BANPU ปริศนาเพิ่มทุน.!?
กลายเป็นปริศนาฟ้าแลบในใจนักลงทุนทันที..!! กรณีบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ประกาศเพิ่มทุนครั้งมโหฬาร พ่วงด้วยวอร์แรนต์อีก 3 ชุด...โดยออกหุ้นใหม่ 5,074 ล้านหุ้น แบ่งเป็น 1,268.65 ล้านหุ้น ขายให้ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering) อัตราส่วน 4 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ที่ราคาหุ้นละ 5 บาท
กลายเป็นปริศนาฟ้าแลบในใจนักลงทุนทันที..!! กรณีบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ประกาศเพิ่มทุนครั้งมโหฬาร พ่วงด้วยวอร์แรนต์อีก 3 ชุด…โดยออกหุ้นใหม่ 5,074 ล้านหุ้น แบ่งเป็น 1,268.65 ล้านหุ้น ขายให้ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering) อัตราส่วน 4 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ที่ราคาหุ้นละ 5 บาท
ส่วนที่เหลือ 3,805.94 ล้านหุ้น รองรับการออกวอร์แรนต์ BANPU-W4, BANPU-W5 และ BANPU-W6
ทำให้ถูกตั้งคำถามตามมาว่า ทำไมไม่เพิ่มทุนครั้งเดียวจบ..!?
ปกติการเพิ่มทุนทั่ว ๆ ไป จะแถมวอร์เรนต์แค่ชุดเดียวจบ แต่อันนี้เป็นการเพิ่มทุนแม่ลูกดก แถมวอร์แรนต์ถึง 3 ชุดด้วยกัน ทำไม BANPU ต้องใช้ฟอร์แมตนี้..? อันนี้น่าคิด…
เท่านั้นไม่พอ ถ้าเทียบกับราคาในกระดาน…ราคาเพิ่มทุนถือว่าต่ำมาก แค่ 5 บาทเท่านั้น แล้วถ้าเทียบกับวอร์แรนต์ ซึ่ง BANPU-W4 ราคาใช้สิทธิที่ 5 บาท ส่วน BANPU-W5 และ BANPU-W6 ราคาใช้สิทธิที่ 7.50 บาท ก็ถูกมาก…นั่นจะทำให้วอร์แรนต์มีมูลค่าเยอะ
ด้วยสูตรการเพิ่มทุนแบบนี้ ก็น่าคิดว่าเป็นเพราะอะไร..???
ถ้าไปดูโครงสร้างผู้ถือหุ้น BANPU จะเห็นว่าเป็นลักษณะเบี้ยหัวแตก…ผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก ไม่มีรายใดถือหุ้นเกิน 10% เลย แม้ทุกคนจะรู้ว่า BANPU เป็นของกลุ่ม “ว่องกุศลกิจ” ก็ตาม
นั่นดูแล้วการเพิ่มทุนแบบยกพวงอย่างนี้ เป็นการจูงใจให้ผู้ถือหุ้นรายอื่นใช้สิทธิเพิ่มทุนหรือเปล่า..?
โอเค…แม้ว่องกุศลกิจจะใช้สิทธิเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่เม็ดเงินที่ได้อาจน้อย ไม่เพียงพอที่ BANPU กำลังนีชเงินเพื่อไปลงทุนในต่างประเทศตามแผนที่วางไว้ ก็เลยต้องงัดฟอร์แมตนี้ออกมาเพื่อจูงใจให้ใช้สิทธิเพิ่มทุน..? เพื่อให้มีเม็ดเงินมากขึ้น (BANPU ตั้งเป้าจะได้เงินระดมทุนสูงถึง 3.17 ล้านบาท)
ในขณะเดียวกันก็เป็นแรงบีบว่า ถ้าไม่ใช้สิทธิเพิ่มทุน ก็จะถูกไดลูชั่นเอฟเฟกต์ไปในตัว ซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินว่า จะเกิดไดลูทราว 30-50%
แต่หากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิเพิ่มทุน ก็จะได้วอร์แรนต์ฟรี 3 ชุด ซึ่งถ้าเทียบกับราคากระดานถูกมาก…
หากวอร์แรนต์เข้าเทรดในวันแรก ด้วยราคาหุ้นแม่ BANPU นักวิเคราะห์ประเมินหลังขึ้น XR จะอยู่ที่ 10 บาท ถ้าเทียบกับวอร์แรนต์ BANPU-W4 ราคาแปลงสิทธิที่ 5 บาท ฉะนั้นมูลค่าวอร์แรนต์จะอยู่ที่ 5 บาท และถ้าเทียบกับวอร์แรนต์ BANPU-W5 และ BANPU-W6 ที่ราคาแปลงสิทธิ 7.50 บาท บนสมติฐานราคาหุ้นแม่เท่าเดิม 10 บาท วอร์แรนต์ก็จะมีมูลค่า 2.50 บาท
ถ้าขายออก ก็จะมีกำไรทันที เพราะไม่มีต้นทุน ได้มาฟรี..!!
หรือหาก BANPU ทำผลงานออกมาดี เกิดความเชื่อมั่นอยากลงทุนต่อ เก็บวอร์แรนต์ไว้เพื่อรอแปลงราคาหลังขึ้น XR ที่ 10 บาท ก็จะมีส่วนต่างเหมือนกัน…
ตรงนี้อาจเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ BANPU ต้องเพิ่มทุนแบบลูกดกหรือเปล่า..?
แม้ล่าสุดจะถอดวอร์แรนต์ BANPU-W6 ออก ดูเหมือนเสน่ห์จะลดลง…ในมุมบริษัทอาจจะได้เงินน้อยลง
โดยประเมินกันว่า เงินจะหายไปราว 2.1 พันล้านบาท แต่จะได้เงินเพิ่มทุนเร็วกว่าแผนเดิม ส่วนมุมผู้ถือหุ้นก็ไม่ได้เสียหายมากจนเกินไป…
เอาเป็นว่า ปริศนาเพิ่มทุน BANPU ครั้งนี้ จะเพื่อใคร..? ยังไง..? ก็แล้วแต่…แต่สุดท้ายแล้วบริษัทก็จะได้เงินก้อนโต โดยไม่มีต้นทุนเหมือนกัน
ส่วนคนที่จะฟินสุด ๆ ก็น่าจะเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ (เดิม) นั่นแหละ ซึ่งไม่ว่าจะมองมุมไหน มีแต่ได้…กับได้ นะจ๊ะ…
…อิ อิ อิ…