กสทช. สุญญากาศ..เสียโอกาส
ช่วง “เศรษฐกิจไทย” ต้องเผชิญวิกฤติ ภาคธุรกิจ บริการและการท่องเที่ยว ไร้วี่แววจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ ความคาดหวังเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเรียกความเชื่อมั่นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ต้องหยุดชะงักลงไป เมื่อ “ปรีดี ดาวฉาย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ยื่นใบลาออก ทั้งที่นั่งเก้าอี้รมว.คลังได้ไม่ถึงเดือน
สำนักข่าวรัชดา
ช่วง “เศรษฐกิจไทย” ต้องเผชิญวิกฤติ ภาคธุรกิจ บริการและการท่องเที่ยว ไร้วี่แววจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ ความคาดหวังเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเรียกความเชื่อมั่นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ต้องหยุดชะงักลงไป เมื่อ “ปรีดี ดาวฉาย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ยื่นใบลาออก ทั้งที่นั่งเก้าอี้รมว.คลังได้ไม่ถึงเดือน
จากวันนั้น..ถึงวันนี้ “ขุนคลังคนใหม่” ..ยังไร้วี่แวว..ยิ่งตอกย้ำดำดิ่งนโยบายเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น.!
ไม่เพียงแค่นั้น ปัญหา “ชักหน้าไม่ถึงหลัง..คลังถังแตก” ซ้ำเติมเข้ามาอีก จนรัฐบาลต้องไฟเขียวให้กระทรวงการคลังออกพันธบัตรกู้เงินเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2563 อีก 2.14 แสนล้านบาท จากเงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2563 จำนวน 4.69 แสนล้านบาท ที่เต็มเพดาน นั่นหมายถึงความเสี่ยงเพดานหนี้สาธารณะสู่ระดับ 60%
แม้ผู้ว่าแบงก์ชาติ “วิรไท สันติประภพ” จะออกระบุว่าไม่อยากให้ยึดติดเกณฑ์ที่ใช้ในภาวะเศรษฐกิจปกติ เช่น การก่อหนี้ต้องไม่เกิน 60% ของจีดีพี เหตุเพราะขณะนี้เศรษฐกิจหดตัวทั่วโลก จึงต้องทบทวนตามสถานการณ์ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่ระดับ 60% จึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลมากนัก
จุดที่น่าสนใจคือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ถือว่ามีบทบาทสูงในการดูดซับเม็ดเงินจากระบบอย่างมีนัยสำคัญ ผ่านธุรกรรมการซื้อขายสินค้าและบริการบนโลกดิจิทัลออนไลน์เพิ่มขึ้น อาทิเช่น Grab Food, Lineman, Kerry ในรูปแพลตฟอร์ม FB, Line, Google และตลาดการค้าออนไลน์ e-Commerce อย่าง Lazada หรือ Alibaba ที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี
ที่สำคัญภาคธุรกิจต่าง ๆ เล็งเห็นและให้ความความสำคัญของเทคโนโลยีมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการเงินและบริการการเงิน เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบไปคราวเดียวกันเช่นกัน
แต่ปัญหาของไทยอยู่ที่การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากกรณีดังกล่าว ด้วยความที่แพลตฟอร์มบริการบนโลกออนไลน์ (Over the Top : OTT) ยังมีความล้าหลัง ไม่สามารถจะรองรับการเติบโตของธุรกรรมออนไลน์เหล่านี้ได้
ทำให้เม็ดเงินจากระบบเศรษฐกิจไทยจึงถูกดูดซับออกสู่ต่างประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่มีเจ้าของเป็นต่างชาติ จนสูญเสียโอกาส ทั้งที่ประเทศไทยเริ่มเปิดให้บริการระบบ 5G เป็นลำดับต้น ๆ ของภูมิภาคนี้เลยก็ว่าได้..!!!
โจทย์ใหญ่อยู่ที่ความชัดเจนของหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หนีไม่พ้นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่แม้ว่าจะเป็นผู้ทำคลอดคลื่นความถี่เพื่อให้บริการระบบ 5G ก็ตาม
แต่กระบวนการสรรหากสทช.ชุดใหม่ ถูกแช่แข็งมากว่า 2 ปี ทำให้เกิด “สุญญากาศ” ในการต่อยอดการสนับสนุนให้การให้บริการ OTT อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป
นั่นจึงทำให้ “เสียโอกาส” หยิบฉวยเม็ดเงินจากระบบเศรษฐกิจไปอย่างน่าเสียดาย..!!
…อิ อิ อิ…