‘หัวเราะ’ สร้างประสิทธิภาพ

ในที่สุดประเทศไทยก็มาถึงจุดที่เราไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมาถึงได้ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่สูงเกินหนึ่งหมื่นคนมาหลายวันติดต่อกัน และข่าวคนรอเตียงรักษาในโรงพยาบาลจนเสียชีวิตคาบ้านและคาถนน เป็นสิ่งที่น่าเศร้าใจที่ทำให้ “สยามเมืองยิ้ม” หรือ “The land of smile” ยิ้มกันไม่ออกเลยในยามนี้


ในที่สุดประเทศไทยก็มาถึงจุดที่เราไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมาถึงได้ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่สูงเกินหนึ่งหมื่นคนมาหลายวันติดต่อกัน และข่าวคนรอเตียงรักษาในโรงพยาบาลจนเสียชีวิตคาบ้านและคาถนน เป็นสิ่งที่น่าเศร้าใจที่ทำให้ “สยามเมืองยิ้ม” หรือ “The land of smile” ยิ้มกันไม่ออกเลยในยามนี้

แต่ในสถานการณ์ที่มันตึงเครียดเช่นนี้และยังไม่รู้ว่ามันจะจบลงเมื่อไหร่ สิ่งที่ดีที่สุดที่จะช่วยกันพาให้เรารอดจากวิกฤตครั้งนี้คือการ “เกื้อกูล” กันให้มากที่สุดเท่าที่แต่ละคนจะทำได้ และต้องหาทางสร้าง “รอยยิ้ม” และ “เสียงหัวเราะ” ปลอบใจตัวเองให้ได้ในแต่ละวัน

เข้าใจดีว่า ท่ามกลางข่าวร้ายที่เต็มไปหมดและการ Work from Home สำหรับบางคนในช่วงนี้ ทำให้เราหาเวลายิ้ม หรือ หัวเราะได้ยากขึ้นกว่าเดิม แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า  การหัวเราะ สามารถสร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้จริง ๆ

ดูเหมือนว่า เรายังคงต้องทำงานจากที่บ้านกันต่อไปอีกพักใหญ่ และนั่นก็หมายถึงว่า การใช้เวลากับเพื่อนร่วมงานจะน้อยลงในระยะยาว และมีโอกาสน้อยลงที่จะได้ดับอารมณ์ด้วยการล้อเล่นในสำนักงาน

หนึ่งปีกว่าที่ต้องแยกตัวเองจากเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน ได้ทำให้คนส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกเหนื่อยหน่ายและอ่อนล้า แต่ถึงแม้ว่าการใช้เวลาเพื่อสร้างเสียงหัวเราะอาจจะไม่ใช่เรื่องสำคัญสุด แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ผลกระทบของมันที่มีต่อสมอง ไม่เพียงแต่สามารถกระตุ้นอารมณ์ได้เท่านั้น แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ด้วย

Daniel Sgroi ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอร์วิค ในอังกฤษ กล่าวว่า เสียงหัวเราะสามารถกระตุ้น ให้เกิดสารสื่อประสาท อย่างเช่น โดปามีนและเซโรโทนิน ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้ ถือเป็นฮอร์โมนในการกระตุ้นอารมณ์

เสียงหัวเราะจะเร่งพัฒนาการของเครือข่ายในสมองที่จะช่วยให้เรา “มีสมาธิและจดจ่อ” ซึ่งเทียบเท่ากับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  แต่ย้ำว่า ต้องเป็นการหัวเราะที่แท้จริง ไม่ใช่ “แสร้งหัวเราะ”

งานวิจัยที่ Sgroi ได้ร่วมทำและเผยแพร่เมื่อปี 2558 พบหลักฐานการเชื่อมโยงระหว่าง “ความสุข” กับ ”ประสิทธิภาพ” โดยหนึ่งในเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาของเขา คือการใช้ความตลกทำให้ผู้เข้าร่วมทดลองหัวเราะ และมีความสุขมากขึ้น ซึ่งพบว่า สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ถึง 12%

มีการเชื่อมโยงระหว่างความสุขกับประสิทธิภาพมาระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีการค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้เองว่า “คนที่มีความสุข มักทำงานหนักขึ้น” การมีความสุขทำให้มีเวลามากขึ้น คนที่มีความสุขอาจสามารถทำงานหนึ่งได้ภายในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง ในขณะที่คนที่ไม่มีความสุขอาจใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง 20 นาที

โซฟี สก็อต ผู้อำนวยการ Institute of Cognitive Neuroscience  มหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน กล่าวว่า เสียงหัวเราะยังช่วยลดระดับอดรีนาลีนและคอร์ติซอลในร่างกาย ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นฮอร์โมนความเครียดและวิตกกังวล

สำหรับงานที่ต้องทำเป็นทีม เสียงหัวเราะเป็นหนทางที่ดีมากที่จะสนับสนุนการเชื่อมต่อระหว่างคนในทีม ในเวลาเดียวกันซึ่งช่วยลดความเครียดได้

ซาบีนา เบรนนาน นักประสาทวิทยากล่าวว่า สัญญาณของความเครียดเรื้อรังอย่างหนึ่ง คือการ “สูญเสียอารมณ์ขัน” โดยทำให้สูญเสียความสามารถในการมองเห็นด้านตลกของชีวิต และย้ำว่า “อารมณ์ขันช่วยให้เรารับมือกับสิ่งที่คิดไม่ถึง” ได้ ซึ่งชี้ว่า อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่บางครั้ง คนมักหัวเราะในเวลาที่ไม่เหมาะสม

อย่างไรก็ดี Sgroi เตือนว่าอย่าใช้อารมณ์ขันฟุ่มเฟือยมากเกินไป เพราะมนุษย์มีความสามารถอย่างน่าทึ่งในการสร้างความเคยชิน ดังนั้นสิ่งที่ตลกเมื่อ 10 นาทีที่แล้ว  อาจไม่ตลก เมื่อได้ยินมันซ้ำสองหรือสามครั้งติดต่อกัน

มิน่าเล่า “อารมณ์ขัน” ที่ท่านผู้นำพยายามเล่นซ้ำ ๆ และผิดเวลา  มันจึงฝืด เฝือ และกลายเป็นสิ่งที่สร้างความเครียดไปโดยปริยาย …รู้ไว้ด้วย “นะจ๊ะ”

Back to top button