เศรษฐกิจไทย Nike Shaped จริง.?

หนึ่งประโยคสำคัญที่ “วิรไท สันติประภพ” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พูดถึงในงานสัมมนาวิชาการ “ชวนคุยชวนคิด ปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่นในโลกใหม่อย่างยั่งยืน” ภายใต้หัวข้อ “ก้าวต่อไปทิศทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิดภิวัฒน์” นั่นคือเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/63 ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และลักษณะการฟื้นตัวจะเป็นไปแบบเครื่องหมายถูกหางยาว (Nike Shaped) ภายในปี 2564


พลวัตปี 2020 : สุภชัย ปกป้อง

หนึ่งประโยคสำคัญที่ “วิรไท สันติประภพ” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พูดถึงในงานสัมมนาวิชาการ “ชวนคุยชวนคิด ปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่นในโลกใหม่อย่างยั่งยืน” ภายใต้หัวข้อ “ก้าวต่อไปทิศทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิดภิวัฒน์” นั่นคือเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/63 ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และลักษณะการฟื้นตัวจะเป็นไปแบบเครื่องหมายถูกหางยาว (Nike Shaped) ภายในปี 2564

จึงมีข้อถกเถียงและวิพากษ์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะเป็นไปลักษณะ Nike Shaped ได้จริงหรือ ไม่เพราะวิกฤติการแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่เหมือนวิกฤติที่เคยเกิดในอดีต รัฐบาลหลายประเทศมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหญ่ (Great Lockdown) ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงักพร้อมกัน กิจกรรมการผลิตหยุดชะงัก รายได้และกำลังซื้อหดตัวรุนแรง จนเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจทั่วโลก

ที่สำคัญวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดขึ้นถูกนิยามกันว่า “วิกฤติคู่” นั่นคือทั้งอุปทานและอุปสงค์พร้อมกัน (Twin supply-demand shocks) ทำโอกาสฟื้นตัวแบบ Nike Shaped ตามที่ผู้ว่าฯ ธปท.พูดถึงจึงดูไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ในเชิงทฤษฎีรูปแบบการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกหลังโควิด-19 มีการประเมินกันไว้ 5 รูปแบบ (The 5 Shapes of Economic Recovery)

-แบบ V-Shape หรือ “ลงเร็ว ฟื้นเร็ว” กล่าวคือ เศรษฐกิจโลกจะลงดิ่งต่ำสุดไตรมาส 2/63 หลังมาตรการล็อกดาวน์เข้มข้นและเศรษฐกิจจะฟื้นตัวหลังจากนั้นทันที แต่มีความเป็นไปได้ยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย.!

-แบบ Swoosh, Tick or Italicized V-Shape หรือ “ไถลลงเร็วค่อย ๆ ฟื้นตัว” หรือแบบ Nike Shaped นั่นเอง กล่าวคือ เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบรุนแรงไถลลงลึก อยู่ที่ก้นเหวช่วงสั้น ๆ จากนั้นค่อย ๆ ฟื้นตัว ตามการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ของแต่ละประเทศ

แบบ U-Shape หรือ “หดตัวนาน ฟื้นตัวช้า” กล่าวคือคล้ายคลึงรูปแบบ Nike Shaped แต่ต่างกันตรงที่ระยะเวลาของผลกระทบนานกว่า ทำให้ใช้เวลาฟื้นตัวนาน เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยว ยังไม่กลับมาฟื้นตัวช่วงปีนี้ และต้องใช้เวลาอีกนาน

แบบ W-Shape หรือ “ฟื้นเร็ว ดิ่งลงรอบสอง” กล่าวคือความเสี่ยงการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ อาจทำให้ภาค รัฐต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้งปัจจัยสำคัญคือการผ่อนคลายมาตรการเร็วเกินไป อาจทำให้ฟื้นตัวเร็วแต่ในทางกลับกันทำให้เกิดการหดตัวเร็วได้เช่นกัน หากสถานการณ์แพร่ระบาดกลับมาอีกครั้ง

แบบ L-Shape หรือ “หดตัวยาวนาน ไร้สัญญาณการฟื้นตัว” กล่าวคือเป็นแบบกรณีเลวร้ายสุดมีโอกาสเกิดขึ้นกรณีที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือวิกฤติการเงิน (Global Financial Crisis : GFC) ช่วงก่อนปี 2551-2552 ต้องใช้เวลาเฉลี่ย 4 ปี กว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาสู่ระดับเดิม เช่นเดียวกับ Great Depression ที่ใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า 10 ปี

จึงเป็นที่น่าใจว่าหลังวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ เศรษฐกิจโลกต้องใช้เวลาการฟื้นตัวยาวนานเท่าไหร่ หรือจะฟื้นตัวแบบใด เพราะวิกฤติครั้งนี้ไม่เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต จึงไม่มีกรณีตัวอย่างให้เทียบเคียงได้อย่างชัดเจน

Back to top button