TFRS 9 ความเสี่ยงสถาบันการเงิน

อีกไม่ถึงเดือนมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน (Thai Financial Reporting Standdards : TFRS 9) หรือที่เรียกว่า TFRS 9 จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63 โดยมาตรฐาน TFRS 9 กำหนดให้กิจการรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินในงบแสดงฐานะทางการ เงินของกิจการ เมื่อกิจการเป็นคู่สัญญาตามข้อกำหนดสัญญาของเครื่องมือทางการเงินเหล่านั้น ณ วันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่ไม่ได้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกำไรหรือขาดทุนด้วยมูลค่ายุติธรรม บวกหรือหักด้วยต้นทุนการทำรายการซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา หรือการออกสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินนั้น


พลวัตปี 2019 : สุภชัย ปกป้อง

อีกไม่ถึงเดือนมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน (Thai Financial Reporting Standdards : TFRS 9) หรือที่เรียกว่า TFRS 9 จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63 โดยมาตรฐาน TFRS 9 กำหนดให้กิจการรับรู้สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินในงบแสดงฐานะทางการ เงินของกิจการ เมื่อกิจการเป็นคู่สัญญาตามข้อกำหนดสัญญาของเครื่องมือทางการเงินเหล่านั้น ณ วันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินที่ไม่ได้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ผ่านกำไรหรือขาดทุนด้วยมูลค่ายุติธรรม บวกหรือหักด้วยต้นทุนการทำรายการซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา หรือการออกสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินนั้น

โดยมีการปรับเปลี่ยนหลักการเกี่ยวกับการจัดประเภทและการวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน และการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน กล่าวคือ การกันเงินสำรองเพื่อรองรับผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากสินทรัพย์และภาระผูกพัน เช่น เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ สัญญาค้ำประกันทางการเงิน วงเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้ จากแนวคิดเดิมที่กันเงินสำรองจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว (Incurred Loss) เป็นการกันสำรองเพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Expected Loss : EL) เพื่อให้เงินสำรองสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตตลอดอายุของลูกหนี้

มีการกำหนดให้พิจารณาจากข้อมูลทั้งในอดีต ปัจจุบัน และเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Forward-looking Information) โดยพิจารณากันเงินสำรองต่างกันตามสถานะหรือชั้น (Stage) ของลูกหนี้

-ขั้นที่ 1 (Stage 1) เมื่อมีการซื้อหรือกำเนิดเครื่องมือทางการเงิน กิจการจะต้องรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า ในกำไรหรือขาดทุน พร้อมการรับรู้บัญชีค่าเผื่อผลขาดทุน การรับรู้ดังกล่าวถือเป็นการรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เมื่อเริ่มแรก สำหรับสินทรัพย์ทางการเงิน ดอกเบี้ยรับคำนวณจากมูลค่าตามบัญชีขั้นต้น โดยไม่มีการปรับลดผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

ขั้นที่ 2 (Stage 2) เมื่อความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและไม่ได้พิจารณาว่าอยู่ระดับต่ำ กิจการจะต้องรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุเต็มจำนวน ในกำไรหรือขาดทุน ดอกเบี้ยรับคำนวณเช่นเดียวกับขั้นที่ 1

-ขั้นที่ 3 (Stage 3) เมื่อความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ทางการเงินเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่พิจารณาได้ว่าเกิดการด้อยค่าด้านเครดิตขึ้น (credit-impaired) ดอกเบี้ยรับคำนวณจากราคาทุนตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ทางการเงิน (Amortized cost) (โดยใช้มูลค่าตามบัญชีขั้นต้นปรับลดด้วยค่าเผื่อผลขาดทุน) สินทรัพย์ทางการเงินในขั้นนี้โดยปกติมักจะมีการพิจารณาเป็นแต่ละรายการ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุจะถูกรับรู้สำหรับสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าว

งบการเงินจะมีการเปลี่ยนแปลงการแสดงรายการแบบใหม่ ตามแนวทางการจัดประเภทและการวัดมูลค่าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในงบแสดงฐานะทางการเงินจะมีการเพิ่มบางรายการ เช่น สินทรัพย์/หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุนและงบกำไรขาดทุนจะมีการเปลี่ยนแปลงบางรายการ เช่น กำไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงินประเภทต่าง ๆ ผ่านกำไรขาดทุน หรือกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

นอกเหนือจากการแสดงรายการในงบการเงินที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว อัตราส่วนทางการเงินบางรายการจะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน กล่าวคือ เงินให้สินเชื่อ Stage 2 อัตราส่วนอาจมากกว่า Special Mention (SM) เนื่องจากขอบเขตการนับลูกหนี้ที่กว้างกว่า ส่วน Net Interest Margin (NIM) อาจกว้างขึ้นแต่ไม่มาก เนื่องจากการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากส่วนที่คาดว่าจะได้รับคืนของลูกหนี้ NPL ด้วย

แน่นอนว่า TFRS 9 ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการกันเงินสำรองที่จะเป็นภาระต้นทุนสถาบันการเงิน แต่จากการกันสำรองเพิ่มเติมช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นตัวช่วยลดผลกระทบจากการกันเงินสำรองตาม TFRS 9 แต่จะช่วยได้มากน้อยเพียงใดไม่นานคงได้รู้กัน..!!?

Back to top button