ตลาดต้องการความชัดเจน พลวัต2015

การประชุมของคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดฯ ได้ดำเนินไปแล้ว พร้อมกับความไม่แน่นอนยังคงดำรงอยู่เป็นโค้งสุดท้าย พรุ่งนี้เช้า (ตามเวลาประเทศไทย) ก็จะรู้ผลกันแล้วว่า เฟดฯจะตัดสินใจอย่างไร


การประชุมของคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดฯ ได้ดำเนินไปแล้ว พร้อมกับความไม่แน่นอนยังคงดำรงอยู่เป็นโค้งสุดท้าย พรุ่งนี้เช้า (ตามเวลาประเทศไทย) ก็จะรู้ผลกันแล้วว่า เฟดฯจะตัดสินใจอย่างไร

ช่วงเวลาของความไม่แน่นอนที่ดำเนินอยู่นี้ ทำให้การเคลื่อนตัวของตลาดเงิน ตลาดทุน อัตราดอกเบี้ย และค่าเงินทั่วโลก ล้วนเป็นมายาภาพทั้งสิ้น ของจริงต้องรอผลการประชุมเฟดฯเสียก่อน

โค้งสุดท้ายนี้ ฉันทามติของคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินและตลาดทุนยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งมองอีกมุมหนึ่ง คือเจตนาที่จะ “สับขาหลอก” ของเฟดฯธรรมดาเท่านั้นเอง เพราะโดยข้อเท็จจริง เฟดฯได้ส่งสัญญาณล่วงหน้ามานานหลายเดือนแล้ว เพียงแต่จะยังไม่ตัดสินใจเรื่องเวลาเท่านั้น

ข้อเท็จจริงนี้ จึงไม่แปลกใจอะไรที่เมื่อวานนี้ แถลงการณ์ประจำเดือนขององคการความรวมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development) เป็นที่รูจักกันทั่วไปในชื่อ OECD ซึ่งเปนองคการความรวมมือระหว่าง ประเทศ ได้ออกท่าทีมาว่า สนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟดฯ) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 16-17 ก.ย.นี้ให้รู้แล้วรู้รอดกันไปเลยทีเดียว  แทนที่จะชะลอเวลาออกไปเป็นปลายปีนี้

เหตุผลของ OECD คือ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ จะช่วยขจัดความไม่แน่นอนออกไปจากตลาด เพราะความไม่แน่นอนคือศัตรูร้ายของตลาดเงินและตลาดทุน

คำอธิบายของ OECD เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะเป็นที่รับรู้กันว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่มีทั้งบวกและลบ ยามนี้ แท้จริงแล้วมีข้อมูลหลักเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นเองที่จะชี้ขาดได้ไม่ยากว่าควรขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่

ที่สำคัญ ทุกคนที่ช่ำชองประสบการณ์รู้ดีว่า ยุคสมัยของสงครามค่าเงินที่ธนาคารกลางแต่ละชาติพยายามทำให้ค่าเงินของตนเองอ่อนลง ซึ่งเคยเป็นที่วิตกกังวลและตั้งวงถกกันใหญ่โตเมื่อหลายปีก่อน จะเริ่มสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อ เฟดฯตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย หรือ เฟด ฟันด์ เรต ในทันที ส่วนผลกระทบข้างเคียงนั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้นเลี่ยงไม่พ้น ไม่ว่าจะกระทำในเวลาไหน

เหตุผลที่การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดฯ ทำให้เกิดการยุติสงครามค่าเงิน เป็นเพราะว่า เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ของการจัดการกับทุนและเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่ที่หมดยุคของอัตราดอกเบี้ยต่ำยาวนานกว่า 7 ปี

 สงครามค่าเงินเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากมาตรการกดค่าดอลลาร์สหรัฐอ่อนในยุคหลังวิกฤตซับไพรม์ และ เฟดฯเริ่มออกมาตรการ QE ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจนานถึง 5 ปี เมื่อรากฐานของสงครามค่าเงินจบสิ้นลงเพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะปกติจนไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับ เป้าหมายเงินเฟ้อแทน

