ผลงาน ก.ล.ต. กับเกมล่าโจรใส่สูท
ในโอกาสที่ผ่านมาในช่วงปี 2558 ไปเรียบร้อยแล้ว “หนังสือข่าวหุ้น” ได้มีการรวบรวมและสรุปข้อมูลถึงภารกิจของ ก.ล.ต. ในการกำกับดูแลพฤติกรรมทางถือว่าเป็นการกระทำผิดในตลาดทุน
เปิดผนึกผลงาน ก.ล.ต. กับเกมล่าโจรใส่สูท
เกมไล่ล่าจับกุมผู้กระทำความผิด แบบ “โปลิศจับขโมย” ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ดำเนินภารกิจ โดยสวมบทบาทเป็นผู้ตรวจสอบระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของบริษัทจดทะเบียน ผู้บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ มาร์เก็ตติ้ง หรือแม้กระทั่งตัวนักลงทุน เพื่อป้องปราบไม่ให้บุคคลอื่นนำไปเป็นเยี่ยงอย่าง โดยเฉพาะบทบาทของพวกโจรที่ใส่สูท
ในโอกาสที่ผ่านมาในช่วงปี 2558 ไปเรียบร้อยแล้ว “หนังสือข่าวหุ้น” ได้มีการรวบรวมและสรุปข้อมูลถึงภารกิจของ ก.ล.ต. ในการกำกับดูแลพฤติกรรมทางถือว่าเป็นการกระทำผิดในตลาดทุน
โดยมีข้อมูลในเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. นั้น พบว่าข้อมูลที่อยู่ในอำนาจของ ก.ล.ต. ในการกล่าวหาผู้กระทำความผิดนั้น ได้เพียงการเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน ซึ่งส่วนอื่นไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างการดำเนินการคดีอาญาตามกฎหมาย โดยส่วนนี้จะเป็นของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และอัยการ เพื่อเป็นไปตามทฤษฎีด้านอำนาจกันในกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย
ในส่วนของความเป็นจริง และในทางปฏิบัติที่ผ่านมามักปล่อยคนชั่วเดินเพ่นพ่าน เพราะเรื่องดังกล่าวมักจะจบลงอย่างเรียบๆ
สำหรับการเปรียบเทียบ โดย ก.ล.ต. ในช่วงที่ผ่านมาของปี 2558 กรณีการเปรียบเทียบปรับในส่วนของร่ายบุคคล มีผู้กระทำความผิดทั้งสิ้น จำนวน 33 ราย รวมเป็นเงินค่าปรับทั้งสิ้น 38,047,433.34 บาท
ทั้งนี้ โจรใส่สูทอยู่ค่อนข้างมากพอสมควร มีรูปแบบการทำผิดที่ถูกเปรียบเทียบปรับตามข้อมูล 1) ซื้อหุ้นผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่น โดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านบวกต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้น 2) จัดส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ในบริษัทที่ตนเป็นกรรมการ 3) จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด
4) ซื้อขายหุ้นบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้อื่น โดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้น 5) มิได้รายงานจำนวนการถือครองหุ้นภายหลังการได้มา 6) มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด 7) ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้นมีการซื้อหรือขายกันมาก ทำให้ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด
8) ซื้อหุ้นในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเองในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก9) บอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความใดในงบการเงิน 10) จัดทำและนำส่งงบการเงินที่ถูกต้องล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด 11) จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วน
ในแง่ของบุคคลที่ถูกเปรียบเทียบเป็นค่าปรับหนักสุด คือ นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ เสียค่าปรับไปทั้งสิ้น 6,254,024 บาท โดยมีอยู่ 4 รายการ รายการแรกเสียค่าปรับไป 500,000 บาท กรณีในระหว่างวันที่ 23 เมษายน 2555 ถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ซื้อหุ้นบริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเอง ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านบวกอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น CMO ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน เกี่ยวกับผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ของ CMO ที่มีกำไรสุทธิ 67.14 ล้านบาท ซึ่งนายเสริมคุณล่วงรู้มาจากการเป็นกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CMO
รายการที่สองเสียค่าปรับไป 4,920,324 บาท กรณีในระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม 2555 ถึงวันที่ 13 กันยายน 2555 ซื้อหุ้นบริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่น ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านบวกอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น CMO ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน เกี่ยวกับการจ่ายปันผลระหว่างกาล ปี 2555 และการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของ CMO ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งนายเสริมคุณล่วงรู้มาจากการเป็นกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CMO
