แบงก์ยักษ์ใหญ่กำไรทรุดฮวบ

เป็นเรื่องที่น่าเศร้ากับตัวเลขผลประกอบการของบรรดาธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย อย่างพวกธนาคารใหญ่กำไรทรุดฮวบ ในช่วงไตรมาสที่สาม ทำให้กำไร 9 เดือนแรกของปีนี้ ช่างน่าเสียด้ายเหลือเกิน เพราะมีความล้มเหลวมาก


เป็นเรื่องที่น่าเศร้ากับตัวเลขผลประกอบการของบรรดาธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย อย่างพวกธนาคารใหญ่กำไรทรุดฮวบ ในช่วงไตรมาสที่สาม ทำให้กำไร 9 เดือนแรกของปีนี้ ช่างน่าเสียด้ายเหลือเกิน เพราะมีความล้มเหลวมาก

โดยพิจารณาจากตัวเลขกำไรของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 11 แห่ง ในไตรมาส 3/58 ทำได้แค่ 45,233.80 ล้านบาท ลบไป 16.64% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 54,260.28 ล้านบาท ขณะที่ 9 เดือน ตัวเลขกำไรทำได้เพียง 149,306.00 ล้านบาท ลบไป 2.28% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 157,626.10 ล้านบาท สาเหตุหลักเกิดจากสำรองหนี้สงสัยจะสูญ โดยเฉพาะ 3 ค่าย ส่งผลให้ภาพรวมของผลประกอบการทรุดฮวบกันเลยทีเดียว

สำหรับธนาคารที่มีกำไรสุทธิไตรมาส 3/58 ลดลงมากสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ที่มีกำไรสุทธิ 5,346.86 ล้านบาท ลดลง 3,908.36 ล้านบาท หรือ 42.23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 9,255.23 ล้านบาท

รองลงมาคือธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB มีกำไรสุทธิ 9,018.12 ล้านบาท ลดลง 4,234.16 ล้านบาท หรือ 31.95% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 13,252.28 ล้านบาท และบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO มีกำไรสุทธิ 809.78 ล้านบาท ลดลง 279.17 ล้านบาท หรือ 25.64% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,088.96 ล้านบาท

ธนาคารยอมรับว่าผลกำไรที่ลดลงมีสาเหตุหลักจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเพื่อรองรับผลกระทบจากลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่จำนวน 2 ราย คือบมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) และบริษัทลูกในประเทศอังกฤษซึ่งอยู่ระหว่างการพิทักษ์ทรัพย์ คือบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ประเทศอังกฤษ (SSI-UK)

 

ส่วนธนาคารที่กำไรลดลงมีอีก คือ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK มีกำไรสุทธิ 10,116.98 ล้านบาท ลดลง 2,399.37 ล้านบาท หรือ 19.17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 12,516.35 ล้านบาท และ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL มีกำไรสุทธิ 9,057.19 ล้านบาท ลดลง 517.46 ล้านบาท หรือ 5.41% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 9,571.65 ล้านบาท

สำหรับในแง่ของธนาคารที่มีกำไรเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT มีกำไรสุทธิ 498.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 223.30 ล้านบาท หรือ 81.18% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 275.07 ล้านบาท รองลงมาเป็น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAYมีกำไรสุทธิ 4,851.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,344.77 ล้านบาท หรือ 38.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 3,507.13 ล้านบาท

ขณะที่บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHBANK มีกำไรสุทธิ 442.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 56.15 ล้านบาท หรือ 20.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 366.69 ล้านบาท ส่วน ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMBมีกำไรสุทธิ 2,815.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 428.40 ล้านบาท หรือ 17.95% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 2,386.83 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP มีกำไรสุทธิ 1,353.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 150.82 ล้านบาท หรือ 12.55% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 1,202.31 ล้านบาท และ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP มีกำไรสุทธิ 923.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.01 ล้านบาท หรือ 6.22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 869.36 ล้านบาท

ส่งผลให้ผลประกอบการงวด 9 เดือน ของปี 2558 ออกมาไม่สดใส เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีธนาคารกำไรลดลงถึง 6 ธนาคาร สำหรับธนาคารที่กำไรลดลงมากสุด คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB มีกำไรสุทธิ 35,387.53 ล้านบาท ลดลง 5,716.62 ล้านบาท หรือ 13.91% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 41,104.15 ล้านบาท รองลงมาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB มีกำไรสุทธิ 21,724.42 ล้านบาท ลดลง 3,447.80 ล้านบาท หรือ 13.70% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 25,172.22 ล้านบาท

