AMANAH ยอดปล่อยสินเชื่อสร้างสถิติใหม่!
คุณค่าบริษัท มีการวิเคราะห์กันว่าเป้าสินเชื่อใหม่ปี 256 …
คุณค่าบริษัท
มีการวิเคราะห์กันว่าเป้าสินเชื่อใหม่ปี 2563 ของ บริษัท อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ AMANAH ยังคงปรับตัวขึ้นสูงจากการปล่อยสินเชื่อ
ทั้งนี้เป้ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 2563 อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท และคาดว่าจะปล่อยได้ราว 1,730 ล้านบาท เพราะหากเทียบกับเป้ายอดปล่อยสินเชื่อปี 2562 ที่ 2,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทปล่อยได้เพียง 1,570 ล้านบาท อีกทั้งบริษัทจะยังคงปล่อยสินเชื่อแบบ Aggressive ต่อเนื่องจากครึ่งหลังปี 2562 ทำให้คาดว่าสินเชื่อใหม่ในไตรมาส 1/2563 จะอยู่ที่ประมาณ 300-400 ล้านบาท
ขณะเดียวกันระดับสำรองฯ ณ ปัจจุบันเพียงพอต่อ TFRS 9 และมีสำรองส่วนเกินคงเหลือประมาณ 10 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทจะยังคงตั้งสำรองฯ ในระดับปัจจุบันต่อเนื่อง เพื่อรองรับส่วนสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นสำหรับงวดที่ผลประกอบการบริษัทไม่ดี
รวมถึง Loan yield มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (คาดเพิ่มขึ้นเป็น 18.6% จากปีก่อนที่ 18.2%) จากสินเชื่อใหม่ในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ที่ผ่านมา มี yield เฉลี่ยที่ 22% สูงกว่าปี 2562 ที่อยู่ที่ yield เฉลี่ย 21.5%
นอกจากนี้บริษัทคาดว่าจะสามารถออกหุ้นกู้ได้ภายใน 2 ปีนี้ จากโอกาสที่จะได้รับการปรับ rating ขึ้นในช่วง 1-2 ปี ทั้งนี้บริษัทอยู่ระหว่างการติดต่อกับ ตลท. เพื่อให้สามารถออกหุ้นกู้ได้ตามหลักชะรีอะฮ์ อย่างไรก็ตามบริษัทอาจจะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแรงจูงใจให้ AMANAH Express (AE) เพิ่มขึ้น เพื่อให้ AE จัดหาสินเชื่อ และส่งต่อให้กับบริษัทแทนการส่งให้บริษัทอื่น เนื่องจาก AE จะยังเป็นช่องทางหลักในการขยายสินเชื่อ ในขณะที่บริษัทยังไม่มีแผนขยายสาขาเพิ่ม โดย ณ สิ้นปี 2562 บริษัทมีสาขา 43 แห่ง และ AE จำนวน 628 คน
ผลลัพธ์ทำให้นักวิเคราะห์ยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 ที่ 290 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 18% จากงวดเดียวกันของปีก่อน) จากสินเชื่อที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 13%, NPLs ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 5.3% และ Cost to income ลดลงเป็น 40% จากขาดทุนการขายรถยึดที่ลดลง ภายหลังที่นโยบายที่จะยึดรถแทนการประนีประนอมหนี้
ขณะที่ยังไม่ได้รวมผลกระทบจาก TFRS 16 คาดว่าบริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัย เนื่องจากบริษัทมีสาขาที่น้อยเพียง 43 แห่ง และเน้นการขยายสินเชื่อผ่าน AE เป็นหลัก
ด้านผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2563 คาดจะขยายตัวต่อเนื่องจากงวดเดียวกันของปีก่อน จากสินเชื่อที่บริษัทจะยังคงปล่อยแบบ Aggressive และการรับรู้รายได้จากการติดตามลูกหนี้พิพากษาที่บริษัทได้เพิ่มการติดตามในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 เป็นต้นมา
ส่วนผลการดำเนินงานงบปี 2562 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 บริษัทมีรายได้รวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 728.56 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน 628.67 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขยับขึ้นมาอยู่ที่ 247.54 ล้านบาท หรือ 0.24 บาทต่อหุ้น จากงวดเดียวกันของปีก่อน 163.59 ล้านบาท หรือ 0.17 บาทต่อหุ้น
เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากเงินให้สินเชื่อเช่าซื้อ (ATM เงินด่วน) ที่เพิ่มขึ้นตามพอร์ตสินเชื่อที่เติบโตเพิ่มขึ้นทุกไตรมาส และเป็นไปตามแผนธุรกิจที่ต้องการสร้างผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 20% ต่อปี รวมถึงรายได้อื่นที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากถึง 51% และการบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ที่ทำให้รายการขาดทุนและประมาณการด้อยค่าของ NPA ลดลง
…
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 468,825,000 หุ้น 48.75%
- นายภานุรังษี ศรีวรัฏฐา 47,999,999 หุ้น 4.99%
- นายสมชาย ปัดภัย 28,469,727 หุ้น 2.96%
- นางลามิปาโกร์ ศรีคุรุวาฬ 17,157,726 หุ้น 1.78%
- นายสุรศักดิ์ ไกรวิทย์ชัยเจริญ 13,500,000 หุ้น 1.40%
รายชื่อกรรมการ
- พลตรีณัฏฐิพงษ์ เผือกสกนธ์ ประธานกรรมการ, กรรมการอิสระ
- นายไพบูลย์ ศิริภาณุเสถียร ประธานกรรมการบริหาร, กรรมการ
- นายนันทพล พงษ์ไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ, กรรมการ
- นายมนต์ชัย รัตนเสถียร กรรมการ
- น.ส.ศันสนีย์ เมธิสริยพงศ์ กรรมการ