รายการที่สามเสียค่าปรับไป 626,700 บาท กรณีในระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2555 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 มิได้รายงานการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหุ้นบริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO ที่ถือผ่านบุคคลอื่นอันเป็นผลให้นายเสริมคุณถือหุ้น CMO ผ่านจุดทุกร้อยละ 5 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ตามแบบ 246-2 ต่อสำนักงานภายในระยะเวลาที่กำหนด จำนวนรวม 2 รายการ โดยเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 นายเสริมคุณได้รายงานตามแบบ 246-2 ต่อสำนักงาน
รายการที่สี่เสียค่าปรับไป 207,000 บาท กรณี ในระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2555 ถึงวันที่ 21 กันยายน 2555 มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด กรณีได้มาซึ่งหุ้น บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO ที่ถือผ่านบุคคลอื่น จนเป็นผลให้เป็นผู้ถือหลักทรัพย์ข้ามจุดร้อยละ 50 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวน 1 รายการ โดยต่อมาเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 นายเสริมคุณมีสัดส่วนการถือหุ้น CMO ต่ำกว่าจุดที่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ CMO
ส่วนบุคคลที่โดนเปรียบเทียบปรับรองลงมา คือ นายไพบูลย์ ทองระอาเสียค่าปรับไปทั้งสิ้น 6,028,563.75 บาท โดยมีอยู่ 1 รายการกรณีในระหว่างวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2556 ขายหุ้นบริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) หรือEMC) จำนวน 5,950,000 หุ้น และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญบริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) (EMC-W3) จำนวน 8,900,000 หน่วย
ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนางแพรวผกา สุวรรณโพธิ์ โดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านลบอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ EMC และ EMC-W3 ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน เกี่ยวกับผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ของบริษัท EMC ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 1,179.10 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีผลขาดทุนสุทธิ 30.80 ล้านบาท แต่นายไพบูลย์ล่วงรู้ข้อมูลดังกล่าวเนื่องจากเป็นกรรมการผู้จัดการ สายงานวิศวกรรมของบริษัท EMC โดยกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น
ส่วนกรณีของการซื้อขายหุ้นบริษัท ไทยง้วนเมทัล จำกัด (มหาชน) หรือ TYM ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เดอะ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ THE มีผู้กระทำความผิดมากถึง 9 ราย โดยโดนรายละ 1,718,816.18 บาท รวมเบ็ดเสร็จทั้งหมด 15,469,345.62 บาท โดยมี นางสาววัลยา วงศ์ภัทรกุล, นายบุญโชค สันทัดพานิช, นายบุญชัย จิระพงษ์ตระกูล, นายบุญ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์, นายพิชัย โกวิทคณิต, นางสาวลัคณา แซ่ลี้
นางสาวภัทรานุช หวังพรพระ, นายประสงค์ เกียรติกมลกุลและนางสาวดวงฤทัย วีระศิลปเลิศ โดนในกรณีซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้น TYM มีการซื้อหรือขายกันมาก และราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้นตาม
ตัวอย่างการเปรียบเทียบปรับ แม้จะยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าผลงานของ ก.ล.ต. ในช่วงที่ผ่านมาในปี 2558 ว่ามีความโดดเด่นมากน้อยขนาดไหน แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการที่ทำให้เกิดความโปร่งใสให้ผู้เกี่ยวข้องกับตลาดทุน
ภารกิจ “โปลิศจับขโมย” จับไม่มีวันจบสิ้นหากคนกระทำความผิดลอยนวล
…
ตารางรายชื่อบุคคลผู้ที่กระทำความผิดตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. และถูกเปรียบเทียบปรับในปี 2558
ลำดับที่ | วันที่ประชุมเปรียบเทียบ | ชื่อผู้รับการเปรียบเทียบ | หลักทรัพย์ | การกระทำความผิดโดยสังเขป | ค่าปรับ |
1 | 17/9/2558 | นายรัตนชัย ผาตินาวิน | ESTAR | – ซื้อหุ้นผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่น โดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านบวกอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น ESTAR ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน | 2,820,000.00 |
