สงครามเย็น–สงครามร้อน
กรณีของไต้หวันที่ปะทุความขัดแย้งครั้งล่าสุดกับสหรัฐฯ และจีน กำลังกลายเป็น “สงครามทางเลือก” ครั้งใหม่สำหรับอนาคต
กรณีของไต้หวันที่ปะทุความขัดแย้งครั้งล่าสุดกับสหรัฐฯ และจีน กำลังกลายเป็น “สงครามทางเลือก” ครั้งใหม่สำหรับอนาคต ที่อาจจะต้องกลายเป็นได้ทั้งทางเลือก และความเสี่ยงไปพร้อมกัน
แม้ปฏิกิริยาจากจีนจะดูแข็งกร้าวเป็นพิเศษแต่เชื่อขนมกินล่วงหน้าได้เลยว่า จีนและสหรัฐฯ จะไม่มีสงครามร้อนโดยตรงเกิดขึ้น ท่าทีแข็งกร้าวทางการทูตเฉพาะหน้าเกิดขึ้นในลักษณะทฤษฎีเกมมากกว่า
ยื่นการหารือทางทหารระหว่างทั้งสองชาติคือสหรัฐฯ และจีนที่เริ่มมีขึ้นระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมของจีนและสหรัฐฯ และใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมง ที่การประชุมสุดยอดด้านความมั่นคงแชงกรีล่า ไดอะล็อก ที่ทั้งสองฝ่ายต่างระบุว่า “มีความจริงใจ” โดยนายออสติน ตัวแทนสหรัฐฯ ระบุถึงความสำคัญในการรักษาการติดต่อสื่อสารอย่างเต็มที่กับกองทัพจีน เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดต่าง ๆ ก็ทำให้ค่อนข้างมั่นใจว่า จะไม่ลุกลามเป็นสงครามร้อนขนาดใหญ่ได้
ปฏิบัติการทางทหารเช่นไต้หวันระบุว่า ได้ส่งเครื่องบินรบหลายลำขับไล่เครื่องบินรบ 30 ลำ ที่จีนส่งเข้ามาในเขตป้องกันภัยทางอากาศของไต้หวัน เมื่อปลายเดือน พฤษภาคม ซึ่งเหตุการณ์นี้ถือเป็นการรุกล้ำครั้งใหญ่ที่สุดของจีนนับตั้งแต่เดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ตลอดจนการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ให้แก่ไต้หวัน 22 ลำ เครื่องบินต่อต้านเรือดำน้ำ และยังมีการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ และการเตือนภัยล่วงหน้า และการที่ตัวแทนของพรรคเดโมแครตนำโดยประธานพรรคคือนางเพโลซี เดินทางไปไต้หวันจะเท่ากับการทูตเชิงรุกที่จีนยอมไม่ได้
ที่เป็นเช่นนี้เพราะทางการจีนตีความว่าข้อตกลงรับรองจีนเดียวของนิกสันในสมัยการทูตปิงปองในครั้งเมื่อ 50 ปีก่อนคือการรับรองว่าจีนมีเพียงหนึ่งเดียว แต่ทางสหรัฐฯ ก็ยังคงเล่นเกมที่ว่า มีกฎหมายให้สหรัฐฯ ช่วยเหลือไต้หวันหากถูกจีนรุกราน
ท่าทีที่แตกต่างกันทำให้จีนที่ถือว่าไต้หวันเป็น 1 ใน 5 ข้อต้องห้ามของจีน (ไต้หวัน ทิเบต กลุ่มประชาธิปไตย ฝ่าหลุนกง และชนกลุ่มน้อยอุ๋ยเก้อในดินแดนตะวันตกของจีนไม่อาจจะยินยอมให้ถูกลูบคมได้)
จีนและไต้หวันจึงมีความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ ทั้งที่บางครั้งควรร่วมมือกันจีนและไต้หวันแบ่งแยกกันในช่วงสงครามกลางเมืองช่วงยุคทศวรรษ 1940 แต่รัฐบาลจีนยืนกรานว่า จะนำเกาะไต้หวันกลับคืนมาในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และจะใช้กำลังหากจำเป็น ในขณะที่ไต้หวันปกครองโดยรัฐธรรมนูญของตัวเอง มีการเลือกตั้งผู้นำตามระบอบประชาธิปไตย และมีทหารที่ประจำการอยู่ราว 300,000 นายในกองทัพของไต้หวัน
