ดอกเบี้ยลง หุ้นไฟแนนซ์วิ่ง

เมื่อวานนี้ (3 ส.ค.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)


เมื่อวานนี้ (3 ส.ค.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

มีมติ “ไม่เป็นเอกฉันท์” ด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 2 เพื่อคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50 บาท

หรือ 4 เสียงเห็นด้วยว่าให้คงดอกเบี้ยไว้

และอีก 2 เสียง ให้ลดดอกเบี้ยลงมาอีก 0.25% (อีก 1 รายลาประชุม)

คะแนนเสียงที่ไม่เป็นเอกฉันท์นี้ “มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง”

เพราะเป็นมติแบบไม่เป็นเอกฉันท์ครั้งแรกนับตั้งแต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงล่าสุดในเดือน พฤษภาคม 2563

ทำให้เกิดการวิเคราะห์จากนักวิเคราะห์ทางการเงิน และตลาดหุ้นว่า “มีความเป็นไปได้” มากขึ้นที่การประชุม กนง.ครั้งต่อไปวันที่ 29 กันยายน 2564

มติจะออกมาให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25%

ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายจะลงมาที่ระดับ 0.25% หรือต่ำสุด (อีกครั้ง) สำหรับดอกเบี้ยนโยบายของไทย

ก่อนที่ กนง.จะมีมติออกมา

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย

ได้ปรับลดตัวเลขจีดีพีของไทยลงมา -1.5% ถึง 0%

เช่นเดียวกับ กนง.ที่คาดการณ์จีดีพีปีนี้ว่าจะเติบโต -0.7%

หากย้อนกลับไปดูมติของ กนง.ก่อนหน้านี้

จะพบว่า ก่อนที่จะมีมติแบบเป็นเอกฉันท์ (หรือไม่เป็นเอกฉันท์)

มติการประชุมครั้งต่อไปของ กนง.มักจะออกมาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย คือ ไม่เป็นการ “ปรับเพิ่ม” ก็จะมีการ “ปรับลด”

ทว่าบนสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้

ทำให้มีโอกาสที่ดอกเบี้ยนโยบายจะเป็น “ขาลง” มากกว่าที่จะเป็นขาขึ้น

ปุจฉา.. ดอกเบี้ยลงแล้วมีผลต่อตลาดหุ้น?

มีแน่นอน เพราะเงินส่วนหนึ่งน่าจะถูกโยกออกมาจากตลาดเงินเข้าสู่ตลาดทุน

เท่าที่ฟังจากนักวิเคราะห์

ต่างยังคงแนะนำและมองเชิงบวกกับตลาดหุ้นมากกว่าตลาดเงิน

หรือผลตอบแทนจากตลาดหุ้น หากลงทุนระยะปานกลางถึงยาว จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว หุ้นพื้นฐาน โดยเฉพาะในกลุ่ม SET50 จะดีดกลับมาก่อน

ส่วนหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ที่รับประโยชน์กดดอกเบี้ยลง เช่น กลุ่มไฟแนนซ์

เมื่อวานนี้หุ้นไฟแนนซ์หลายตัววิ่งขึ้นกันสนุกสนาน

นอกจากประเด็นที่คาดหมายกันว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยแล้ว

อีกมุมมองหนึ่ง ที่มองไปข้างหน้าว่า กนง.มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมา จะมีสูงขึ้น จากที่ตัวเลขคาดการณ์จีดีพีที่มีการประมาณการกันออกมาก่อนว่าจะเติบโตติดลบ

แน่นอนว่า ต้นทุนทางการเงินของไฟแนนซ์จะลดลง

หุ้น “เงินติดล้อ” TIDLOR ราคาหุ้นพุ่ง พร้อมกับวอลุ่มหนาแน่นนับตั้งแต่เปิดตลาด

มูลค่าการซื้อขายกระโดดขึ้นมาเป็นอันดับ 1

ก่อนที่จะมีหุ้นตัวอื่นเบียดขึ้นมา

ทว่า เงินติดล้อ ยังรักษาราคาที่ดีดขึ้นมาได้ บวก 1.00 บาท ปิด 40.50 บาท เปลี่ยนแปลง +2.53%

อีกปัจจัยที่ดันราคาขึ้นมา

น่าจะมีการเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 2/2564 ว่าจะเติบโต 200%

ล่าสุด บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ทำบทวิเคราะห์ครั้งแรกสำหรับเงินติดล้อ ให้ราคาเป้าหมาย 50.00 บาท

“บัตรกรุงไทย” KTC วานนี้เริ่มดีดกลับเช่นกัน

บวก 1.25 บาท ปิด 63.50 บาท เปลี่ยนแปลง +2.01% มูลค่าซื้อขายกว่า 292 ล้านบาท

ส่วนหุ้นไฟแนนซ์ตัวอื่น ๆ เช่น SAWAD MTC AEONTS AMANAH  TK และ BFIT ต่างปิดบวกขึ้นกันพร้อมหน้าเช่นกัน

หุ้นไฟแนนซ์หากไม่ถูก “ดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล” (ที่ยังไม่มีความชัดเจน) กดดันว่าจะลดหรือไม่ลด หรือจะลดตรงไหนบ้าง

ราคาน่าจะดีดกลับได้ดีกว่านี้

เพราะผลประกอบการงวดไตรมาส 2/2564 แทบทุกหุ้นที่ว่ามานี้

ต่างมีกำไรเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักเกือบทุกหุ้น

Back to top button