ทะเลของความเสี่ยง (จบ)พลวัต2015

ในอดีต PTTEP ประสบความสำเร็จจากการตามรอยของยูโนแคลของสหรัฐฯ (ปัจจุบัน คือ เชฟรอน) ในการทำธุรกิจในประเทศที่ต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคสูงจนมีกำไรมหาศาล กลายเป็นที่พึ่งของบริษัทแม่อย่างปตท.ในยามวิกฤตต้มยำกุ้ง และทำกำไรโดดเด่นถึงปีที่แล้ว ถือเป็นทั้ง cash cow และ star ของกลุ่ม


ในอดีต PTTEP ประสบความสำเร็จจากการตามรอยของยูโนแคลของสหรัฐฯ (ปัจจุบัน คือ เชฟรอน) ในการทำธุรกิจในประเทศที่ต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคสูงจนมีกำไรมหาศาล กลายเป็นที่พึ่งของบริษัทแม่อย่างปตท.ในยามวิกฤตต้มยำกุ้ง และทำกำไรโดดเด่นถึงปีที่แล้ว ถือเป็นทั้ง cash cow และ star ของกลุ่ม

ความรุ่งเรืองและกำไรมหาศาลของ PTTEP ได้เผชิญความท้าทายใหม่ เมื่อปริมาณสำรองของก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยร่อยหรอลง และถูกกลุ่มเอ็นจีโอทั้งจริงและปลอมตั้งคำถามรวมทั้งขัดขวางเส้นทางการสำรวจและขุดเจาะในประเทศอย่างเอาเป็นเอาตายต่อเนื่อง (เสมือนหนึ่งเป็นหูตาของยักษ์น้ำมันข้ามชาติ)

เมื่อเส้นทางสำรวจและขุดเจาะในประเทศทำได้ยากมาก กลายเป็น “ทะเลสีแดง” (red ocean) ทางออกของ PTTEP จึงต้องเดินตามรอยของยักษ์พลังงานทั้งหลายในโลก นั่นคือ ออกไปแสวงหาแหล่งพลังงานนอกประเทศ โดยหวังค้นพบ “ทะเลสีคราม” (blue ocean)

โดยทั่วไปแล้ว การออกไปสำรวจและขุดเจาะพลังงานในต่างประเทศ มีกระบวนการได้มา  3 วิธี คือ…

 1)หาใบอนุญาตสัมปทานใหม่ในแหล่งที่ยังไม่มีใครสำรวจมาก่อน

2)เข้าไปร่วมลงทุนในกิจการ ซึ่งมีสัมปทานอยู่แล้วแต่ต้องการพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยง

3)ซื้อกิจการทางลัดที่มีปัญหาหรือมีผู้สนใจจะขายกิจการ

ทั้ง 3 วิธีนี้ PTTEP ทำมาแล้ว ทั้งลองผิดลองถูก ผสมกับความรู้ที่มีอยู่ บังเอิญว่าที่ผ่านมามีความสำเร็จค่อนข้างดีกว่าความล้มเหลว คนเลยมองเห็นด้านสว่างของบริษัทมากกว่าด้านมืด โดยเฉพาะในช่วงธุรกิจพลังงานเป็นขาขึ้น

ธรรมชาติของธุรกิจสำรวจและขุดเจาะพลังงานนั้น มีปัจจัยเสี่ยง (เรียกว่า failure ‘ s factors เช่น เจาะแล้วไม่คุ้มค่าทางธุรกิจ หรือหลุมแห้ง คุณภาพผลิตภัณฑ์ต่ำ อัตราแลกเปลี่ยน หนี้สินสูง นโยบายรัฐบาลของประเทศที่ให้สัมปทานไม่แน่นอน หรือ ฯลฯ) สูงมาก แต่ก็ทำให้มีคุณค่าทางธุรกิจ (success ‘ s factors) สูงตามไปด้วย เข้าข่าย “เสี่ยงสูง กำไรสูง” การออกไปลงทุนในดินแดนต่างประเทศจึงเป็นการผจญภัยทางธุรกิจที่ซับซ้อน เพราะมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้สูงกว่าปกติ

