หุ้นไฟฟ้า กับ AEDP 2018
แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2561-2580 (AEDP2018) กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (PDP2018) บนเงื่อนไขไม่มีการอุดหนุนราคาค่าไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมและชีวะมวล ในรูปส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) หรือ Feed in Tariff (FiT) เหมือนดั่งที่เคยทำมาก่อนหน้านี้
พลวัตปี 2019 : สุภชัย ปกป้อง
แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2561-2580 (AEDP2018) กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (PDP2018) บนเงื่อนไขไม่มีการอุดหนุนราคาค่าไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมและชีวะมวล ในรูปส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) หรือ Feed in Tariff (FiT) เหมือนดั่งที่เคยทำมาก่อนหน้านี้
แต่มีเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากขยะ 400 เมกะวัตต์ในรูป Feed in Tariff อัตรา 3.66 บาทต่อหน่วย ส่วนโรงไฟฟ้าจากขยะขนาด 10-90 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าขยะขนาดเล็กต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ รับซื้อที่ราคา 5.08 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 20 ปี บวกพรีเมี่ยม 0.70 บาทต่อหน่วย ระยะช่วง 8 ปีแรกที่จ่ายไฟเข้าระบบ โดย AEDP2018 มีการปรับเป้าหมายให้สูงขึ้นจากแผน AEDP2015
1)โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตามแผนเดิมปี 2579 ติดตั้งให้ได้รวม 6,000 เมกะวัตต์ โดยสิ้นปี 2560 ดำเนินการแล้ว 2,849 เมกะวัตต์ แต่แผนใหม่จะติดตั้งระหว่างปี 2561-2580 อีก 12,725 เมกะวัตต์ (โซลาร์รูฟท็อปกับโซลาร์แบบทุ่นลอยน้ำ) รวมมีเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2580 อยู่ที่ 15,574 เมกะวัตต์
2)โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลตามแผนเดิมอยู่ที่ 5,570 เมกะวัตต์ โดยสิ้นปี 2560 ดำเนินการแล้ว 2,290 เมกะวัตต์ มีแผนติดตั้งระหว่างปี 2561-2580 อีก 3,496 เมกะวัตต์ รวมมีเป้าหมายสิ้นปี 2580 อยู่ที่ 5,786 เมกะวัตต์
3)โรงไฟฟ้าพลังงานลม ตามแผนเดิมอยู่ที่ 3,002 เมกะวัตต์ โดยสิ้นปี 2560 ดำเนินการแล้ว 1,504 เมกะวัตต์ มีแผนติดตั้งระหว่างปี 2561-2580 อีก 1,485 เมกะวัตต์ รวมมีเป้าหมายสิ้นปี 2580 อยู่ที่ 2,989 เมกะวัตต์
4)โรงไฟฟ้าไฟฟ้าจากขยะชุมชน ตามแผนเดิมอยู่ที่ 500 เมกะวัตต์ โดยสิ้นปี 2560 ดำเนินการแล้ว 500 เมกะวัตต์ มีแผนติดตั้งระหว่างปี 2561-2580 อีก 400 เมกะวัตต์ รวมมีเป้าหมายสิ้นปี 2580 อยู่ที่ 900 เมกะวัตต์
ตามแผน AEDP2018 ไม่มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำขนาดเล็กและพลังน้ำขนาดใหญ่ เนื่องจากไม่มีพื้นที่การดำ เนินการแล้ว รวมทั้งไม่มีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) ที่แผนเดิมมีการบรรจุไว้ 680 เมกะวัตต์ เนื่องจากยังมีปัญหาด้านเทคนิคในการนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า
นั่นเท่ากับว่าภาพรวมแผน AEDP2018 มีเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรวม 29,358 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากแผนเดิมที่มีการผลิต 19,684 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น 9,674 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้น 13%
จากแผน AEDP2018 ทำถูกมองต่อถึงหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกที่มีโอกาสการลงทุนมากขึ้น แต่ผลตอบแทนอาจไม่หอมหวานเหมือนก่อน เหตุเงื่อนไขระบุชัดว่า “ไม่มีการอุดหนุนราคาค่าไฟฟ้า” ในพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมและชีวะมวล
นั่นก็หมายถึง “ปรากฏการณ์หุ้นแห่วิ่งรับ” อาจเกิดขึ้นได้น้อยมากหรืออาจไม่เกิดขึ้นก็ว่าได้ ด้วยเหตุ AEDP2018 ที่ดูเหมือน “ดีแต่ไม่มีเสน่ห์” นั่นเอง…!!??