BEM สัมปทานไปกันใหญ่
ชักไปกันใหญ่.! ปมเหตุ “ต่อสัมปทาน 30 ปีแลกยุติข้อพิพาทแสนล้าน” ระหว่างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุง เทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แทนที่จะปิดกล่องร่วมหอลงโรงกันไปตั้งแต่รัฐบาลคสช. แต่เมื่อปล่อยข้ามให้ข้ามผ่านมาถึงครม.ชุดใหม่ เกมเลยเปลี่ยนไปทันที..!!
สำนักข่าวรัชดา
ชักไปกันใหญ่.! ปมเหตุ “ต่อสัมปทาน 30 ปีแลกยุติข้อพิพาทแสนล้าน” ระหว่างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุง เทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แทนที่จะปิดกล่องร่วมหอลงโรงกันไปตั้งแต่รัฐบาลคสช. แต่เมื่อปล่อยข้ามให้ข้ามผ่านมาถึงครม.ชุดใหม่ เกมเลยเปลี่ยนไปทันที..!!
เรื่องการ “ต่ออายุสัมปทาน 30 ปี” ตามขั้นตอนน่าจะจบไปตั้งแต่ครม.ประยุทธ์ (1) ไปแล้ว เนื่องจากขั้นตอนมาถึงขั้นร่างสัญญาร่วมกันแล้ว ที่สำคัญร่างสัญญาได้ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบจากอัยการสูงสุดแล้ว แต่เรื่องกลับมาค้างอยู่ที่กระทรวงคมนาคม
แต่ก็ไม่ทราบว่าด้วยเหตุประการใด..ทำไม “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” ในฐานะรมว.คมนาคม ถึงไม่นำเข้าที่ประชุมครม.เพื่อรับทราบและเห็นชอบเรื่องนี้..!! ใครสั่งให้รอ..หรือรอใคร อันนี้สุดจะคาดเดาได้จริง ๆ
พอปล่อยเรื่องนี้..ข้ามผ่านสู่ครม.ชุดใหม่ ทำให้เรื่องที่รู้เห็นกันในวงแคบ..จึงกลายมาเป็นวงกว้างโดยทันที
ล่าสุด..การประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ครั้งที่ 11) มีรายงานว่า นายระวี มาศฉมาดล ส.ส.พรรคพลังธรรมใหม่ ได้เสนอญัตติด่วนขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษากรณีการต่อสัญญาสัมปทาน 30 ปีให้กับ BEM เพื่อแลกกับค่าเสียหายและยุติข้อพิพาททั้งหมด
ด้วยเหตุผลเพื่อต้องการให้เกิดการเปรียบเทียบว่าการต่อหรือไม่ต่ออายุสัมปทาน ข้อดีข้อเสียและรายได้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ทำให้ทางออกดีที่สุดกรณีนี้คือการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จากตัวแทนของส.ส.และตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ มาร่วมกันศึกษา กรณีพิพาท 130,000 ล้านบาท จะเอากันอย่างไร การต่อสัญญาจะเอาอย่างไร การต่ออายุสัมปทาน 30 ปี ถูกกฎหมายหรือไม่ ผิดพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือไม่..!?
นี่คือจุดเริ่มต้นของความยุ่งยากเรื่อง “การต่ออายุสัมปทาน 30 ปี แลกยุติข้อพิพาท” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ขึ้นมา..แน่นอนกลายเป็นหนังเรื่องยาวแน่.!?
ไม่รวมถึงเจ้ากระทรวงคมนาคมใหม่..ที่ไม่ใช่เนื้อแท้ หนังถาวรของคสช.อีกด้วย ใครเป็นใครรู้ ๆ กันอยู่ เรื่องนี้ยิ่งดูยุ่งยากลำบากมากขึ้นไปอีก…!!
ดูจากกับดักที่เจออยู่ตอนนี้ผู้ถือหุ้น BEM อาจต้องตีเรื่องนี้ให้เป็นศูนย์..ไปก่อนดีกว่า เพราะความเสี่ยงไร้ข้อจำกัดจริง ๆ..!!
คิดซะว่า..อย่างน้อยถ้าไม่ได้ต่ออายุสัมปทาน.. “ยังไง๊..ยังไง” กทพ.ต้องจ่ายค่าเสียหายให้ BEM มูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด…!!
เพียงแต่เรื่อง “มันได้ไม่สุด” เท่านั้นเอง..!!!!
….อิ อิ อิ…