‘สายการบิน’ ยังไม่พ้นขีดอันตราย

อุตสาหกรรมสายการบินยังไม่พ้นขีดอันตราย การคาดการณ์ของไออาต้าที่บอกว่าการจราจรน่าจะกลับไปสู่ระดับปี 62 ได้ในปี 67 นั้นน่าจะยังอาจจะเป็นการมองในแง่ดีเกินไป


รายงานพิเศษ

แม้ว่าความช่วยเหลือจากรัฐบาลสามารถยับยั้งไม่ให้สายการบินล้มละลายได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินและผู้บริหารของสายการบินหลายแห่งได้ออกมาเตือนอย่างหนาหูมากขึ้นว่า อาจมีสายการบินล้มอีกในเร็ว ๆ นี้ และอุตสาหกรรมสายการบินยังไม่ถึงจุดเลวร้ายสุด

ข้อมูลจากซีเรียม ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว ชี้ว่า สายการบินเชิงพาณิชย์ 43 แห่งได้ล้มไปแล้วนับตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ เทียบกับที่มีจำนวน 46 สายการบินในปี 2562 ทั้งปี และมี 56 สายการบินในปี 2561

ตามนิยามของซีเรียม สายการบินที่ล้มนั้นหมายถึงสายการบินที่ได้หยุดการทำงานโดยสิ้นเชิงหรือระงับการดำเนินงานชั่วคราว

เบรนเดน ซอบี้ นักวิเคราะห์อิสระ บริษัท ซอบี เอเวียชั่น กล่าวว่า หากไม่มีการสนับสนุนและการอุดหนุนจากรัฐบาลจะมีการล้มละลายของสายการบินเป็นจำนวนมากในช่วง 6 เดือนแรกที่เกิดวิกฤติ สายการบินจำนวนมากมีปัญหาอยู่แล้วก่อนเกิดการระบาด ในขณะนี้โอกาสที่จะอยู่รอดได้อยู่ที่ความช่วยเหลือของรัฐบาล

อย่างไรก็ดี ร็อบ มอร์ริส หัวหน้าที่ปรึกษาทั่วโลกของซีเรียม กล่าวว่า แม้มีความช่วยเหลือทางการเงิน แนวโน้มในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ สายการบินจำนวนมากมักล้มในช่วงสองสามเดือนสุดท้ายของปี และไตรมาสหนึ่งและไตรมาสสี่เป็นไตรมาสที่หนักสุดสำหรับสายการบิน เพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากไตรมาสสองและไตรมาสสาม

สายการบินมักใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนตุนเงินเอาไว้เพื่อที่จะสามารถอยู่รอดได้ในช่วงฤดูหนาว แต่เป้าหมายหลักของสายการบินในขณะนี้คือ “การอยู่รอด” ให้ได้ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม และกำลังมองกันว่าฤดูร้อนปีหน้าจะนำทางออกมาให้หรือมีดีมานด์สูงขึ้นได้หรือไม่

เนื่องจากดีมานด์ในภูมิภาคส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้นตัว และสายการบินยังต้องกระเสือกกระสนกับการสร้างรายได้และกระแสเงินสด จึงคาดว่าจะเห็นสายการบินล้มมากขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้และในช่วงแรกของปีหน้าเป็นอย่างน้อย

การคาดการณ์เช่นนั้นไม่ได้เกินเลยจากความเป็นจริงสักเท่าไหร่ เนื่องจากในขณะนี้รัฐบาลต่าง ๆ เริ่มไม่เต็มใจที่จะให้ความช่วยเหลือสายการบินเป็นรอบที่สองเพราะว่ายังมีอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่กำลังลำบากอยู่เช่นกัน ตัวอย่างเช่นในสหรัฐ จนถึงขณะนี้คณะบริหารยังไม่สามารถตกลงกับสภาคองเกรสที่จะอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มได้ ซึ่งรวมถึงแผนการช่วยเหลือสายการบินรอบที่สองได้ หลังจากที่รอบแรกได้หมดอายุไปแล้วเมื่อต้นเดือนนี้

ข้อมูลของซีเรียมชี้ว่า สายการบิน 43 แห่งที่ล้มในปีนี้ มี 20 แห่งที่เป็นสายการบินที่มีเครื่องบินอย่างน้อย 10 ลำ เทียบกับที่ล้มละลายเพียง 12 แห่งในปี 2562 ทั้งปี และมีการล้มละลาย 10 แห่งตลอดปี 2561

ยังมีข้อมูลที่ชี้อีกว่า จำนวนสายการบินที่ล้มนั้น มีเครื่องบินตั้งแต่สิบลำขึ้นไป ซึ่งมากกว่าในช่วงหกปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาในครั้งนี้ กำลังส่งผลกระทบต่อสายการบินขนาดใหญ่ และผลที่ตามมาคือการมีเครื่องบินจำนวนมากกว่าได้ยับยั้งการดำเนินงานเช่นกัน โดยจนถึงขณะนี้มีเครื่องบินที่จอดอยู่เฉย ๆ ถึง 485 ลำ เทียบกับที่มี 431 ลำในปี 2562 และ 406 ลำในปี 2561

