BEM แนวโน้มฟื้นตัว
จากกรณีคลายล็อกดาวน์บางกิจกรรมนับตั้งแต่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้โมเมนตัมผู้ใช้บริการของ BEM ฟื้นตัวต่อเนื่อง
คุณค่าบริษัท
จากกรณีคลายล็อกดาวน์บางกิจกรรมนับตั้งแต่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้โมเมนตัมผู้ใช้บริการของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ฟื้นตัวต่อเนื่อง
โดยมีข้อมูลอัปเดตตัวเลขผู้ใช้บริการล่าสุดในวันที่ 8 ต.ค. โดยผู้ใช้ทางด่วนอยู่ที่ 9.8 แสนเที่ยวต่อวัน ส่วนเดือนก.ย.เฉลี่ย 7.8 แสนเที่ยวต่อวัน ขณะที่ผู้โดยสารรถไฟฟ้าอยู่ที่ 1.5 แสนเที่ยวต่อวัน ส่วนเดือน ก.ย. เฉลี่ย 1 แสนเที่ยวต่อวัน
ทั้งนี้ BEM คาดการณ์สิ้นปี 2564 ผู้ใช้ทางด่วนจะกลับไปแตะราว 1 ล้านเที่ยวต่อวัน และปี 2565 จะอยู่ในระดับ 1-1.2 ล้านเที่ยวต่อวัน และคาดการณ์ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสิ้นปี 2564 อยู่ที่ 2 แสนเที่ยวต่อวัน และปี 2565 ที่เกือบ 3 แสนเที่ยวต่อวัน
นอกจากนี้ทางนักวิเคราะห์คาดโครงการสายสีส้มเบื้องต้นคาดจะสามารถออก TOR ได้ในเดือน ต.ค. นี้ ขณะที่สายสีม่วงใต้ในส่วนของงานเดินรถ บริษัทมองว่าจะเป็นการเจรจาโดยตรง และเชื่อว่ารายได้เดินรถจะสูงกว่าสายสีม่วงเหนือ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเส้นทางใต้ดิน
ส่วนโครงการ Double Deck คาดจะเห็นความชัดเจนไม่เกินกลางปี 2565 โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษา EIA
อย่างไรก็ตาม นับจากนี้ไปจะค่อย ๆ เห็นการฟื้นตัวของ BEM หลังจากยอดผู้ใช้ทางด่วนและผู้โดยสารรถไฟฟ้ากลับมาปกติ
แม้ว่าในช่วงไตรมาส 3 ปี 2564 จะยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้ยอดใช้ทางด่วนและผู้โดยสารรถไฟฟ้าชะลอตัวไป ตามที่ทางบล.เคทีบีเอสที ประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปี 2564 ที่ 110 ล้านบาท ปรับตัวลง 87% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และลดลง 45% จากไตรมาสก่อน หากไม่รวมรายได้เงินปันผลจาก TTW จำนวน 221 ล้านบาท
โดยผลการดำเนินงานธุรกิจหลักจะขาดทุนสุทธิ 111 ล้านบาท ทั้งนี้ผลการดำเนินงานที่ชะลอตัวหลัก ๆ กดดันโดยการระบาดโควิด-19 ครั้งใหม่ ทำให้รัฐประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์และเคอร์ฟิว ส่งผลให้ปริมาณผู้ใช้ทางด่วนไตรมาส 3 ปี 2564 อยู่ที่เพียง 6.7 แสนเที่ยวต่อวัน ลดลง 41% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และลดลง 13% จากไตรมาสก่อน
ขณะที่ผู้โดยสารรถไฟฟ้าอยู่ที่ 8 หมื่นเที่ยวต่อวัน ลดลง 72% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และลดลง 33% จากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานดังกล่าวถูก Offset บางส่วนโดย SG&A ที่ลดลง เป็นผลจากนโยบายการ lean ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
นอกจากนี้คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2564 ที่ 822 ล้านบาท ปรับตัวลง 60% จากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่จะฟื้นตัวสูงในปี 2565 ที่ 3.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 298% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมองว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานจะกลับมาฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2564 เป็นต้นไป ตามการเร่งฉีดวัคซีนในประเทศและผ่อนคลายล็อกดาวน์ รวมถึงปัจจัยบวกจากการทยอยกลับมาเปิดเรียนในเดือน พ.ย. 2564
ดังนั้นปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “ซื้อ” (เดิม “ถือ”) และปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 10.50 บาท (เดิม 8.50 บาท)
….
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 4,787,121,829 หุ้น 31.32%
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 1,256,259,584 หุ้น 8.22%
- บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 1,074,854,135 หุ้น 7.03%
- ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 815,356,075 หุ้น 5.33%
- สำนักงานประกันสังคม 581,811,900 หุ้น 3.81%
รายชื่อกรรมการ
- นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริษัท (รักษาการ), ประธานกรรมการบริหาร, รองประธานกรรมการบริษัท
- นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ, กรรมการ
- ม.ล. ประสบชัย เกษมสันต์ กรรมการ
- นายสุพงศ์ ชยุตสาหกิจ กรรมการ
- นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล กรรมการ