ตลาดที่ผิดปกติและไม่ปลอดภัย
ราคาทองที่ปรับถึง 8 รอบ ของสมาคมค้าทองคำ (ไทย) ที่มีการปรับเปลี่ยนระหว่างวันอย่างผิดปกติ เป็นบทเรียนสำหรับแมงเม่าที่เล่นตลาดเก็งกำไร
ราคาทองที่ปรับถึง 8 รอบ ประจำวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ตามประกาศของสมาคมค้าทองคำ (ไทย) ที่มีการปรับเปลี่ยนระหว่างวันอย่างผิดปกติ เป็นบทเรียนสำหรับแมงเม่าที่เล่นตลาดเก็งกำไร
ความผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์เริ่มถึงทางตันที่เพดานสูงสุด และมีความกังวลจากฝั่งยุโรปมากขึ้นว่าสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ในยุโรป ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ว่ารัฐบาลอาจจำเป็นต้องประกาศล็อกดาวน์รอบใหม่เพื่อควบคุมโควิด-19 ในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งสร้างแรงกดดันให้มีการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ตามทิศทางราคาโลหะ
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (12 พ.ย.) เป็นวันที่ 7 ติดต่อกัน และปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนยังคงแห่เข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 4.6 ดอลลาร์ หรือ 0.25% ปิดที่ระดับ 1,868.5 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นราว 2.8% ในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้แร่โลหะมีค่าอย่างโลหะเงิน แพลทินัม แพลเลเดียมส่งมอบล่วงหน้าขยับตามไปด้วย เพราะบรรดานักลงทุนได้เพิ่มการซื้อทอง และโลหะมีค่า เนื่องจากเชื่อว่า เงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างมากมีแนวโน้มจะกระตุ้นให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ดิ่งลงสู่ระดับ 66.8 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2554 จากระดับ 72.8 ในเดือนก.ย.ก็ตาม
การที่นักลงทุนยังคงแห่เข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐฯ สะท้อนให้เห็นความเปราะบางของขาขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ถึงแม้ว่า โดยสรุป หลักฐานโดยทั่วไป อ้างว่าทองคำไม่ใช่สินทรัพย์ที่ปลอดภัย เพราะเกิดจากความเชื่อมากกว่าความจริงเกิดจากการขาดความเข้าใจว่าที่หลบภัยคืออะไร
ที่ผ่านมามีผลการวิจัยและกรณีศึกษาที่ตอกย้ำนับครั้งไม่ถ้วนว่า ทั้งในทางทฤษฎีและเชิงประจักษ์ มีความเป็นไปได้ที่ทองคำหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอื่น ๆ อาจสูญเสียสถานะเป็นที่หลบภัยในท้ายที่สุด แต่หากคิดอะไรไม่ออก ทองคำก็ยังคงเป็นที่พึ่งพาทางใจของนักลงทุนชั่วคราวอยู่ต่อไป
เหตุผลเพราะว่านักลงทุนรวมสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมักจะเชื่อมโยงพอร์ตการลงทุนของพวกเขาที่อาจเข้าใจผิดว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยง พวกเขาก็อาจจะเพิ่มราคาของพวกเขาในเวลาปกติและทำให้พวกเขาเผชิญกับแรงกระแทกทั่วไปที่น่าจะทำให้พวกเขาตกต่ำในช่วงวิกฤตและทำให้สินทรัพย์ของศักยภาพที่ปลอดภัยของพวกเขาหายไป
โดยเฉพาะราคาทองคำปัจจุบัน ดูเหมือนว่าน่าจะถูกลิดรอนจากทรัพย์สินที่ปลอดภัย เพราะว่ามูลค่าใช้สอยจริง ต่ำกว่ามูลค่าในตลาดเก็งกำไรมาก
หลายปีมานี้ นับตั้งแต่สินทรัพย์ดิจิทัลมีราคาพุ่งขึ้นรุนแรง ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยเช่นทองคำหรือโลหะมีค่า เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ตัวอย่างเช่น หลังจากช่วงที่ราคาทองคำผันผวน Wall Street Journal อ้างสิทธิ์เมื่อปีที่แล้วว่า “บทบาทของทองคำในฐานะการลงทุนที่ปลอดภัยลดลง” และเพียงสามเดือนต่อมาระบุว่าได้คืนทรัพย์สินที่ปลอดภัย
ทองคำเปลี่ยนสถานะเป็นที่หลบภัยอย่างต่อเนื่องจริงหรือ? คำตอบที่ชัดเจนคือ “ไม่”
ความสับสนอาจเกิดจากการเข้าใจผิดว่าที่หลบภัยจริง ๆ คืออะไรยังมีคำถามที่นับวันไร้คำตอบมากขึ้น เพราะมีคำอธิบายเรื่องความเสี่ยงว่า ที่หลบภัยไม่มีความสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์เชิงลบกับส่วนของผู้ถือหุ้นในช่วงเวลาที่รุนแรง แต่ไม่ใช่โดยเฉลี่ย ดังนั้นจึงไม่ใช่สินทรัพย์ที่ปลอดภัยหรือการป้องกันความเสี่ยงในความหมายดั้งเดิม
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ราคาทองคำที่ร่วงลงไม่ได้หมายความโดยอัตโนมัติว่าทองคำสูญเสียสถานะปลอดภัย อย่างสิ้นเชิงในทางตรงกันข้าม ราคาที่ลดลงในช่วงเวลาที่เงียบสงบมีความจำเป็นที่ทองคำจะต้องทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยชั่วคราว
ที่หลบภัยทางการเงิน คล้ายกับความปลอดภัยของท่าเรือ ควรจะเป็นที่หลบภัยในพายุ ที่หลบภัยไม่ควรให้ที่พักพิงหรือผลตอบแทนในเชิงบวกในช่วงเวลาที่เงียบสงบ สิ่งนี้ทำให้ Safe Haven แตกต่างจากสินทรัพย์ “ปลอดภัย” ที่ปราศจากความเสี่ยงและการป้องกันความเสี่ยงแบบดั้งเดิม
ตราบใดที่ในระยะเฉพาะหน้า ราคาทองคำก็ยังมีคนเชื่อว่ามันจะปลอดภัยกว่าการถือค่าเงินสดสกุลต่าง ๆ อยู่ดี
ความหวือหวาของตลาดทองคำยามนี้ ซึ่งมีคนประมวลไว้ว่าขาขึ้นจะไม่เกิน 10! วัน จึงมีที่มาและที่ไปดังนี้