2 | 17/09/2558 | นายชัย โสภณพนิช | BLA | – จัดส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ในบริษัทที่ตนเองเป็นกรรมการตามแบบ 59-2 ต่อสำนักงานล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด รวม 1 กระทง |
225,000.00 |
3 | 17/09/2558 | รศ.ดร.วิไลลักษณ์ สกุลภักดี | PRO | – จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2557 (แบบ 56-1) ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด | 63,000.00 |
4 | 17/09/2558 | รศ.ดร.วิไลลักษณ์ สกุลภักดี | PRO | – จัดทำและนำส่งงบการเงินประจำรอบปีบัญชี 2557 ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด | 49,200.00 |
5 | 17/09/2558 | รศ.ดร.วิไลลักษณ์ สกุลภักดี | PRO | – จัดทำและนำส่งรายงานประจำปี 2557 (แบบ 56-2) ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด | 72,000.00 |
6 | 17/09/2558 | นายสุรพล รุจิกาญจนา | DIMET | – จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2557 (แบบ 56-1) ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด |
30,900.00 |
7 | 20/08/2558 | นายไพบูลย์ ทองระอา | EMC | – ขายหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญบริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) (EMC-W3) ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านลบอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ EMC และ EMC-W3 ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน | 6,028,563.75 |
8 | 24/07/2558 | นายภัทรภพ อิทธิสัญญากร | KC | – มิได้รายงานจำนวนการถือครองหุ้นภายหลังการได้มาดังกล่าวที่ครบถ้วนถูกต้อง ตามแบบ 246-2 ต่อสำนักงานภายใน 3 วันทำการตามที่ประกาศกำหนด | 228,500.00 |
9 | 24/07/2558 | นายภัทรภพ อิทธิสัญญากร | KC | – มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด | 585,000.00 |
10 | 11/06/2558 | นางสาววัลยา วงศ์ภัทรกุล | THE | – ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้น มีการซื้อหรือขายกันมาก และราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้นตาม | 1,718,816.18 |
11 | 11/06/2558 | นายบุญโชค สันทัดพานิช | THE | – ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้น TYM มีการซื้อหรือขายกันมาก และราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้นตาม | 1,718,816.18 |
12 | 11/06/2558 | นายบุญชัย จิระพงษ์ตระกูล | THE | – ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้น TYM มีการซื้อหรือขายกันมาก และราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้นตาม | 1,718,816.18 |
13 | 11/06/2558 | นายบุญ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ | THE | – ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้น TYM มีการซื้อหรือขายกันมาก และราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้นตาม | 1,718,816.18 |
14 | 11/06/2558 | นายพิชัย โกวิทคณิต | THE | – ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้น TYM มีการซื้อหรือขายกันมาก และราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้นตาม | 1,718,816.18 |
15 | 11/06/2558 | นางสาวลัคณา แซ่ลี้ | THE | – ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้น TYM มีการซื้อหรือขายกันมาก และราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้นตาม | 1,718,816.18 |
16 | 11/06/2558 | นางสาวภัทรานุช หวังพรพระ | THE | – ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้น TYM มีการซื้อหรือขายกันมาก และราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้นตาม | 1,718,816.18 |
17 | 11/06/2558 | นายประสงค์ เกียรติกมลกุล | THE | – ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้น TYM มีการซื้อหรือขายกันมาก และราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้นตาม | 1,718,816.18 |
18 | 11/06/2558 | นางสาวดวงฤทัย วีระศิลปเลิศ | THE | – ซื้อขายหุ้นในลักษณะอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าในช่วงเวลาดังกล่าวหุ้น TYM มีการซื้อหรือขายกันมาก และราคาหุ้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ตรงกับสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้นตาม | 1,718,816.18 |
19 | 11/06/2558 | นายอุชัย วิไลเลิศโภคา | OCEAN | – มิได้รายงานจำนวนการถือครองหุ้นภายหลังการได้มาดังกล่าว ตามแบบ 246-2 ต่อสำนักงานภายใน 3 วันทำการตามที่ประกาศกำหนด | 95,400.00 |
20 | 11/06/2558 | นายอุชัย วิไลเลิศโภคา | OCEAN | – มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด | 204,000.00 |
