ความเสี่ยงธุรกิจปิโตรเคมี
“ตลาดพลาสติกชีวภาพ” กำลังเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ที่ได้รับความสนใจและเติบโตมากขึ้น ที่สำคัญหลายประเทศมีนโยบายชัดเจนกับการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ที่ใช้วัตถุดิบชีวมวล จากวัตถุดิบทางการเกษตรที่ย่อยสลายได้ มาทดแทนการใช้พลาสติกทั่วไปที่ใช้วัตถุดิบจากปิโตรเคมี ที่ย่อยสลายไม่ได้
พลวัตปี 2019 : สุภชัย ปกป้อง
“ตลาดพลาสติกชีวภาพ” กำลังเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ที่ได้รับความสนใจและเติบโตมากขึ้น ที่สำคัญหลายประเทศมีนโยบายชัดเจนกับการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ที่ใช้วัตถุดิบชีวมวล จากวัตถุดิบทางการเกษตรที่ย่อยสลายได้ มาทดแทนการใช้พลาสติกทั่วไปที่ใช้วัตถุดิบจากปิโตรเคมี ที่ย่อยสลายไม่ได้
นั่นจึงส่งผลให้ “ตลาดพลาสติกชีวภาพ” มีโอกาสเติบโต..ในทางกลับกัน “ตลาดพลาสติกชีวภาพทั่วไป” มีโอกาสถดถอยอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว..!!!
“พลาสติกชีวภาพ” จึงเป็นนวัตกรรมจากวัตถุดิบธรรมชาติที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสหภาพยุโรป (EU) ที่เร่งออกมาตรการส่งเสริมทั้งการใช้ การผลิต และการวิจัยนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ปัจจุบัน EU มีมาตรฐานสำหรับสินค้าพลาสติกชีวภาพ 2 ประเภท 1) มาตรฐาน CEN/TS 16137 ที่ระบุปริมาณคาร์บอน (carbon content) และปริมาณวัตถุดิบชีวมวล (biobased mass content) สำหรับพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ (Biobased) 2) มาตรฐาน EN 13432 (เฉพาะบรรจุภัณฑ์) และ EN 14995 (นอกเหนือจากบรรจุภัณฑ์) ที่รับรองคุณสมบัติการสลายตัวทางชีวภาพ (compostable) และแตกสลายทางชีวภาพ (biodegradable) พร้อมมาตรฐานอื่น ๆ ที่รับรองโดยองค์กร ISO และหน่วยงาน ASTM ของสหรัฐฯ ด้วย
แม้มาตรฐานเหล่านี้ไม่ใช่มาตรฐานบังคับว่าผู้ผลิตสามารถเลือกปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ (voluntary) แต่ไม่สามารถขอติดโลโก้ Seeding หรือโลโก้ OK Compost จากสมาคม European Bioplastics ได้ เพราะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากลก่อน นั่นคือ “อุปสรรคทางการตลาด” ด้วยโลโก้ Seeding หรือ OK Compost เป็นที่รู้จักกันดีใน EU โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่เน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันความต้องการพลาสติกชีวภาพในตลาดโลก มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยปีละ 50% มีการประเมินกันว่าปี 2563 ปริมาณความต้องการพลาสติกชีวภาพของโลก จะอยู่ที่ระดับ 1.3 ล้านตัน มีอัตราการขยายตัวมากถึง 216.5% เทียบกับปี 2555 ที่มีปริมาณความต้องการอยู่เพียง 0.4 ล้านตัน
โดย “พลาสติกชีวภาพไทย” อยู่ช่วงเริ่มต้น แต่มีหลายปัจจัยที่มีส่วนกดดันการเติบโตของอุตสาหกรรม เช่น เงินลงทุนสูง ผู้บริโภคให้ความสำคัญการใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพมากนัก ระบบการจัดการขยะ ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ และเม็ดพลาสติกชีวภาพปัจจุบัน อาจมีข้อจำกัดเรื่องคุณสมบัติการใช้งานเมื่อนำมาขึ้นรูปผลิตภัณฑ์
“ประเทศไทย” ถือว่ามีศักยภาพการผลิตพลาสติกชีวภาพ เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบชีวมวล โดยเฉพาะมันสำ ปะหลังสดและอ้อย หากนำมันสำปะหลังสดสัดส่วนเพียง 25% ของปริมาณมันสำปะหลังสด ที่ใช้ในการผลิตมันเส้นหรือมันอัดเม็ดเพื่อการส่งออก มาใช้ในการผลิต PLA ทำให้มีมูลค่าเพิ่มเป็น 1,517 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การเติบโตของตลาดพลาสติกชีวมวล จึงกลายเป็น “หนามยอกอก” ธุรกิจปิโตรเคมีไม่น้อยทีเดียวแม้ผู้ประกอบ การปิโตรเคมีเกือบทุกแห่ง จะมีการแตกไลน์เข้าสู่พลาสติกชีวภาพบ้างแล้วก็ตาม แต่ถือเป็นสัดส่วนน้อย จึงสุ่มเสี่ยงว่าไม่อาจชดเชยกับสิ่งที่สูญเสียในอนาคตได้..!!