เศรษฐีอินเดียจะเป็นนายกฯ อังกฤษ
ลูกเขยของมหาเศรษฐีชาวอินเดียตระกูลใหญ่ กำลังจะมีโอกาสได้เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ชนิดที่ทำให้คนอังกฤษต้องกล้ำกลืนบทกวีของรัดยาร์ด คลิปปิ้ง
ลูกเขยของมหาเศรษฐีชาวอินเดียตระกูลใหญ่ กำลังจะมีโอกาสได้เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ชนิดที่ทำให้คนอังกฤษต้องกล้ำกลืนบทกวีของรัดยาร์ด คลิปปิ้ง ที่เคยโด่งดังในเรื่อง “ภารกิจของคนขาว” ด้วยการนำอารยะไปให้แก่คนเถื่อนที่ไม่เต็มใจ หรือ “white man’s burden” civilising the unwilling savage เบื้องหลังจักรวรรดินิยมตะวันตกไว้ในลำคอ และต้องหันมาพิจารณาคำพูดแบบบยอมจำนนของรามโมหัน รอยในยุคอาณานิคมที่บอกว่า “อินเดียยังคงเป็นอินเดียวันยังค่ำ”
ที่น่าสนใจตรงที่เขาจะขึ้นมาในตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม ที่มีสมาชิกมากสุดในอังกฤษเสียด้วย
คำถามในเชิงประวัติศาสตร์คือ จอห์น บูล (จักรวรรดิอังกฤษ) ที่เคยเป็นดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดินกำลังจะมีผู้นำที่เคยมาจากอาณานิคมของตนเองโดยไม่รู้สึกเสียหน้าได้อย่างไร
คำถามนี้คนฝรั่งเศสเคยถูกถามมาแล้วเมื่อนักฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศสกว่าค่อนทีมเป็นลูกหลานของคนในดินแดนอาณานิคมเก่าที่มีอยู่ทั่วโลกมาแล้ว เช่น ซีเนอดีน ซีดานจากแอลจีเรีย และพาทริก วิเอร่าจากเซเนกัล …และไม่เคยมีคำตอบเช่นกัน
คนที่กำลังเป็นตัวเต็งจะขึ้นมาเป็นนายกฯ อังกฤษต่อจากนายบอริส จอห์นสัน คนที่ผมยุ่งตลอดเวลา (ไม่สมกับเป็นนักเรียนจบออกซฟอร์ดเลย) มีอยู่หลายคน แต่ที่คาดว่าจะเป็นคู่แข่งขันจริงมีแค่ 2 คนเท่านั้น คือนายริชี ซูแนค และนางเอลิซาเบธ ทรัสส์ หลังนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรี ซึ่งเคยเป็นผู้นำของการสร้างนโยบายถอนตัวจากสหภาพยุโรป ทนกระแสกดดันไม่ไหวจนต้องยื่นใบลาออก เมื่อ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา
คนที่อยู่ในข่ายเริ่มส่งชื่อตัวเองลงแข่งขันชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฯ และก้าวเข้าสู่สังเวียนชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรคนถัดไปได้แก่นางเอลิซาเบธ หรือลิซ ทรัสส์ วัย 46 ปี ได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ ควบตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสตรีและความเท่าเทียมหลังได้รับการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน
แม้ในช่วงแรกโพลส่วนมากชี้ว่าซูแนคยังคงได้รับความนิยมน้อยกว่าในกลุ่มสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมที่ต่างจะลงคะเเนนเลือกผู้สมัครที่ชื่นชอบในการลงคะเเนนภายในวันที่ 5 สิงหาคม ซึ่งจะมีการประกาศผลขึ้นในวันที่ 5 กันยายน โดยการต่อสู้หลัก ๆ คือเรื่องจะเลือกให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเเละลดภาษี แล้วผุดแคมเปญสร้างเขตการลงทุนใหม่กระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ “ท่าเรือปลอดภาษีเต็มรูปแบบ” มีภาระทางภาษีต่ำเพื่อขับเคลื่อนการลงทุนและการก่อสร้าง เพื่อส่งเสริม“อุตสาหกรรมมูลค่าสูง” เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งนางทรัสส์เสนอ
ในทางตรงกันข้ามกับนโยบายหลักในปัจจุบัน ซึ่งนายซูแนคนำเสนอ ที่จะดำเนินนโยบายธุรกิจตามปกติเเละขึ้นภาษีแบบเดิมเพื่อชดเชยจากการเพิ่มงบประมาณด้านสวัสดิการส่งคมสวัสดิการประกันภัยเเห่งชาติและการจัดเก็บภาษีสิ่งเเวดล้อมจากการใช้จ่ายพลังงานนายซูแนค ได้กล่าวว่า ภาระทางภาษีนั้นจำเป็นที่จะต้องถูกลดหย่อนลง แต่ไม่ใช่ในทันทีทันใด โดยอ้างว่ามันจะต้องเกิดขึ้นอย่างเเน่นอน แต่ต้องรอเวลา นอกจากนี้เขายังเชื่อว่าตนจะเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุด ที่ควรถูกเลือกเพื่อเอาชนะพรรคเเรงงาน ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า เพราะย้ำแก้เงินเฟ้อเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดเฉพาะหน้า โดยไม่ให้ทำให้สถานการณ์เลวร้าย แต่จะพิจารณาการลดหย่อนภาษีในรัฐสภาอย่างรับผิดชอบ เพราะไม่ต้องการทำอย่างนั้นเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง
