กำไรเพิ่ม แต่พี/อีขี้เหร่กว่าเดิม

ราคาคาและค่าพี/อีที่พุ่งขึ้นจนน่าเกลียดของ AU ยังคงไม่สะท้อนข้อเท็จจริงของผลประกอบการเอาเสียเลย


บริษัท อาฟเตอร์ ยู จํากัด (มหาชน) หรือ AU ในไตรมาสแรกของปีนี้ แม้ว่าจะมีรายได้กลับมาโดดเด่นจากการผ่อนคลายของมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล ทำให้มีรายได้เติบโตจากระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 11% และกำไรไตรมาสเดียวมากกว่าปีที่แล้วทั้งปีเสียอีก แต่อัตรากำไรสุทธิที่ยังต่ำ และราคาซื้อขายบนกระดานยังไม่ยอมลดลงมากนัก แม้จะหลุดลงมาใต้ 10.00 บาท ทำให้ค่าพีอีของหุ้นตัวนี้เมื่อสิ้นสุดปีก่อนที่ระดับ 1,700 กว่าเท่า พุ่งขึ้นไปอีกเป็นมากกว่า 1,800 เท่าเข้าไปแล้ว

ราคาคาและค่าพี/อีที่พุ่งขึ้นจนน่าเกลียดของ AU ยังคงไม่สะท้อนข้อเท็จจริงของผลประกอบการเอาเสียเลย

เป็นคำถามใหญ่สุดของนักลงทุนในตลาดยามนี้ว่าควรเสี่ยงมากน้อยเพียงใด

รายได้จากการขายของ AU สำหรับไตรมาสแรกที่ผ่านไปเพียง 198 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 179 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 มาจากการขายสินค้าโดยตรง จากร้านขายขนมหวาน และกําไรเพิ่มของเครือข่ายใหม่ของร้าน (Mikka Cafe)

ที่น่าสนใจตรงที่รายได้และกำไรที่สวนทางจากบริษัททั่วไปที่กำไรหดและมีต้นทุนจมมากมาย จนสามารถทำกำไรเพิ่มโดดเด่น นับแต่กําไรขั้นต้น 120 ล้านบาท (เทียบกับของปีก่อน ที่ทำกำไรให้เพียงแค่ 105 ล้านบาทคิดเป็นการเพิ่มขึ้นที่น่าปลื้ม โดยเฉพาะรายได้จากร้านขายขนมหวาน ให้หวานอย่างขนมหวาน มีอัตรากําไรขั้นต้นที่สูงกว่าได้จากการขายโดยเครือข่ายบริการส่งผ่านเครือข่ายส่งสินค้าแบบเดลิเวอรี่ การ (Delivery) และซื้อกลับบ้าน (Take home) เพิ่มขึ้น ผ่านแคมเปญใหม่ยังไม่โดดเด่นสุดคือ EBITDA margin ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ที่ร้อยละ 29.0 ซึ่งปรับตัวลดลงร้อยละ 2.5 จากไตรมาสที่ 1 ปี 2564 กําไรสุทธิและอัตรากําไรสุทธิที่พุ่งขึ้นรุนแรง

อัตรากําไรสุทธิในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ที่ร้อยละ 7.5 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากอัตรากําไรสุทธิที่ร้อยละ 6.6 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เนื่องจากรายได้รวมที่เพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการในการควบคุม การแพร่ระบาดของรัฐบาลและสัดส่วนรายได้จากร้านขายขนมหวานเพิ่มขึ้นรวมถึงรายได้จากการดำเนินงานและการลงทุนใหม่ที่เพิ่มขึ้น

