฐกิจไทยเสื่อมทรุดลงเพราะพลังขับเคลื่อนทำงานไม่เต็มที่โดยเฉพาะภาคการส่งออก

การถึงแก่อนิจกรรมของพลเอกเปรม ประธานองคมนตรี ซึ่งที่ผ่านมาทำหน้าที่เป็นหนึ่งในเสาค้ำสำคัญของคณะเผด็จการทหารถือได้ว่ามีนัยสำคัญอย่างมากแต่เร็วเกินจะด่วนสรุปสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

รู้แค่ว่าไม่ใช่ข่าวดีสำหรับอำนาจเผด็จการทหารก็น่าจะพอ..!?

Back to top button