ถึงกระนั้นทั้งคู่กลับมีนโยบายเรื่องคนเข้าเมืองที่ตรงกันคือทั้งสองคนรับปากว่าจะต่อสู้กับปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย และสนับสนุนมาตรการส่งผู้ลักลอบเข้าเมืองไปยังประเทศรวันดา ซึ่งขัดแย้งกับ ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (European Court of Human Rights-ECHR) ได้มีคำสั่งห้ามเที่ยวบินสำหรับผู้ลักลอบเข้าเมืองรวันดา แต่นางทรัสส์ระบุว่า ต้องการเห็น “นโยบายรวันดา” เดินหน้าต่อไป รวมถึงการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ป้องกันตามแนวพรมแดนของอังกฤษอีก 20% และเพิ่มความเข้มแข็งของกฎหมายสิทธิพลเมืองของอังกฤษ
ขณะที่ซูแนค ระบุว่า นโยบายควบคุมคนเข้าเมืองจะเป็น “1 ใน 5 นโยบายฉุกเฉิน” และหากประเทศไหนไม่ให้ความร่วมมือในการตัดปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมือง เขาจะทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศนั้น ๆ ทั้งในเรื่องความช่วยเหลือ การค้าและการออกวีซ่า โดยทันที
แม้ว่าเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา นายซูแนคจะออกมายอมรับว่า ตอนนี้เขาเป็น “มวยรอง” หลังจากที่ผลสำรวจคะแนนนิยมล่าสุดชี้ให้เห็นว่า นางทรัสส์มีคะแนนนำโด่งในหมู่สมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งจะลงคะแนนเสียงก่อนวันประกาศผลเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค 5 ก.ย.นี้ แต่ผู้ชำนาญการในการเมืองเลือกตั้งของอังกฤษบอกว่าเป็นแค่ทางเทคนิคของการเลือกตั้งเท่านั้น เพราะหากพิจารณาว่า เส้นทางการเมืองของริชีถือว่าเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังชนะการเลือกตั้ง ส.ส. สมัยแรกไม่ถึง 3 ปี เขาได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการรัฐสภาในยุคของนายกฯ เทเรซา เมย์ จากนั้นเดือน ก.พ. 2020 นายกฯ คนต่อมาคือนายบอริส จอห์นสัน ก็แต่งตั้งให้ซูแนคเป็นรัฐมนตรีคลังในวัยเพียง 39 ปี ทำให้ริชีกลายเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนี้ที่อายุน้อยที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ…โอกาสที่เขาจะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษก็เป็นไปได้สูงมาก
ในทางสังคมแล้วนายซูแนคมีแต้มต่อทางการเมืองสูงมาก เพราะว่าพ่อตาหรือพ่อภรรยาของเขาได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีอินเดียที่ร่ำรวยมากจากการร่วมก่อตั้งบริษัท อินโฟซีส จนเป็นเจ้าของฉายา ‘บิล เกตส์ แห่งอินเดีย’ เป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีที่มั่งคั่งที่สุดในชมพูทวีป
ส่วนภรรยาของเขาแม้จะมีหุ้นใน Infosys ไม่ถึง 1% แต่ก็คิดเป็นมูลค่าถึง 700 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มากกว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ประมุขของอังกฤษที่มีทรัพย์สินส่วนพระองค์ทั้งหมดเพียง 365 ล้านปอนด์ (ข้อมูล ณ ปี 2022)
ความร่ำรวยของริชีและภรรยา ทำให้ทั้งคู่ตกเป็นเป้าโจมตีทางการเมือง โดยเฉพาะประเด็นที่ถูกกล่าวหาว่าพยายามหลบเลี่ยงภาษีด้วยการทำธุรกรรมผ่านดินแดนที่เป็นสวรรค์ของการฟอกเงิน อาทิ หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ไอส์แลนด์ และเคย์แมน ไอส์แลนด์ อย่างไรก็ตาม ทั้งคู่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำผิดกฎหมาย
ต่อมาภรรยาของเขา ตัดสินใจช่วยสามีลดแรงกดดันทางการเมือง ด้วยการประกาศยอมจ่ายภาษีเงินได้ในธุรกิจต่างประเทศให้กับรัฐบาลอังกฤษ แม้ตามกฎหมายเธอไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพราะถือสัญชาติอินเดีย และไม่ใช่พลเมืองของอังกฤษ
หากริชี ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษจริง ปรัชญาจักรวรรดินิยมของรัดยาร์ด คลิปปิ้งที่ว่าบทกวีเกี่ยวกับสงครามฟิลิปปินส์-อเมริกัน (1899-1902) ที่เตือนสติสหรัฐอเมริกาเพื่อควบคุมการควบคุมอาณานิคมของผู้คนชาวฟิลิปปินส์และประเทศของพวกเขา เพื่อเฉลิมฉลองการเป็นจักรวรรดินิยมรุ่นต่อจากอังกฤษ เพื่อแสดงให้เห็นว่า John Bull (สหราชอาณาจักร) และลุงแซม (ยู…… ) ส่งมอบคนที่มีชีวิตชีวาของโลกไปสู่อารยธรรม ด้วยสิต่อจากสันติสุขของอังกฤษหรือ Pax Britanicaในฐานะ ภาระของชายผิวชาว และเตือนเกี่ยวกับต้นทุนส่วนบุคคลที่ต้องเผชิญทนและจ่ายในอัตราสูงลิ่วในการรักษาจักรวรรดิเอาไว้
ภารกิจของคนขาวจากนี้ไปที่อังกฤษยามที่เหลือแต่อดีต ภายใต้กำมือของริชี อาจจะหมายถึงทางกลับกันนั้นคือ “ภารกิจย้อนศรของอินเดีย”
จะไปได้ดีแค่ไหน วันที่ 5 กันยายนนี้ก็คงเริ่มมีคำตอบแล้ว