DTAC กลเกม 5G
หลังออกตัวแรง!ว่า คลื่นความถี่ 2600 MHz ไม่เหมาะที่จะนำมาพัฒนา 5G จนเป็นเงื่อนไขที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ไม่ร่วมประมูลคลื่น 2600 MHz เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา และขอร่วมประมูลคลื่นความถี่ 3500 MHz แทน เพราะเห็นว่ามีความเหมาะสมกว่าคลื่น 2600 MHz นั่นเอง..!!
สำนักข่าวรัชดา
หลังออกตัวแรง!ว่า คลื่นความถี่ 2600 MHz ไม่เหมาะที่จะนำมาพัฒนา 5G จนเป็นเงื่อนไขที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ไม่ร่วมประมูลคลื่น 2600 MHz เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา และขอร่วมประมูลคลื่นความถี่ 3500 MHz แทน เพราะเห็นว่ามีความเหมาะสมกว่าคลื่น 2600 MHz นั่นเอง..!!
ล่าสุด..มีรายงานว่า DTAC พยายามกระตุ้นให้รัฐบาล เร่งแผนประมูลคลื่นความถี่ 3500 MHz พร้อมกำหนดให้ใช้คลื่น 3500 MHz เป็นคลื่นหลัก 5G เพื่อใช้งานร่วมกับอีโคซิสเต็มส์ของทั้งโลก มิเช่นนั้นแล้วอาจทำให้ประเทศไทยล่าช้าจนเสียหายได้..!!
แถมระบุอีกว่า ประเทศไทยจะสามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย 5G บนคลื่นความถี่ 3500 MHz ได้ชัวร์ ๆ ๆ ๆ เพราะประเทศทั่วโลกใช้กันกว่า 70% แล้ว
ยิ่งกว่านั้น DTAC เกทับว่าการให้บริการ 5G บนคลื่นความถี่ 2600 MHz ที่ผู้ให้บริการมือถือค่ายอื่น ๆ ให้บริการอยู่ขณะนี้ไม่ต่างอะไรกับ “รถไฟที่ใช้รางกว้างแค่ 1 เมตร” ถือว่าไม่ใช่ของจริง..ไม่คุ้มค่า..จึงต้องการจะลงทุน 5G คลื่นความถี่ 3500 MHz ที่ถือว่าเป็น 5G ของจริงและคุ้มค่าต่อการลงทุน
แต่ไม่รู้ว่ากลืนน้ำลายตัวเองหรือไม่..ล่าสุดเห็นว่า DTAC แอบดอดเจรจากับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อขอทดลองให้บริการ 5G บนคลื่นความถี่ 2300 MHz ทั้งที่ DTAC ลงนามสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมและสัญญาการใช้บริการฯ ระบบ 2300 MHz เพื่อเปิดให้บริการ 4G (เท่านั้น) บนคลื่นความถี่ 2300 MHz ขนาด 60 MHz ช่วงปลายเดือน เม.ย. 2561
จึงเป็นที่น่าแปลกใจว่า DTAC ยืนยันมาตลอดว่า 5G ต้องคลื่นความถี่ 3500 MHz เท่านั้น แต่การเจรจาทีโอทีเพื่อขอทดลองให้บริการ 5G กำลังบอกเป็นนัยว่า หากให้บริการ 5G บนคลื่น 2300 MHz ไปได้สวย..จะได้เปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าคลื่นจาก 4G ไปเป็น 5G ซะเลย..ใช่หรือไม่..!?
“ไม่ต้องจ่ายค่าไลเซนส์-ไม่ต้องเสียเงินประมูลคลื่นความถี่ 3500 MHz” สบายใจ..เบาตัวกันไปเลยทีเดียว..ส่วนคลื่นความถี่ 26 GHz ที่อุตส่าห์ประมูลได้มาเพียง 910.4 ล้านบาท ก็คงทำไปในเชิงสัญลักษณ์งั้น ๆ เอง..??
เหตุผลหลักที่ DTAC ต้องขออัพเกรดคลื่น 2300 MHz ไปให้บริการ 5G ก็ด้วยตัวเองไม่มีคลื่นสำหรับให้บริการ 5G ส่วนคลื่นความถี่ 26 GHz คงไม่เพียงพอ..ที่สำคัญ คู่แข่งอย่าง AIS กับ TRUE (ที่ยอมจ่ายไลเซนส์คลื่นเพื่อทำ 5G รวมกันกว่า 6 หมื่นล้านบาท) เริ่มเปิดให้บริการ 5G บนคลื่นความถี่ 2600 MHz ไปแล้ว
ทำให้ DTAC จึงต้อง “เปลี่ยนเกม” ขออัพเกรด 5G เพื่อให้ทันต่อเกมการแข่งขันจากคู่แข่งได้ เพราะคงรู้ตัวดีว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3500 MHz คงไม่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ช่วงเร็ววันนี้แน่..!?
นี่แหละ..ที่เขาเรียกว่า “เสียน้อยเสียยาก..เสียมากเสียง่าย ๆ ” ไงล่ะ..!??
…อิ อิ อิ…