21 | 11/06/2558 | นายปราโมทย์ พสวงศ์ | TPP | – มิได้รายงานจำนวนการถือครองหุ้นภายหลังการได้มาดังกล่าว ตามแบบ 246-2 ต่อสำนักงานภายใน 3 วันทำการตามที่ประกาศกำหนด | 97,200.00 |
22 | 11/06/2558 | นายปราโมทย์ พสวงศ์ | TPP | – มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด | 219,000.00 |
23 | 20/04/2558 | นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ | CMO | – ซื้อหุ้น ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเอง ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านบวกอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น CMO ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน | 500,000.00 |
24 | 20/04/2558 | นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ | CMO | – ซื้อหุ้นในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่น ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านบวกอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น CMO ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน | 4,920,324.00 |
25 | 20/04/2558 | นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ | CMO | – มิได้รายงานการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหุ้นบริษัทที่ถือผ่านบุคคลอื่นอันเป็นผลให้ถือหุ้น CMO ผ่านจุดทุกร้อยละ 5 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ตามแบบ 246-2 ต่อสำนักงานภายในระยะเวลาที่กำหนด | 626,700.00 |
26 | 20/04/2558 | นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ | CMO | – มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด กรณีได้มาซึ่งหุ้น บริษัทที่ถือผ่านบุคคลอื่น จนเป็นผลให้เป็นผู้ถือหลักทรัพย์ข้ามจุดร้อยละ 50 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ | 207,000.00 |
27 | 20/04/2558 | นายจักรกฤษณ์ ธนวิรุฬห์ | BLISS | – บอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความใด ในงบการเงินไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2556 ของบริษัทโดยเจตนาให้ผู้อื่นสำคัญผิดในข้อเท็จจริง | 500,000.00 |
28 | 20/04/2558 | นายจักรกฤษณ์ ธนวิรุฬห์ | BLISS | – บอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความใด ในงบการเงินไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2556 โดยเจตนาให้ผู้อื่นสำคัญผิดในข้อเท็จจริง | 500,000.00 |
29 | 20/04/2558 | นายจักรกฤษณ์ ธนวิรุฬห์ | BLISS | – บอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความใด ในงบการเงินประจำปี 2556 ของบริษัทโดยเจตนาให้ผู้อื่นสำคัญผิดในข้อเท็จจริง | 500,000.00 |
30 | 20/04/2558 | นายเสวก ศรีสุชาต | PLE | – จัดทำและนำส่งงบการเงินไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2557 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ที่ถูกต้องล่าช้ากว่าระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 78,000.00 |
31 | 20/04/2558 | นายเสวก ศรีสุชาต | PLE | – จัดทำและนำส่งงบการเงินไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2557 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2557 ที่ถูกต้องล่าช้ากว่าระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 50,100.00 |
32 | 20/04/2558 | นายเกรียงไกร เลิศศิริสัมพันธ์ | PRO | – จัดทำและนำส่งงบการเงินไตรมาส 3 ประจำปี 2557 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2557 ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 78,000.00 |
33 | 10/03/2558 | นายจิรศักดิ์ จิยะจันทน์ | WORLD | – จัดทำและนำส่งงบการเงินประจำรอบปีบัญชี 2557 ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 107,400.00 |
34 | 10/03/2558 | นายจิรศักดิ์ จิยะจันทน์ | WORLD | – จัดทำและนำส่งสำเนารายงานประจำปี 2557 (แบบ 56-2) ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 136,200.00 |
35 | 10/03/2558 | นายจิรศักดิ์ จิยะจันทน์ | WORLD | – จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2557 (แบบ 56-1) ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 141,000.00 |
36 | 10/03/2558 | นางพันทิพา ถิรกนกวิไล | IT | – ขายหุ้น IT ผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลอื่นในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงด้านลบ อันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น IT ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน | 500,000.00 |