หลังวิกฤตซับไพรม์ หน่วยงานรัฐของสหรัฐฯ โดยเฉพาะเฟดฯจำต้องงัดเอามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศโดยอัดฉีดเงินจำนวนมากลงในระบบเศรษฐกิจ  ด้วยนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำติดพื้น ผสมกับ การพิมพ์ธนบัตรออกมาเดือนละ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐยาวนาน ผลลัพธ์คือ ปริมาณเงินที่ท่วมตลาด ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง

ผลข้างเคียงยามนั้น สามารถแก้ปัญหาขาดดุลการค้า และทำให้เงินทุนในรูปของดอลลาร์สหรัฐไหลบ่าออกจากระบบ ไปค้นหาแหล่งลงทุนที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่านอกสหรัฐฯ ที่เรียกว่า แคร์รี่ เทรด โดยผ่านกลไกตลาดอัตราแลกเปลี่ยน หรือ ตลาดปริวรรตเงินตรา ซึ่งเชื่อมโยงกันทั้งหมดทั่วโลก เป็นตลาดที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง

รวมความถึงตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ในชาติกำลังพัฒนา หรือ ตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก ที่ได้รับฟันด์โฟลว์ไหลเข้าจนดัชนีตลาดเป็นขาขึ้นยาวนาน

ผู้เล่นในตลาดดังกล่าวทุกกลุ่ม นับแต่ผู้ทำการค้าระหว่างประเทศ นักลงทุนในตลาดสินค้าและบริการ นักเก็งกำไรค่าเงิน เข้ามามีบทบาทโยงใยของโลกาภิวัตน์กันด้วยเงินหมุนเวียนประจำวันในตลาดซื้อขาย 5 ตลาด ประกอบด้วย 1) ธุรกรรมทางการเงินประมาณวันละ 1.005 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ  2) ตลาดป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า 1.714 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ  3) ตลาดล่วงหน้า  3.62 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ 4) ตลาดตราสารหนี้ และเงินกู้ระหว่างประเทศ ประมาณ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 5) ตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าประมาณวันละ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด้วยเหตุที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนโลกปัจจุบันคือระบบอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินแบบลอยตัว เพราะค่าของสกุลเงินต่างๆ ไม่ได้ถูกหนุนหลังด้วยโลหะมีค่าอย่างทองคำอีกต่อไป  เฟดฯรู้ดีจากประสบการณ์จากวิกฤตหลายครั้งในรอบหลายทศวรรษว่า ยามใดที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้มแข็ง การทำให้ค่าดอลลาร์แข็งค่าผ่านระบบอัตราดอกเบี้ย จึงเป็นความได้เปรียบที่ชาติอื่นไม่สามารถลอกเลียนได้ เป้าหมายหลักจึงขับเคลื่อนทำให้สหรัฐฯมีดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลชำระเงินเป็นบวกช่วงตลาดขาขึ้น

ผลลัพธ์ของการแข็งค่าดอลลาร์ที่คาดเดาล่วงหน้าได้เลยอยู่ที่ ปัญหาฟันด์โฟลว์ไหลออกจากชาติต่างๆ ไปยังสหรัฐฯ ด้วยการทิ้งสกุลเงินท้องถิ่นต่างๆ ไปถือครองดอลลาร์ในมือ ไม่ใช่เพื่อการลงทุนโดยตรง แต่เพื่อการเก็งกำไรจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้น

ผลข้างเคียงที่เลี่ยงไม่พ้นคือ ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์จะมีราคาตกต่ำลงเมื่อเทียบกับค่าดอลลาร์  ตลาดตราสารหนี้ที่จะปั่นป่วนเพราะบอนด์ยีลด์สูงขึ้น และตลาดหุ้นทั่วโลกจะต้องพลิกสถานการณ์เป็นขาลง รวมความถึงเศรษฐกิจของชาติต่างๆ จะทรุดฮวบรุนแรง

เฟดฯพูดมาหลายครั้ง แต่คนทั่วโลกเลือกจะไม่จำ นั่นคือ เฟดฯ หรือธนาคารกลางของสหรัฐ มีภารกิจปกป้องประโยชน์ของสหรัฐฯ ส่วนประโยชน์ของชาติอื่นๆ เป็นรองเสมอ

การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดฯที่จะเกิดขึ้นพรุ่งนี้เช้าเป็นต้นไป (แม้จะมีคนหลงเชื่อเกมสับขาหลอกอยู่ไม่น้อย ว่าอาจจะไม่ขึ้น) จึงไม่ใช่เรื่องประหลาด

Back to top button