กองทุนกระหน่ำขาย
ตลท. และ ก.ล.ต. มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญของตลาดทุนในรอบปี 2564จึงนำมาสรุป มาบอกเล่าให้รับทราบกันอีกครั้ง อาจพอเป็นแนวทางของปี 2565 ได้บ้าง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
เขามีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญของตลาดทุนในรอบปี 2564
จึงนำมาสรุป มาบอกเล่าให้รับทราบกันอีกครั้ง อาจพอเป็นแนวทางของปี 2565 ได้บ้าง
ดัชนี SET ปิดปี 2564 อยู่ที่ 1,657.62 จุด เพิ่มขึ้น 14.37% จากสิ้นปี 2563
ดัชนี SET ขึ้นไปสูงสุดของปีที่ระดับ 1,660.85 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564
และลงมาต่ำสุด 1,455.55 จุด เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564
มีตัวเลขน่าสนใจคือ ดัชนี SET50 ทั้งปี เพิ่มขึ้น 8.82% ส่วน SET100 เพิ่มขึ้น 11.30% พอจะสะท้อนให้เห็นว่าหุ้นขนาดกลาง (อาจรวมถึงเล็ก) ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นพิเศษ
จำนวนหุ้น IPO ที่เข้า SET มีจำนวน 23 บริษัท มากกว่าปี 2563 ที่มีเพียง 16 บริษัท เปลี่ยนแปลง +11.20%
ทำให้มีบริษัทจดทะเบียนใน SET จำนวน 593 บริษัท
มาดูดัชนี mai ปิดสิ้นปี 2564 ที่ระดับ 582.13 จุด เพิ่มขึ้น 73.10% จากสิ้นปี 2563 ที่ระดับ 336.29 จุด
มีจำนวนหุ้น IPO ทั้งหมด 18 บริษัท เพิ่มจากปีก่อนที่มีจำนวน 12 บริษัท
อีกตัวเลขสำคัญของตลาดหุ้นไทย คือ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 93,845.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.79% จากปี 2563 ที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 68,606.91 ล้านบาท
ในจำนวนมูลค่าซื้อขายต่อวันที่ 93,845.64 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเฉลี่ยของ SET 88,443.08 ล้านบาท
และค่าเฉลี่ยของ mai อยู่ที่ 5,402.56 ล้านบาท
จำนวนลูกค้าที่เปิดบัญชีไม่นับซ้ำอยู่ที่ 2,129,035 ราย (30 พ.ย. 64) จากปี 2563 ที่มี 1,506,068 ราย
ลูกค้าหรือนักลงทุนที่ซื้อขายในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (สิ้นสุด 30 พ.ย. 64) หรือ Active Account เพิ่มจาก 518,905 บัญชี มาเป็น 792,184 บัญชี
มูลค่าการซื้อขายผ่านระบบ Internet จำนวน 18,511,133.22 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 41.05% ต่อมูลค่าการซื้อขายรวม
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (SET+mai) ในปี 2564 อยู่ที่ 20,055,076.66 ล้านบาท เติบโต 22.72% จากปี 2563 ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ 16,342,662.95 ล้านบาท
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของ SET ในปี 2564 อยู่ที่ 19,583,094.79 ล้านบาท เติบโต 21.58% จากปี 2563 ที่มี มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ 16,107,632.55 ล้านบาท
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของ mai ปี 64 อยู่ที่ 471,981.87 ล้านบาท เติบโต 100.82% จากปี 63 ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ 235,030.40 ล้านบาท
นักลงทุนสถาบัน (กองทุนอยู่ในกลุ่มนี้) ขายสุทธิใน SET จำนวน 77,335.91 ล้านบาท
ส่วนปีก่อนซื้อสุทธิ 33,455.77 ล้านบาท
มาดูกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ
ปีที่แล้วมีการขายสุทธิ 48,577 ล้านบาท
น้อยลงเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่เทกระจาดหุ้นไทยออกมากกว่า 264,385 ล้านบาท
พอร์ตของโบรกเกอร์ซื้อสุทธิ 13,672 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ซื้อไป 14,221 ล้านบาท
ส่วนนักลงทุนรายย่อยขนเงินมาซื้อสุทธิต่ออีกปีด้วยยอดเงิน 112,241 ล้านบาท แต่ซื้อลดลงจากปีก่อนที่มีจำนวน 216,708 ล้านบาท
หากดูตัวเลขของนักลงทุนแต่ละกลุ่ม
คล้ายกับว่ารายย่อยคือกลุ่มนักลงทุนที่ค้ำยันตลาดหุ้นไทย หรือเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนตลาดหุ้นไทยไปข้างหน้า
ส่วนตลาดซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) มีปริมาณการซื้อขายที่ 135,117,308 สัญญา
เพิ่มขึ้น 12.42% จากปีก่อนที่มี 120,193,573 สัญญา
โดยมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 560,653 สัญญา เพิ่มขึ้น 13.35% จากปีก่อนที่มี 494,624 สัญญา
ขณะที่มีสถานะคงค้าง สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 3,763,547 สัญญาเพิ่มขึ้น 71.46% จากสิ้นปี 2563 ที่มีสถานะคงค้าง 2,194,994 สัญญา
มีข้อมูลจากสำนักงาน ก.ล.ต.มาเพิ่มเติม
ก.ล.ต.ระบุว่า ปี 2564 มีบริษัทที่ออก IPO มากถึง 41 หลักทรัพย์ ถือเป็นจำนวนที่สูงสุดในรอบ 4 ปี และเพิ่มขึ้น 52% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ที่มีจำนวน IPO จำนวน 27 หลักทรัพย์
ส่วนบริษัทที่ยื่นคำขออนุญาตเสนอขาย IPO ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ในปี 2564 มีจำนวน 45 บริษัท (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ธ.ค. 2564) เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีจำนวน 39 บริษัท
แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของผู้ลงทุนที่มีสภาพคล่องส่วนเกิน พร้อมที่จะลงทุน
และยังแสดงให้เห็นมุมมองเชิงบวกของผู้ประกอบธุรกิจต่อเศรษฐกิจและตลาดทุนไทย รวมทั้งเป็นสัญญาณว่าผู้ประกอบธุรกิจสามารถพึ่งพาตลาดทุนเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับเพิ่มสภาพคล่องและ ความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ
หากพิจารณาในด้านมูลค่าการเสนอขาย IPO ของปี 2564 จะสูงถึง 1.37 แสนล้านบาท
ตัวเลขนี้สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศในกลุ่มอาเซียน หรือเป็นรองเพียงแค่ประเทศอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ยังมีอีก 23 หลักทรัพย์ที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาคำขออนุญาตฯ หรือได้รับอนุญาตแล้วแต่ยังไม่ได้เสนอขาย IPO
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของบริษัทที่เสนอขาย IPO ในปี 2564 โดยแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการระดมทุนสูงที่สุด 3 อันดับแรก
กลุ่มทรัพยากร (จำนวน 3 บริษัท, คิดเป็นมูลค่าการเสนอขายรวม 42.6%)
กลุ่มธุรกิจการเงิน (จำนวน 3 บริษัท, 29.1%)
และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (จำนวน 11 บริษัท, 12.3%)