37 | 10/03/2558 | นายปรเมษฐ์ รังรองธานินทร์ | ABC | – จัดทำและนำส่งงบการเงินไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2557 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2557 ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 348,600.00 |
38 | 10/03/2558 | นายปรเมษฐ์ รังรองธานินทร์ | ABC | – จัดทำและนำส่งงบการเงินไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2557 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 239,400.00 |
39 | 10/03/2558 | นายปรเมษฐ์ รังรองธานินทร์ | ABC | – จัดทำและนำส่งงบการเงินไตรมาสที่ 3ประจำปี 2557 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2557 ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 129,000.00 |
40 | 10/03/2558 | นางสาว เวน ลี ไต้ | CEI | – มิได้จัดทำและนำส่งงบการเงินไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2557 ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 277,500.00 |
41 | 10/02/2558 | นายวิจิตร เจียมวิจิตรกุล | THL | – จัดทำและนำส่งรายงานทางการเงินสำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชี 2557 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 58,500.00 |
42 | 10/02/2558 | นายเบน เตชะอุบล | CGD | – นำส่งงบการเงินประจำรอบปีบัญชีประจำปี 2556 ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 107,100.00 |
43 | 10/02/2558 | นายโสรัจ โรจนเบญจกุล | VTE | – จัดทำและนำส่งงบการเงินประจำรอบปีบัญชี 2556 ฉบับตรวจสอบ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 56(2) และมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56(2) | 318,600.00 |
44 | 10/02/2558 | นายโสรัจ โรจนเบญจกุล | VTE | – จัดทำและนำส่งงบการเงินรายไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2557 ฉบับสอบทาน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2557 ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 56(1) และมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56(1) | 251,100.00 |
45 | 10/02/2558 | นายโสรัจ โรจนเบญจกุล | VTE | – จัดทำและนำส่งงบการเงินรายไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2557 ฉบับสอบทาน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 56(1) และมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56(1) | 169,200.00 |
46 | 10/02/2558 | นายโสรัจ โรจนเบญจกุล | VTE | – จัดทำและนำส่งงบการเงินรายไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2557 ฉบับสอบทาน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2557 ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 56(1) และมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56(1) | 87,300.00 |
47 | 10/02/2558 | นายโสรัจ โรจนเบญจกุล | VTE | – จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2556 (แบบ 56-1) ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 56(4) และมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56(4) | 223,200.00 |
48 | 19/01/2558 | นายณรงค์ เตชะไชยวงศ์ | IFEC | – จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2556 (แบบ 56-1) ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 89,400.00 |
49 | 19/01/2558 | นายมงคล มังกรกนก | TTI | – จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2556 (แบบ 56-1) ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 144,600.00 |
50 | 19/01/2558 | นายณัฐ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ณฐพงศ์) พินิตพงศ์กุล | TBSP | – จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2556 (แบบ 56-1) ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 71,400.00 |
51 | 19/01/2558 | นายชาญชัย เหล่าเทพพิทักษ์ | CHOTI | – จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2556 (แบบ 56-1) ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 144,000.00 |
52 | 19/01/2558 | นายประภาส พลพิพัฒนพงศ์ | CM | – จัดทำและนำส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2556 (แบบ 56-1) ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด | 78,600.00 |
*หมายเหตุ
1.นายภัทรภพ อิทธิสัญญากร ค่าปรับยังไม่รวมจำนวนค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่ เปรียบเทียบความผิดจนถึงวันที่ได้ปฏิบัติถูกต้องภายในกำหนดเวลาตามการเปรียบ เทียบความผิด
2.THE ชื่อเก่าคือ บริษัท ไทยง้วนเมทัล จำกัด (มหาชน) หรือTYM