ท่าทีทางการทูตของประเทศต่าง ๆ ในโลกกับประเด็นไต้หวันคือ ทางการทูตแล้วเพียงไม่กี่ประเทศที่ยอมรับไต้หวัน แต่ส่วนใหญ่ยอมรับรัฐบาลจีนในกรุงปักกิ่งแทน แต่ยังความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการกับไต้หวัน ต่อเนื่องตลอดมา
ท่าทีตีสองหน้าของชาติต่าง ๆ กับจีนและไต้หวันนี้ เป็นความเข้าใจกันมายาวนานหลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น และดูเหมือนกับว่า ความมั่งคั่งของจีนจะทำให้การรุกรานทางทหารของจีนต่อไต้หวันยากจะเกิดขึ้น ……แต่ไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้
สงครามแห่งศักดิ์ศรี จึงไม่น่าแปรสภาพเป็นสงครามร้อนจริง แต่สภาพสงครามเย็นระหว่างจีนกับสหรัฐฯ น่าจะยังเกิดขึ้นต่อไปอีกยาวนาน เพียงแต่จะไม่ใช้ข้ออ้างเรื่องอุดมการณ์แบบ 3 ศตวรรษก่อนที่ล้ำสมัยไปแล้ว
อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ถือเป็นสมรภูมิสำคัญในการต่อรองอำนาจระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางความตึงเครียดที่กลับมาเพิ่มสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยรัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฎหมายส่งเสริมการผลิตชิปภายในประเทศ พร้อมเงื่อนไขที่อาจกลายเป็นทางแยกครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ นำเหนือจากเจ้าของแร่ธาตุ
เหตุผลคือจีนเป็นแหล่งรวมทรัพยากรที่ใหญ่สุดของโลก นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำรอยเตอร์สรายงานว่า สหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชื่อว่า “Chips plus หรือ ชิปพลัส” (CHIPS+) เมื่อปลาย ก.ค.ที่ผ่านมา รอการลงนามโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในวันที่ 9 ส.ค.นี้ กลายเป็นที่จับตาของบริษัทผู้ผลิตชิปทั่วโลกชิปพลัสอุดหนุนให้กับบริษัทลงทุนผลิตชิปในสหรัฐฯ ด้วยเงื่อนไขห้ามบริษัทที่ได้รับเงินอุดหนุนทำธุรกรรมเกี่ยวกับขยายการผลิตหรืออัพเกรดเทคโนโลยีชิปรุ่นใหม่ในจีน หรือประเทศอื่น ๆ ที่สหรัฐฯ กำลังเร่งกระบวนการ เป็นเวลา 10 ปี
กฎหมายชิปพลัสจะช่วยให้สินค้าตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงเครื่องล้างจานราคาถูกลง และยังจะช่วยสร้างตำแหน่งงานใหม่ ทั้งสร้างความมั่นใจว่า ซัพพลายเชนของอุตฯ ชิปของสหรัฐฯ จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติปีนี้นับจากสิ้นสุดปีไปบริษัทกำลังจับตากฎหมายฉบับใหม่ของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดและทบทวนแผนการลงทุนในจีน
ย่างก้าวของการเริ่มของร่างกฎหมายชิปพลัส ของสหรัฐฯ ยามนี้ จะส่งเสริมและทำลายล้างพร้อมกันไปตามที่ว่านั้น เรื่องจะมีความสำคัญมากขึ้น มากกว่าการกีดกันทางสินค้าซึ่งปกติธรรมดา ๆ ถึง เรื่องวุ่นวายทำนองนี้ เป็นได้ทั้ง “โอกาสและวิกฤติ” พร้อมกันไปเลยแล้วราคาหุ้นน่าจะถูกแค่ไหน
เป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างมากกว่าคำถามเรื่องสงครามร้อนหรือเย็นในกรณีไต้หวัน หลายสิบเท่า