ปตท.กับนวัตกรรม AIoT

ตลอดช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา บทบาทของ AIoT เริ่มเป็นที่กล่าวขานกันมากขึ้น เป็นการประยุกต์และผสมผสานเทค โนโลยี AI (Artificial Intelligence) เข้ากับเทคโนโลยี IOT (Internet Of Things) ที่เห็นชัดคือประเทศจีน โดยเว็บไซต์ Global Digital Marketing Summit (GDMS), AdMaster และ GDMS ร่วมกันเปิดตัว China Digital Marketing Trend 2020 ขึ้นมีทั้ง อุตสาหกรรมด้านอาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์ การดูแลสุขภาพและความงาม อาหารทารกและอื่น ๆ


พลวัตปี 2020 : สุภชัย ปกป้อง

ตลอดช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา บทบาทของ AIoT เริ่มเป็นที่กล่าวขานกันมากขึ้น เป็นการประยุกต์และผสมผสานเทค โนโลยี AI (Artificial Intelligence) เข้ากับเทคโนโลยี IOT (Internet Of Things) ที่เห็นชัดคือประเทศจีน โดยเว็บไซต์ Global Digital Marketing Summit (GDMS), AdMaster และ GDMS ร่วมกันเปิดตัว China Digital Marketing Trend 2020 ขึ้นมีทั้ง อุตสาหกรรมด้านอาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์ การดูแลสุขภาพและความงาม อาหารทารกและอื่น ๆ

โดยทำการสำรวจและคาดการณ์แนวโน้มการตลาดดิจิทัลในจีน ช่วงปี 2020 จากเอเจนซี่โฆษณา 221 ราย จากกว่า 20 อุตสาหกรรม ตามข้อมูล (31 ต.ค. 19) แสดงให้เห็นว่าปริมาณการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตลดลง 11.5% และเป็นครั้งแรกที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง

ช่วงเวลาเดียวกัน..การมาถึงของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเติบโตของ IoT (Internet of Things) ที่นำโดย 5G ได้กลายเป็นคลื่นลูกใหม่เข้าสู่ตลาดดิจิทัล สร้างพื้นที่และโอกาสการพัฒนามากขึ้น และแนวโน้มจีนจะมีปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence (AI) ที่เหมือนมนุษย์มากขึ้น

ปัจจุบันจีนมีการใช้งาน AIoT (AI+IoT) หลายด้าน ตัวอย่างเช่น กรณีการใช้งาน AI สำหรับโรงพยาบาล ช่วยอำนวยความสะดวกผู้ป่วยในการพบแพทย์ หากผู้ป่วยได้ลงทะเบียนระบุอัตลักษณ์ตัวตนไว้แล้ว AI จะสามารถระบุรายละเอียด ตั้งแต่แพทย์ที่จะตรวจรักษาว่า อยู่ห้องใด ชั้นใด ขึ้นบันไดตรงจุดใดที่ใกล้ที่สุด

แม้แต่การจ่ายยา ผู้ป่วยสามารถเลือกยา ที่ใกล้หมดอายุเพื่อให้ราคาถูกลงได้ นอกจากนี้หุ่นยนต์ ยังเป็นผู้จ่ายยา กระ บวนการเหล่านี้ เรียกว่าใช้หุ่นยนต์หรือ AI เกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงแค่แพทย์เท่านั้น

สำหรับประเทศไทย..ล่าสุดบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT มีการแต่งตั้งบริษัท เอ็นวิชั่น ดิจิทัล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้นำด้านเทคโนโลยี AIoT บนแพลตฟอร์มดิจิทัล มีสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ เป็นผู้พัฒนาระบบโครงข่ายอัจฉริยะ (SMART GRID) ครั้งแรก

ภารกิจตามสัญญา นั่นคือการพัฒนาระบบ AIoT SMART GRID ที่สถาบันวิทยสิริเมธี ด้วยการใช้ระบบปฏิบัติ การ AIoT จากเอ็นวิชั่น ดิจิทัล (EnOS™) ด้วยการบูรณาแผงเซลล์สุริยะแบบลอยตัว (Floating Solar) แผงเซลล์สุริยะบนหลังคา (Rooftop Solar) ระบบจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage) และสถานีประจุพลังงานไฟฟ้า (EV Charging Station) ภาย ในเขตวิทยาลัย

โดยใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์ระบบดิจิทัล Enlight และ Ensight ของเอ็นวิชั่น โดยโครงการ SMART GRID จะช่วยให้ปตท.สามารถบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ปี 2563

นั่นคือ “อัตราการเพิ่มการปล่อยมลพิษทางอากาศเป็นศูนย์”..!!

การทำสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นจากบันทึกข้อตกลง ระหว่างเอ็นวิชั่น ดิจิทัล และ ปตท.ช่วงเมษายนปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างความร่วมมือหลายโครงการ มีจุดประสงค์ เพื่อการพิจารณาโอกาสในแหล่งพลังงานใหม่และแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล ถือเป็นการดำเนินโครงการรูปแบบนี้เป็นครั้งแรกในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation : EECi)

โดยเน้นความสำคัญด้านการคิดค้นนวัตกรรมสำหรับเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: ECC) เพื่อนำไปสู่การค้าและการพาณิชย์ของภูมิภาคอาเซียน

นี่ถือเป็นโครงการนำร่องการใช้ AIoT ในประเทศไทย..ที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว..!!

Back to top button