สนามบินขยับ..รถไฟไม่เขยื้อน

หลังเซ็นสัญญาระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA, บริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC หรือกลุ่มบีบีเอส เพื่อลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงินลงทุน 290,000 ล้านบาท ช่วงเดือนมิ.ย. 63 ที่ผ่านมา


พลวัตปี 2020 : สุภชัย ปกป้อง

หลังเซ็นสัญญาระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA, บริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC หรือกลุ่มบีบีเอส เพื่อลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงินลงทุน 290,000 ล้านบาท ช่วงเดือนมิ.ย. 63 ที่ผ่านมา

จัดแบ่งโครงการเป็น 4 ระยะ กล่าวคือ ระยะที่ 1 สร้างอาคารผู้โดยสาร เพื่อรองรับผู้โดยสารสูงสุด 15.9 ล้านคนต่อปี พร้อมพื้นที่เชิงพาณิชย์ อาคารจอดรถ ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดิน และหลุมจอดอากาศยาน มีกำหนดแล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2567 ระยะที่ 2 เพิ่มอาคารผู้โดยสารขึ้นอีก พร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) และระบบทางเดินเลื่อน รวมทั้งเพิ่มหลุมจอดอากาศยาน 16 หลุมจอด เพื่อให้รองรับผู้โดยสารสูงสุด 30 ล้านคนต่อปี กำหนดแล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2573

ระยะที่ 3 ขยายอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติม (จากระยะที่ 2) พร้อมระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) รวมทั้งเพิ่มหลุมจอด เพื่อรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 45 ล้านคนต่อปี กำหนดแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2585 ระยะที่ 4  เป็นพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่สอง รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 60 ล้านคนต่อปี พร้อมทั้งติดตั้งระบบ Check-in แบบอัตโนมัติ กำหนดแล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2598

ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 290,000 ล้านบาท ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตและแสดงความเป็นห่วงว่า เป็นมูลค่าการลงทุนที่สูงเกินไปหรือไม่ ความคุ้มค่าการลงทุนมีมากน้อยเพียงใด..!!

เรื่องนี้ “คีรี กาญจนพาสน์” ประธานกรรมการ BTS มั่นอกมั่นใจว่า แม้มีการมองว่าเป็นการลงทุนเม็ดเงินมหาศาล แต่จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและเป็นระดับเหมาะสม และมีแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และแผนการสร้างระบบเชื่อมต่อการเดินทางภายในโครงการให้เชื่อมต่อกับระบบการขนส่งภายนอกทุกระบบ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนาม บินของกลุ่มซีพีและพันธมิตร

คีย์เวิร์ดสำคัญของ “เจ้าสัวคีรี” คือ โครงการนี้ไม่ใช่แค่สนามบิน แต่มีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน โดยเฉพาะเมืองการบินและ Free Trade Zone เป็นโครงการขนาดใหญ่ สร้างมูลค่าให้โครงการและมั่นใจว่าผลตอบแทนที่เสนอให้รัฐเป็นตัวเลขที่มีพื้นฐานจากข้อเท็จจริง

ส่วนอินฟราสตรัคเจอร์ด้านสื่อสาร ค่ายสื่อสารรายใหญ่ AIS เข้าไปพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ร่วมกับกองทัพเรือ ช่วงเฟสแรกแล้ว และกำลังคอนเนคกับกลุ่มบีบีเอสและพันธมิตร เพื่อพัฒนาสนามบินเป็น Smart Airport ต่อไป

ดู ๆ แล้วโครงการพัฒนาสนามบินอูตะเภาฯ จะมีรายละเอียดโครงการที่เป็นรูปธรรมและเริ่มจับต้องได้ แต่ที่น่าผิดสังเกตคือ “โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” (ในนามบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ของกลุ่มซีพีและพันธมิตร) วงเงินลงทุน 240,000 ล้านบาท ที่เซ็นสัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ตั้งแต่ปลายเดือนต.ค. 62 มีข้อกำหนดเริ่มก่อสร้างช่วงต.ค. 63 (12 เดือนหลังเซ็นสัญญา) และเปิดบริการช่วงปลายปี 2568

ประเด็นมันอยู่ที่ว่า..มาถึงวันนี้ดูเหมือนยังไม่เริ่มวอร์มอัพกันเลย..และไม่รู้ว่าจะเริ่มจากจุดไหนก่อน งานนี้จะอ้างเหตุเรื่องโควิด-19 หรือการส่งมอบพื้นที่แนวก่อสร้าง ก็อาจดูไม่สมเหตุสมผลมากนัก จึงน่าสนใจว่าหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างกระทรวงคมนาคมจะว่ายังไง..!!

เพราะหาก “สนามบินอู่ตะเภาเริ่มขยับ..แต่รถไฟเชื่อม 3 สนามบินไม่เขยื้อน” มันจะบิดเบือนนโยบายและเจตนา รมณ์รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เอาได้นะ..!!??

Back to top button