สายการบินยังอาจจะล้มละลายเพราะโมเดลธุรกิจและปัญหาอื่น ๆ ในท้องถิ่น แต่การล้มขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในปี 2563 และที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นผลมาจากการสูญเสียดีมานด์ที่เกิดจากการระบาดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

หลังจากดีมานด์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องนานสิบปี จนส่งผลให้ฐานการจราจรทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงเวลานั้น วิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันนี้ ได้ทำให้สายการบินไม่มีรายได้และมีต้นทุนเชิงโครงสร้างสูง

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาต้า) ได้เตือนในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าอุตสาหกรรมสายการบินจะขาดทุน 77,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และจะยังคงมีเลือดไหลต่อประมาณ 5,000 หรือ 6,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนในปีหน้าเพราะมีการฟื้นตัวช้า

ก่อนหน้านั้นในเดือนกรกฎาคม ไออาต้า คาดการณ์ว่า การจราจรของผู้โดยสารน่าจะกลับไปสู่ระดับปี 2562 ได้ ก็ต่อเมื่อปี 2567 เท่านั้น

พัฒนาการล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่าสายการบินกำลังย่ำแย่สุด คือ อีซี่เจ็ตออกมาเตือนว่า น่าจะขาดทุนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 25 ปี โดยคาดว่าจะขาดทุนก่อนหักภาษีในปีการเงินล่าสุด ระหว่าง 815-845 ล้านปอนด์ ซึ่งมากกว่า 794 ล้านปอนด์ที่นักวิเคราะห์ได้คาดไว้ นอกจากนี้อีซี่เจ็ตจะทำการบินเพียงแค่ 25% ของขีดความสามารถตามปกติไปจนถึงปีหน้า และมีรายงานว่า อีซี่เจ็ตได้ส่งสัญญาณแก่รัฐบาลอังกฤษแล้ว ว่าอาจต้องการการสนับสนุนทางการเงินอีก

แม้ว่าอีซี่เจ็ตได้รับเงินกู้จากรัฐบาลอังกฤษแล้ว 600 ล้านดอลลาร์ และได้ลดต้นทุนอย่างรุนแรง โดยได้ลดพนักงานไปถึง 4,500 คน ทำเงินจากการขายเครื่องบินได้ 608 ล้านปอนด์ และได้ระดมทุนจากผู้ถือหุ้นอีก 419 ล้านปอนด์ แต่สายการบินก็ยังกล่าวว่าจะต้องทบทวนสภาพคล่องอย่างต่อเนื่องและจะประเมินโอกาสในการระดมทุนต่อไป รวมถึงการขายและการเช่าเครื่องบินหากมีความจำเป็นเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องมาลุ้นกันอีกครั้งในวันที่ 17 พ.ย. เมื่ออีซี่เจ็ตรายงานผลประกอบการไตรมาสเดือนกันยายน

ก่อนหน้านี้ แอร์เอเชียก็ได้ประกาศปิดกิจการในญี่ปุ่นไปแล้วตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา และมีรายงานว่ากำลังพิจารณาถอนตัวออกจากตลาดอินเดียอีกแห่ง เนื่องจากกำลังขาดทุนอย่างหนัก และไม่เคยทำกำไรเลยนับตั้งแต่ไปร่วมลงทุนกับกลุ่มทาทา ซันส์เมื่อปี 2557

กาต้าร์ แอร์เวย์ ก็ได้แถลงแล้วว่าขาดทุนเป็นประวัติการณ์ 1,900 ล้านดอลลาร์ในปีการเงิน 2562-2563 แต่ซีอีโอ อัคบาร์ อัล เบเคอร์ ได้เตือนว่าในอนาคตจะขาดทุนมากกว่านี้ และกล่าวว่าอุตสาหกรรมสายการบินยังไม่ถึงจุดเลวร้ายสุด จะต้องมีการให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ ในยุโรป และจะมีการล้มละลายอื่น ๆ ทั่วโลกอีก เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาในระลอกที่สองจะยิ่งรุนแรงกว่าระลอกแรก

อเมริกัน แอร์ ก็ประกาศจะลดเที่ยวบินไปยังเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐเพิ่มอีก หากรัฐบาลไม่ให้ความช่วยเหลือรอบสอง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้วางแผนที่จะปลดพนักงานราว 30,000 คน

รายงานของเอสแอนด์พี โกลบัลชี้ว่า ในขณะนี้ไม่มีใครคาดการณ์ว่าการเดินทางจะกลับมาเป็นปกติในเร็ว ๆ นี้ และคาดว่าดีมานด์การเดินทางทั้งหมดจะลดลง 70% ในปีนี้

การคาดการณ์ของไออาต้าที่บอกว่าการจราจรน่าจะกลับไปสู่ระดับปี 2562 ได้ในปี 2567 นั้นก็น่าจะยังอาจจะเป็นการมองในแง่ดีเกินไป อุตสาหกรรมสายการบินยังไม่พ้นขีดอันตราย น่าจะได้ยินข่าวร้ายอีกหลาย

Back to top button