ราคาหุ้นล่าสุดใต้ 10.00 บาท แต่ค่าพีอีที่ 1,707 เท่า แถมยังมีกำไรสะสมเหลือน้อยมากเพียงแค่ 7 ล้านบาทเศษเท่านั้น น่าสยดสยองไม่ธรรมดาทีเดียวแต่ผู้ถือหุ้นก็ยังเหนียวแน่น หาเหตุผลไม่ได้ เพราะ AU ถือเป็นหุ้นที่ราคาแรงโดยหาเหตุผลอธิบายยากในตลาดหุ้นไทยยามนี้ มาตั้งแต่แรกเข้าในตลาดด้วยราคาพาร์เพียงแค่ 0.25 บาท หรือ 1 สลึงเท่านั้น เป็นปรากฏการณ์พิเศษที่อาจจะถือเป็นข้อยกเว้นได้

ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารของบริษัทนี้ พยายามปรับปรับโมเดลธุรกิจใหม่ ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด จากการที่รายได้จากการทานในร้านคิดเป็น 90% ของยอดขายรวมของ AU ในช่วงก่อนที่ COVID จะระบาด ได้ลดลง หลังจากที่เกิดโรคระบาดเนื่องจากข้อกำหนดเกี่ยวกับการกินอาหารในร้าน และไม่มีนักท่องเที่ยวมากเหมือนเดิม เปลี่ยนมาเป็นการขายของนำกลับบ้าน และลูกค้าขาจรมากขึ้น

การปรับตัวให้เหมาะสมกับ สถานการณ์อย่างรวดเร็ว ด้วยการงัดกลยุทธ์ใหม่ได้แก่ 1) ปรับพื้นที่ บางส่วนของร้านเป็น AfterYou Marketplace ซึ่งมีการวางจำหน่ายสินค้าใหม่สำหรับการซื้อกลับบ้าน เพื่อเพิ่มยอดขายต่อใบเสร็จ 2) เปิด cloud kitchen เพื่อสนับสนุนบริการ delivery 3) เน้นไปที่ร้านแบบ pop-up stores เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า และ 4) เปิดดำเนินการร้าน Mikka Cafe

กลยุทธ์ เหล่านี้น่าจะช่วยหนุนยอดขายของ AU และช่วยบรรเทาผลกระทบจากยอดขายที่ลดลงของลูกค้าที่ทาน จนทำให้ยอดรายได้จากการขายลด ลงไปแค่ 19% แต่ก็มีผลต่อกำไรที่เปลี่ยนเป็นขาดทุนต่อเนื่องในไตรมาสที่สองและสาม……ยังดีที่ไตรมาสที่สี่สามารถกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง ทำให้ทั้งปีสามารถบันทึกกำไรได้ที่ 4.04 ล้านบาท แม้จะลดลงไปมากถึง 93% จนบริษัทต้องงดจ่ายปันผลประจำไปเรียบร้อย

การพยายามเดินหน้า กลยุทธ์ขยายแฟรนไชส์ Mikka Cafe ทั้งในแบบที่ถือหุ้นร่วมเอง และในแบบแฟรนไชส์ใหม่ โดยในระยะต่อไปบริษัทมีแผนจะเพิ่มจำนวนสาขาร้าน Mikka Café เป็น 100 ร้านภายในสิ้นปีนี้ และจะขยายเป็นประมาณ 500 สาขาทั่วประเทศในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ส่วนแบ่งรายได้จากร้านแบบใหม่นี้เพิ่มเป็น 10-15% ของรายได้รวมจากปัจจุบันที่มีจำนวนสาขา ที่ระดับ 62 ร้าน ซึ่งคิดเป็น 2% ของรายได้รวมเท่านั้น

เพียงแต่ข้อดีของบริษัทที่กลับเป็นขาขึ้นครั้งใหม่นี้ ยังถูกกดดันจากสถานการณ์ และค่าพี/อีที่สูงลิ่วสามารถน่าจะเป็นภาพลักษณ์ ต้องปล่อยให้การต่อสู้ของ “ทายาทอสูร” อย่างเอาเป็นเอาตายจบลงเสียก่อน

Back to top button