ความสามารถในทางเทคโนโลยีของผู้บริหารและพนักงานไม่พอเพียงรับมือ ต้องมีความรอบคอบในด้านการวางแผนทางการเงิน บริหารสายสัมพันธ์กับรัฐบาลและหุ้นส่วนท้องถิ่น รวมทั้งปฏิภาณในการแก้ปัญหาที่ไม่คาดฝันอื่นๆ ด้วย

นับตั้งแต่PTTEP ไปลงทุนต่างประเทศ บริษัทมีการก่อหนี้ที่เพิ่มมากขึ้น มีการเพิ่มทุนขนาดใหญ่ รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นในทางลบที่แต่ละครั้งจะเป็นข่าวระดับโลก บ่งบอกว่าเดิมพันทางผลประโยชน์ที่เติบโตมากกว่าเดิมหลายเท่า

ปัญหาไฟไหม้หลุมขุดเจาะมอนทาร่าในออสเตรเลียที่กินเวลายืดเยื้อนานหลายปี ปัญหาลงทุนในแหล่งออยล์แซนด์ที่แคนาดาที่ล้มเหลวจนต้องปรับแผนลงทุน การลงทุนร่วมโมซัมบิกที่ผลตอบแทนล่าช้าและยังไม่ชัดเจน สะท้อนเดิมพันใหญ่หลวงในทะเลสีครามของการทำธุรกรรมข้ามชาติ

ปัญหาบางเรื่องอาจถูกซ่อนเร้นไว้และไม่ลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ หากว่าตลาดน้ำมันดิบและก๊าซยังเป็นขาขึ้นต่อไป แต่จะรุมเร้ารุนแรงบานปลายในกรณีตลาดพลิกเป็นขาลง  เข้าข่าย “น้ำลด ตอผุด” 

กรณีขาดทุนจากปัจจัยที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานปกติ แม้จะเป็นตัวแปร “สุดวิสัย” แต่ส่งผลเสียหายต่อผลประกอบการเฉพาะหน้า จึงเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับภาษิตเก่าจีนที่ว่า “คนบัญชา ไม่สู้ฟ้าลิขิต” ได้เป็นอย่างดี

ความตกต่ำของผลประกอบการเช่นที่เกิดขึ้นนี้เป็นปัญหาชั่วคราวเฉพาะหน้าที่ต้องเผชิญให้ได้ และถือเป็นบททดสอบฝีมือของผู้บริหารที่สำคัญยิ่งว่าตำแหน่งงานที่ได้มานั้นไม่ได้มาเพราะเส้นสายหรือบุญหล่นทับ เพราะไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น บริษัทยังต้องมีพันธกิจในการแสวงหาแหล่งพลังงานเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในระยะยาวแข่งกับบริษัทน้ำมันแห่งชาติและยักษ์น้ำมันข้ามชาติทั่วโลก

ดังเช่นที่ระบุตามโครงการลงทุน 5 ปี มูลค่า 5.5 แสนล้านบาท ( 27,282 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในปี 2557-2561 ที่จะต้องเดินหน้าต่อไป

พันธกิจนี้ใหญ่หลวงกว่าที่จะใส่ใจกับบรรดาเสียงตะโกนอย่างบ้าคลั่งและประสงค์ร้ายของเหล่าเอ็นจีโอทั้งจริงและปลอมที่ถือว่า ความใหญ่ของธุรกิจในเครือ PTT คือ ความชั่วร้ายที่ไม่อาจยอมรับได้ 

ทะเลสีครามของการลงทุนในต่างประเทศของ PTTEP ในปัจจุบันและอนาคตอาจต้องเจอมรสุมอีกหลายครั้ง แต่ก็ต้องเดินหน้าต่อไป ไม่อาจถอยหลังได้ เพราะ “เรือเล็กต้องออกจากฝั่ง” ไม่อาจเป็นอื่น

ราคาหุ้นที่ต่ำกว่าบุ๊คแวลู ของ PTTEP ยามนี้ จึงน่าจะเป็นโอกาสมากกว่าวิกฤต แม้ว่าจะทำให้คนที่ถือหุ้นแสนอึดอัดเต็มที

Back to top button