เปิดหุ้น “รับประโยชน์-ผลกระทบ” อัตราดอกเบี้ยถึงจุดต่ำสุด

สิ่งสำคัญจากการประชุมของ กนง. ครั้งดังกล่าว ทางฝ่ายวิจัยคาดว่า Highlight ต่อมุมมองการฟื้นตัวของแต่ละภาคเศรษฐกิจเพิ่มเติมด้วย


เส้นทางนักลงทุน

เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมา ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5%

พร้อมด้วยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาส 3 ปี 2564 และเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการเปิดประเทศ รวมทั้งการเร่งกระจายวัคซีน ส่งผลให้ความเสี่ยงด้านต่ำลดลง แต่แนวโน้มการฟื้นตัวยังเปราะบางและมีความไม่แน่นอน

ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว จึงยังให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ โดย กนง. เน้นย้ำว่า แม้อัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์จะพบว่ายังทรงตัวต่ำ ทั้งในระยะสั้น และระยะกลาง-ยาว

อย่างไรก็ตาม มุมมองต่ออัตราเงินเฟ้อของ กนง. สามารถประเมินได้ว่า กนง. จะมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำต่อไป

บล.เอเซีย พลัส คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ได้ตลอดปี 2564 และ 2565 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่จุดต่ำสุดแล้วในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ Market Earning Yield Gap (ส่วนต่างผลตอบแทนตลาดหุ้นกับพันธบัตร 1 ปี) ยังสูง ช่วยให้ตลาดหุ้นไทยยังน่าลงทุน

ดังนั้นได้ประเมินดัชนีเป้าหมายปลายปี 2564 ที่ระดับ 1,670 จุด และดัชนีเป้าหมายปลายปี 2565 ที่ระดับ 1,840 จุด

สำหรับหุ้นได้ประโยชน์ และได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยถึงจุดต่ำสุด

ส่วนของหุ้นได้รับประโยชน์ อย่างกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL, บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO

ต่อมากลุ่มประกัน ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ BLA

ส่วนกลุ่มที่ได้ประโยชน์หาก Fund Flow ไหลเข้า ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT, บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP, บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC, บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL, บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC

อีกทั้งกลุ่มที่มีต้นทุนหรือหนี้สินสกุลเงินต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF, บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM, บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT, บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP, บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC, บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA และบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV

นอกจากนี้กลุ่มที่เน้นการนำเข้า ได้แก่ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TFG และ บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TVO

สำหรับหุ้นที่ได้รับผลกระทบ อย่างกลุ่มเช่าซื้อ ได้แก่ บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR, บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD, บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ THANI, บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ ASK, บริษัท ไมโครลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ MICRO, บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM และ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT

พร้อมด้วยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI, บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH

สิ่งสำคัญจากการประชุมของ กนง. ครั้งดังกล่าว ทางฝ่ายวิจัยคาดว่า Highlight ต่อมุมมองการฟื้นตัวของแต่ละภาคเศรษฐกิจเพิ่มเติมด้วย โดยแบ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวเร็ว และฟื้นตัวช้าจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น

โดยพบว่ามุมมองของ กนง. สอดคล้องกับ บล.เอเซีย พลัส พอสมควร สะท้อนจากหุ้นทางฝ่ายวิจัยแนะนำในช่วงที่ผ่านมาเน้นไปที่กลุ่มค้าปลีก โรงแรม-ท่องเที่ยว เป็นหลัก ซึ่งเชื่อว่าหุ้นในกลุ่มนี้น่าจะได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป

ส่วนกลุ่มที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่า เช่น ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นในปี 2565 หรือกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อาจเน้นไปที่การเก็งกำไรจากการจ่ายเงินปันผล

ทั้งนี้เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นว่ามีหุ้นไหนมีผลต่อเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาส 3 ปี 2564

Back to top button