BGC ไฟฟ้าตก.!
เพิ่งแจ้งดีลใหญ่ซื้อโรงไฟฟ้าเข้ามาเติมในพอร์ตได้ครบ 2 ขวบปีพอดิบพอดีสำหรับ BGC ก็ต้องปรับโครงสร้างธุรกิจพลังงานใหม่ซะแล้ว...
เพิ่งแจ้งดีลใหญ่ซื้อโรงไฟฟ้าเข้ามาเติมในพอร์ตได้ครบ 2 ขวบปีพอดิบพอดี (แจ้งซื้อเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2562) สำหรับบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BGC ก็ต้องปรับโครงสร้างธุรกิจพลังงานใหม่ซะแล้ว…
ด้วยการขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัท โซล่า พาวเวอร์ แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (SPM) (บริษัทโฮลดิ้ง คอมปานีที่ถือหุ้นในโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม 2 โรงในเวียดนาม) ให้แก่ บริษัท บีจี เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด (BGE) โดย BGE จะออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 7.5 ล้านหุ้น หรือ 27.27% ชำระค่าหุ้นแทนเงินสด
จากนั้น BGC จะขายหุ้น 7.35% ที่ถือใน BGE ให้แก่ บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) (BG) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ BGC…ส่งผลให้ BGC คงเหลือสัดส่วนถือหุ้นในธุรกิจด้านพลังงานผ่าน BGE ที่ 19.93% เท่านั้น
เอ๊ะ…ว่าแต่ BGC คิดอะไรอยู่นะ ทำไมต้องยกเครื่องธุรกิจพลังงานใหม่ด้วยล่ะ..? อันนี้น่าคิด
อย่างที่รู้กัน BGC เป็นบริษัทที่โตมาจากบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว ก่อนที่จะขยายไปสู่บรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นครบวงจร โดยมีลูกค้าหลักเป็นบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ในเครือบุญรอดบริวเวอรี่
แต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา BGC พยายามแสวงหาธุรกิจใหม่ ๆ เพิ่มเติม หนึ่งในนั้นคือธุรกิจไฟฟ้า..!! เริ่มด้วยการไปซื้อโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มจำนวน 2 โรง กำลังการผลิต 99.216 เมกะวัตต์ ที่เวียดนาม มาจากบริษัท อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EP มูลค่าราว 1,259 ล้านบาท
ก็ถือเป็นกลยุทธ์การโตนอกขวดแก้วของ BGC ที่น่าสนใจ..!!
แต่ดูเหมือนจังหวะจะไม่เข้าข้าง BGC เอาซะเลย…เพราะพอได้โรงไฟฟ้ามาปุ๊บ เจอโควิดออกอาละวาดปั๊บ ทำให้ที่คาดหวังว่าธุรกิจไฟฟ้าจะมาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม กลายเป็นตัวกดดันซะงั้น…ขณะที่จุดบอดของ BGC คลุกคลีอยู่กับบรรจุภัณฑ์มาทั้งชีวิต โดยเฉพาะขวดแก้ว ครั้นจะไปทำโรงไฟฟ้า ก็ไม่ถนัด…
ทำให้ธุรกิจไฟฟ้านอกจากไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างที่คาดหวังแล้ว ยังเป็นตัวกดดันในงบการเงินของ BGC อีกต่างหาก
เห็นได้ชัดจากงบไตรมาส 2 ปีนี้ของ BGC ที่รายได้จากกลุ่มบรรจุภัณฑ์แก้ว เพิ่มขึ้น 834 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 41% ขณะที่รายได้จากกลุ่มบรรจุภัณฑ์อื่นเพิ่มขึ้น 126 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 46% แต่รายได้จากธุรกิจพลังงานในเวียดนาม อยู่ที่ 131 ล้านบาท ลดลง 9 ล้านบาท หรือลดลง 7%
ต้องบอกว่า รายได้จากธุรกิจพลังงานลดไม่พอ ยังต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น ตามมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 3 อีกด้วย…
สุดท้าย BGC ก็เลยหันกลับมาโฟกัสสิ่งที่ตัวเองถนัด นั่นคือ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นการลงทุนและเติบโตในธุรกิจบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก ตั้งเป้าหมายยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าตัว จาก 1.1 หมื่นล้านบาท เป็น 2.5 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2568…เน้นเติบโตจากภายใน หรือออร์แกนิคดีกว่า แล้วลดบทบาทของธุรกิจไฟฟ้าลง…
เลยเป็นที่มาของการปรับโครงสร้างธุรกิจพลังงาน จากเดิมถือโดยตรง ก็ไปถือทางอ้อมผ่านบริษัทลูกแทน…
สาเหตุ…เป็นไปได้ว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง BGC ก็อาจจะขายธุรกิจไฟฟ้าออกไป
2) เป็นการปลดเปลื้องภาระทางการเงิน เนื่องจากธุรกิจไฟฟ้าต้องใช้เงินลงทุนสูง และมีต้นทุนการบริหารจัดการค่อนข้างสูง และ 3) เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะทาง ซึ่ง BGC ไม่ถนัด
ก็เลยโยกธุรกิจไฟฟ้าไปซ่อนไว้ที่ BGE…
ทำให้ BGC จากเดิมที่วาดฝันจะโตนอกขวดแก้ว ก็ต้องหันกลับมาโตในขวดแก้วเหมือนเดิม…
เรื่องทั้งหมดก็เป็นเช่นนี้แหละคุณขา…
…อิ อิ อิ…