ส่วน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กำไรสุทธิ 33,997.07 ล้านบาท ลดลง 2,189.72 ล้านบาท หรือ 6.06% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 36,186.79 ล้านบาท สำหรับ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT กำไรสุทธิ 846.54 ล้านบาท ลดลง 53.87 ล้านบาท หรือ 6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 900.41 ล้านบาท

ขณะที่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กำไรสุทธิ 26,499.42 ล้านบาท ลดลง 1,069.57 ล้านบาท หรือ 3.88% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 27,568.99 ล้านบาท และ บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือ TISCO กำไรสุทธิ 3,006.21 ล้านบาท ลดลง 9.23 ล้านบาท หรือ 0.31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3,015.44 ล้านบาท

สำหรับธนาคารที่มีกำไรเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งในงวด 9 เดือน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ แบงก์เล็กแต่สุดแจ๋ว อย่าง บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHBANK มีกำไรสุทธิ 1,191.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4291.77 ล้านบาท หรือ 32.44% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 899.39 ล้านบาท ถัดมาเป็น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY มีกำไรสุทธิ 13,527.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,293.38 ล้านบาท หรือ 32.19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 10,233.78 ล้านบาท

ส่วน บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP มีกำไรสุทธิ 4,077.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 316.50 ล้านบาท หรือ 8.42% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 3,760.95 ล้านบาท สำหรับ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP มีกำไรสุทธิ 2,336.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 116.68 ล้านบาท หรือ 5.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 2,219.94 ล้านบาท และ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB กำไรสุทธิ 6,712.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 148.38 ล้านบาท หรือ 2.26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 6,564.04 ล้านบาท

จากการทรุดฮวบในไตรมาส 3 ทำให้ผลประกอบการรวมทั้ง 9 เดือนแต่ละแบงก์ก็มีปัญหากำไรลดลงไปด้วย ส่งผลให้หุ้นกลุ่มธนาคารหมดเสน่ห์ไปชั่วขณะเท่านั้น

 

ในระหว่างนี้ เมื่อการดำเนินงานออกมาคบถ้วนแล้ว สิ่งที่นักลงทุนอยากรู้ต่อไป คือ ธนาคารไหนยังมี อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้วยคุณภาพ (Coverage Ratio ) ของธนาคารทั้ง 11 แห่ง ว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยหรือเปล่า คือหากมีมูลค่ามากกว่า 100% ขึ้นไป แสดงว่าธนาคารมีภูมิคุ้มกันต่อระดับเอ็มพีแอลที่เกิดขึ้นในอนาคตได้สูงกว่าธนาคารที่มี Coverage Ratio ในระดับต่ำ

สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีความแข็งแกร่งของระดับเงินทุนสำรองสะท้อนจากไตรมาส 3 ณ สิ้นเดือนกันยายน ค่า Coverage Ratio ที่มีระดับสูงสุดเกิน 100% เป็น BBL อยู่ที่ 172.60% ต่อมาเป็น TMB อยู่ที่ 146.30% ส่วน BAY อยู่ที่ 137.90% สำหรับ KBANK อยู่ที่ 131.60% ขณะที่ TCAP อยู่ที่ 109% นอกจากนี้ KTB อยู่ที่ 102.50% และ SCB อยู่ที่ 100.80%

ส่วนธนาคารที่มีค่า Coverage Ratio ที่มีระดับต่ำกว่า 100% คือ CIMBT อยู่ที่ 89% ต่อมา LHBANK อยู่ที่ 84.90% ส่วน KKP อยู่ที่ 79.70% และ TISCO อยู่ที่ 74.10% ดังนั้น ต้องจับตาดูว่าธนาคารทั้ง 4 แห่งนี้ จะใช้แนวทางใดในการเพิ่มสัดส่วนดังกล่าวในไตรมาสต่อไป อาจต้องนำกำไรมากันสำรองเพิ่ม หรือใช้แนวทางลดเอ็นพีแอลให้ได้มากกว่าที่สุดหลังไตรมาสที่ผ่านมา

นั่นหมายความว่า ในอนาคตของธนาคารยังไม่มีความน่ากลัว เพราะ Coverage Ratio ส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

 

งบการเงินกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2558  (เรียงความสามารถทำกำไร)

bank58-1

(หน่วย: ล้านบาท)

 

งบการเงินกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยไตรมาส 3 ประจำงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2558 (เรียงความสามารถทำกำไร)

bank58-2

(หน่วย: ล้านบาท)

Back to top button