TOT-CAT ความดันทุรังสูง

วันนี้ (4 ก.พ.) ได้รู้กันละว่า “5 ค่าย เลือก 5G” ผ่านการยื่นประมูลคลื่นความถี่อะไรบ้าง.? จาก 4 ตัวเลือก นั่นคือคลื่นความถี่ 700 MHz คลื่นความถี่ 1800 MHz คลื่นความถี่ 2600 MHz และคลื่นความถี่ 26 GHz ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีกำหนดเปิดให้ 5 ค่ายสื่อสาร ยื่นซองเข้าร่วมการประมูลวันที่ 4 ก.พ.63


สำนักข่าวรัชดา

วันนี้ (4 ก.พ.) ได้รู้กันละว่า “5 ค่าย เลือก 5G” ผ่านการยื่นประมูลคลื่นความถี่อะไรบ้าง.? จาก 4 ตัวเลือก นั่นคือคลื่นความถี่ 700 MHz คลื่นความถี่ 1800 MHz คลื่นความถี่ 2600 MHz และคลื่นความถี่ 26 GHz ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีกำหนดเปิดให้ 5 ค่ายสื่อสาร ยื่นซองเข้าร่วมการประมูลวันที่ 4 ก.พ.63

นั่นหมายถึงเป็นวันที่จะได้รู้ว่า 5 ค่ายสื่อสาร จะเลือกประมูลคลื่นไหนบ้าง..!!

โดย 5 ค่ายสื่อสารที่ว่า คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT

สำหรับ “คลื่นความถี่” ในดวงใจ 3 ค่ายมือถือ ADVANC-TRUE-DTAC หนีไม่พ้นคลื่นความถี่ 2600 MHz ที่เอกชน 3 ราย ออกตัวไว้แล้วว่า..เหมาะสำหรับการทำ 5G แต่ปัญหาคลื่นความถี่ดังกล่าวมีเพียง 190 MHz (10 ใบ ใบละ 10 MHz) เมื่อเทียบความต้องการแต่ละค่ายแล้ว..สู้กันยิบตาแน่นอน..!!

แต่ปัญหาไม่จบแค่นั้น..เพราะดันมีรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือ TOT และ CAT ที่โดดร่วมวงประมูล 4 คลื่นความถี่ครั้งนี้ด้วย ตามนโยบายรัฐมนตรีกระทรวง DES ที่อ้างว่าต้องการจะนำคลื่นดังกล่าว ไปให้บริการเชิงสังคมในพื้นที่ห่างไกล เพื่อประโยชน์สาธารณะที่บริษัทสื่อสารโทรคมนาคมโดยทั่วไปไม่อยากเข้าไปลงทุนอยู่แล้ว..เอาง่าย ๆ ไม่ต้องการตกขบวน 5G ว่างั้นเหอะ..!!

นี่ถ้ารัฐวิสาหกิจ 2 แห่งนี้ มีเป้าประสงค์จับจองคลื่นความถี่ 2600 MHz อยู่ด้วย งานนี้การแข่งขันดุเดือดเลือดพล่านแน่นอน

ว่ากันตามข้อเท็จจริงแล้ว 2 ค่ายรัฐวิสาหกิจที่ว่านี้..ไม่ควรดันทุรังเข้าร่วมประมูลครั้งนี้ ทั้ง ๆ ที่ทั้ง 2 ราย อยู่ระหว่างการควบรวมกิจการ ทำให้โครงสร้างการบริหารงานไม่ชัดเจนและนำไปสู่ความไม่ชัดเจนเรื่องการลงทุน และหากทั้ง 2 รายเกิดชนะประมูลด้วยกันทั้งคู่หรือชนะประมูลคลื่นที่ต่างกัน นั่นยิ่งสร้างปัญหามากขึ้นไปอีก

สุดท้ายหนีไม่พ้นเอาคลื่นความถี่ไปกองไว้ แต่ไร้ความสามารถในการบริหารจัดการเอง เหมือนดั่งที่เกิดขึ้นมาแล้วกับคลื่นความถี่ 2300 MHz ที่ต้องดึงเอกชนมาร่วมบริหารจัดการในที่สุด…

ส่วนข้ออ้างที่รัฐมนตรีกระทรวง DES ระบุว่า “เพื่อนำไปให้บริการเชิงสังคมบนพื้นที่ห่างไกล” นั้น ตามข้อเท็จจริงการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ชายขอบ มี “กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “กองทุน USO” ของกสทช. ทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่แล้ว

โดยกองทุน USO ดังกล่าว มีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ประกอบการที่รับใบอนุญาตจากกสทช. อัตรา 4-5% หรือปีละ 10,000 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนให้บริการสื่อสารเชิงสังคมหรือท้องถิ่น ที่บริษัทสื่อสารไม่อยากไปลงทุนอยู่แล้ว

นั่นจึงเห็นได้ชัดว่า  TOT และ CAT ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องกระเสือกกระสนดิ้นรน เข้าประมูลคลื่นความถี่ ตามเจตนารมณ์รัฐมนตรีกระทรวง DES แต่อย่างใด..

หรือว่า..งานนี้มี “วาระแอบแฝง” ใช่ป่ะ..!!

…อิ อิ อิ…

Back to top button