5G แข่งเดือดบนทางโค้งโควิด

ปลายปี 2562 แวดวงโทรศัพท์เคลื่อนที่ เกมช่วงชิงความเป็นหนึ่งในการให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์เจ้าแรกของไทย เห็นได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 2600 MHz ที่ค่ายมือถือต่างร่วมเข้าแย่งชิงใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ เพื่อนำมาให้เปิดบริการ 5G จนทำให้การประมูล 5G ช่วงกลางก.พ. 63 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี


พลวัตปี 2020 : สุภชัย ปกป้อง

ปลายปี 2562 แวดวงโทรศัพท์เคลื่อนที่ เกมช่วงชิงความเป็นหนึ่งในการให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์เจ้าแรกของไทย เห็นได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 2600 MHz ที่ค่ายมือถือต่างร่วมเข้าแย่งชิงใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ เพื่อนำมาให้เปิดบริการ 5G จนทำให้การประมูล 5G ช่วงกลางก.พ. 63 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

แต่การเข้ามาของไวรัสโควิด-19 ทำให้กระแสการตื่นตูม 5G ต้องแผ่วลงทันที จนหลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงว่าแผนการให้บริการ 5G อาจไม่บรรลุตามแผนที่วางไว้.!!

ทว่าเมื่อ “สมชัย เลิศสุทธิวงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC ออกมาประกาศความเป็นผู้นำเครือข่าย 5G ชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทยที่มีคลื่นมากสุด พร้อมวางเครือข่าย 5G SA หรือแบบ Stand Alone ครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นเจ้าแรกไปแล้ว เมื่อช่วงกลางเดือนส.ค. 63 ที่ผ่านมา

ถือเป็นการตอกย้ำความสำเร็จการเปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์เป็นรายแรกของภูมิภาค และ ตอบรับการฉลองครบรอบ 30 ปีของการสื่อสารใต้ฟ้าเดียวกันของ AIS ที่จะเปิดให้บริการมือถือครบ 30 ปีเต็ม วันที่ 1 ต.ค. 63 นี้ โดยไม่เคยมีคำว่า Shut down แม้แต่วันเดียว

หลังเดินหน้าขยายเครือข่าย 5G ครบ 77 จังหวัด และครอบคลุมเต็มพื้นที่ 100% นิคมอุตสาหกรรมใน EEC แล้วAIS มีการสานต่อภารกิจฟื้นฟูประเทศ ด้วยการขยายพื้นที่ให้บริการเครือข่าย 5G SA (Stand Alone) ครบทั้ง 77 จังหวัด ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างสำคัญของการต่อยอดนวัตกรรมเครือข่าย AIS 5G ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อภาคอุตสาหกรรมไทย

เนื่องจากการพัฒนานวัตกรรมเครือข่าย 5G จำเป็นต้องอาศัยคุณสมบัติของ 5G SA โดยเฉพาะ ด้วยประสิทธิภาพการใช้งานทั้งด้านความเร็ว ความหน่วงต่ำ และการเชื่อมต่อเทคโนโลยี IoT จำนวนมาก

ขณะที่ค่ายทรูมูฟ หรือ True 5G แม้มีการจัดงานเปิดตัวโอเปอเรเตอร์รายเดียวในไทย ที่มีคลื่นความถี่ครบทั้ง 7 ย่านความถี่ทั้งโลว์แบนด์บนคลื่น 700 MHz, 850 MHz และ 900 MHz คลื่น Mid Band 2600 MHz  และ High Band 26 GHz ที่สามารถรองรับการให้บริการ 5G SA ครอบคลุมทุกบริการที่เป็น 5G โดยไม่จำเป็นต้องทำโรมมิ่งกับเครือข่าย 4G เดิม

แต่การโหมโรมประชาสัมพันธ์ 5G SA เพื่อช่วงชิงความเป็นที่หนึ่ง กลับแผ่วลงไป ทั้งที่ตลาดสื่อสารเปิดกว้างให้ทำได้เต็มที่ จนถูกตั้งคำถามขึ้นอย่างแพร่หลายว่า..ปัญหามันอยู่ตรงไหนและเกิดอะไรขึ้นแน่..!?

นัยสำคัญ..ปัญหาไม่ได้เกิดจากข้อจำกัดเรื่องตลาดสื่อสาร แต่อยู่ที่เรื่องการลงทุน เนื่องจากก่อนหน้านี้แต่ละค่ายมือถือต้องเร่งจัดเงินลงทุนเพื่อเข้าประมูลคลื่น 5G โดยเฉพาะ TRUE ที่ทุกฝ่ายต่างรู้กันอยู่ว่า มีตัวเลขหนี้สินค่อนข้างเต็มเพดานการก่อหนี้หรือก่อหนี้เพิ่มได้อย่างจำกัด

แต่ด้วยเงื่อนไขเกมการตลาด ที่ต้องแย่งชิงความเป็นหนึ่ง จึงต้องดิ้นรนทุกวิถีทาง ในการระดมทุนรูปแบบต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่การลงทุน เพื่ออย่างน้อยเป็นการสร้าง “ฐานที่มั่นคลื่นความถี่” แม้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างจำกัด แต่อย่างน้อยต้องต่อยอดลูกค้าเดิมให้ได้..!!

เอาเป็นมหาวิกฤตที่มาพร้อมกับโควิด-19 ครั้งนี้ อย่างน้อย 2 ค่ายมือถือ AIS-TRUE ช่วยรักษาหน้าและทำให้ประ เทศไทยได้ชื่อว่า “เปิดให้บริการ 5 จีในเชิงพาณิชย์ได้เป็นประเทศแรก ๆ ของโลก ทำให้ไทยไม่ตกขบวน 5G เหมือนบทเรียนที่เกิดกับกรณี 3G และ 4G มาแล้ว

อย่างไรก็ดีการประมูลคลื่น 5G ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี มิเช่นนั้นแทนที่จะเป็นผู้นำ..กลับกลายเป็นตกขบวนไปอย่างน่าเสียดาย…!!!

Back to top button