ต้นร้ายปลายดี
หุ้นกลุ่มธนาคารที่บวกแรงจากผลพวงการแถลงข่าวบ่ายวันพุธของผู้บริหาร SCB ถึงเรื่องการปรับยุทธศาสตร์ในอนาคต เพื่อหลบเลี่ยงการไล่ล่าของอนาคต
ภาวะตลาดหุ้นไทยที่ทำท่าจะหลุดไปใต้แนวรับจิตวิทยา 1,600 จุด เมื่อเช้าวันพุธที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา แต่ตกบ่ายกลับมีแรงซื้อเข้ามาดันให้หุ้นบวกยืนเหนือ 1,610 จุด แล้ววันพฤหัสบดีก็มีหุ้นกลุ่มธนาคารที่บวกแรงจากผลพวงการแถลงข่าวบ่ายวันพุธของผู้บริหาร SCB ถึงเรื่องการปรับยุทธศาสตร์ในอนาคต เพื่อหลบเลี่ยงการไล่ล่าของอนาคต ออกจากทางตันเข้าสู่ทางสายใหม่ที่คล่องตัวมากขึ้น
ดัชนี SET ที่ปิดตลาดด้วยระดับเหนือ 1,630 จุด แม้จะปรับตัวลงในวันจันทร์อีกเล็กน้อยจากแรงขายทำกำไร ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนว่า แนวรับ 1,620 จุดนั้นค่อนข้างแข็งแกร่ง โอกาสจะหลุดลงไปใต้จุดดังกล่าวอีกครั้งไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็ววัน หากไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงสะเทือนโลกอีก
ภาวะของตลาดหุ้นไทยเช่นว่าเกิดขึ้นสอดรับคำพังเพยหรือสุภาษิตเก่าแก่ที่ว่าต้นร้ายปลายดี ยังไงก็ยังงั้น เพราะโดยพื้นฐานแล้วเห็นได้ชัดว่า การรับมือกับเหตุร้ายของภาคธุรกิจในตลาดนั้นดีเกินกว่าคาด อย่างน้อยก็ดีกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อกว่า 20 ปีก่อนหลายเท่า
คำถามจึงเริ่มย้ายไปว่า คำว่าต้นร้ายปลายดีหมายถึงอะไร ?
สำนวน ต้นร้ายปลายดี นั้นหมายถึง (สำ) น. ตอนแรกประพฤติตัวไม่ดีแต่ภายหลังกลับสำนึกตัวได้แล้วประพฤติดีตลอดไป, ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔
สำนวนที่ว่าใช้ในการเปรียบเปรยถึง คนที่ในตอนแรกนั้น ประพฤติตัวไม่ดี แต่ภายหลังกลับสำนึกตัวได้แล้วประพฤติดีตลอดไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเมื่อรู้ว่า อะไรควรหรือไม่ควร แล้วทำการปรับปรุงตัว และปฏิบัติตนให้ถูกต้อง
ต้น หมายถึง (๑) น. ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือน ต้นปี ต้นความ
- ร้ายหมายถึง (๑) ว. ดุ เช่น ใจร้าย, ชั่ว เช่น ปากร้าย คนร้าย, ไม่ดีเช่น เคราะห์ร้าย โชคร้าย ชะตาร้าย
- ปลายหมายถึง [ปลาย] น. ตอนยอด, ตอนที่สุด.
- ดีหมายถึง (๑) ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ในความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย
โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตคนที่ “ต้นร้ายปลายดี” คือเบื้องต้นไม่ประสบความสำเร็จ ชีวิตมีความวุ่นวาย มักถูกตำหนิจากผู้ใหญ่แต่บั้นปลายชีวิตจะรุ่งโรจน์มาก
แม้คำนี้จะเก่าแก่และคุ้นเคยในสังคมไทย แต่ในระดับโลกคำว่าต้นร้ายปลายดีนี้ เพิ่งจะคุ้นหูผู้คน จากบทกวีชื่อดังของอังกฤษเมื่อสองร้อยกว่าปีมานี้เอง
คำว่า blessing in disguise หรือต้นร้ายปลายดีนี้ ใช้กับคำอวยพรจากความคิดที่ว่า บางสิ่งที่ดูเหมือนโชคร้ายสามารถให้ประโยชน์ที่คาดไม่ถึงได้ ได้ปรากฏครั้งแรกในเพลงสวดของเจมส์ เฮอร์วีย์ “Since all the downward tracts of time” (นับแต่ช่วงเวลาของชีวิตตกต่ำ) ในปี ค.ศ. 1746 จนกลายเป็นคำพูดมีการใช้ในปัจจุบัน ในการพูดในชีวิตประจำวันและเป็นชื่อผลงานสร้างสรรค์ เช่น นวนิยาย เพลงและบทความ จนแตกย่อยไปเป็นสำนวนอื่น ๆ เช่น นางมารจำแลงในร่างคนสวย (the devil in disguise) เป็นต้น
ในกวีนิพนธ์เริ่มต้นจากเฮอร์วีย์ได้ใคร่ครวญถึงปรีชาญาณในการยอมรับสิ่งใด ๆ ก็ตามที่พระเจ้า ด้วยพระปรีชาญาณอันไม่มีขอบเขตของพระองค์ ทรงเลือกที่จะประทานแก่เรา แม้แต่สิ่งที่ดูเหมือนในตอนแรกเป็นแง่ลบ เพราะพวกเขาเป็น “พรที่จำแลงมาในคราบของความทุกข์ยาก”
เนื่องจากกาลเวลาที่ลดลง
การสำรวจสายตาของพระเจ้า
โอ้ผู้ฉลาดในการเลือกของเรา
นี้เป็นพรที่อำพราง
เหตุใดเราจึงสงสัยในความรักของพระบิดา
ผู้ซึ่งทรงสม่ำเสมอและใจดีมาก ?
ต่อพระประสงค์ที่ปราศจากข้อผิดพลาดของพระองค์
ลาออกทุกความปรารถนา……
คำนี้ถูกนำมาใช้แพร่หลายในสื่อยุคหลังสงครามกลางเมืองอเมริกา ได้แสดงให้เห็นประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สัน เดวิส แห่งรัฐสัมพันธมิตรรายล้อมไปด้วยเมืองต่าง ๆ ที่ฝ่ายสมาพันธรัฐพ่ายแพ้ โดยถามว่า การสูญเสียนั้นเป็น “พรที่จอมปลอมจากชัยชนะในช่วงแรก”
ต่อมามีการเผยแพร่นิทานพื้นบ้านของจีนเล่าว่า การบาดเจ็บช่วยชีวิตชายพิการคนหนึ่งได้อย่างไร โดยป้องกันไม่ให้เขาถูกฆ่าตายในสนามรบ
ในปี พ.ศ. 2443 วารสารการแพทย์อังกฤษ (The British Medical Journal) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีจำนวนหนึ่งที่การทำร้ายร่างกาย หรือการบาดเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจนำไปสู่การรักษาอาการป่วย โดยอธิบายว่าเป็นการให้พรทางศัลยกรรมปลอมแปลงโฉม
ในยุคปัจจุบัน มีการใช้วลีเป็นชื่อหนังสือ และวลีในงานเขียนเพื่อแสดงการขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณ และไม่ใช้เวลาเสียใจกับสิ่งเลวร้าย [16] และ “พรผสม” ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีเช่นคำว่า “มีน้ำครึ่งแก้ว ดีกว่าแก้วเปล่า”
สำนวนต้นร้ายปลายดีนี้ เหมาะกับตลาดหุ้นในยุคสมัยสลิ่มครองเมืองยามนี้ยิ่งนัก