หุ้น กับ พาเรโต้
ตลาดหุ้นไทย สามวันดีสี่วันไข้ วิ่งซิกแซ็กไปมาในกรอบแคบๆ ระหว่างดัชนีที่ 1,620-1640 เสมือนไร้ทิศทางที่เปิดช่องให้นักวิเคราะห์คาดเดาต่าง ๆ นานา
ตลาดหุ้นไทยยามนี้ สามวันดีสี่วันไข้ วิ่งซิกแซ็กไปมาในกรอบแคบ ๆ ระหว่าง ดัชนีที่ 1,620-1640 (เสมือนไร้ทิศทาง ที่เปิดช่องให้นักวิเคราะห์คาดเดาต่าง ๆ นานา ทำให้ขาขึ้นของตลาดถูกจำกัดด้วยข่าวร้ายที่มาเป็นระลอก
ในสถานการณ์เช่นนี้ คนที่มีประสบการณ์ย่อมรู้ดีว่าหากใช้ทฤษฎีพาเรโต้มาปรับใช้แล้วจะมีโอกาสทำกำไรมหาศาลแทนที่จะขาดทุนมหาศาลจากการเข้าซื้อที่ผิดพลาด
เพื่อย้อนรอยดังกล่าว ขอเอ่ยถึงต้นกำเนิดของทฤษฎีพาเรโต้สักเล็กน้อย เพราะนี้คือทฤษฎีที่ถูกนำไปใช้ทั่วไปทั้งเรื่องของความชอบธรรมของอำนาจรัฐ และทฤษฎีวัดประสิทธิภาพของแรงงานในบริษัทด้วยจนกลายเป็นทฤษฎีทั่วไปเสียแล้ว นั่นคือหลักการ 20:80 อันลือลั่น
ใจความสำคัญคือในแง่การประเมิน % ที่ให้ผลผลิตมากถึง 80% เอาไว้ ส่วนพนักงานที่เหลือจะเข้าหรือออกไปก็ไม่มีผลต่อพลังการผลิตของบริษัทหรือองค์กร
ความไม่เท่าเทียมกันที่ถือเป็นความชอบธรรมนี้ถูกนำไปใช้กับหุ้นในตลาดด้วยโดยมองว่า หุ้นจำนวนเพียงแค่ 20% ที่เป็นหุ้นซึ่ง มีมาร์เก็ตแคปประมาณโดยรวมแล้วกินส่วนแบ่ง ประมาณ 80% ของมาร์เก็ตแคปของตลาด ถือว่าเป็นโครงสร้างที่ปกติของตลาดหุ้น
ที่มาของทฤษฎีพาเรโต้มาจากชายชาวอิตาลีแห่งคริสต์ศตวรรษที่19 ที่ชื่อ วิลเฟรโด เฟรดโดริโก้ ดามาไซพาเรโต้ หรือวิลเฟรโด้ พาเรโต้มีอายุระหว่าง 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2391–19 สิงหาคม พ.ศ. 2466)
ยุคสมัยดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็นยุคที่ยุโรปมีความผันผวนทางการเมืองค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการปฏิวัติชนชั้นกลางปี ศ.ศ. 1848 เป็นต้นมาที่แพร่กระจายจากยุโรปไปสู่ทั่วโลก
ในยุคก่อนหน้าเขาเกิดมา พ่อแม่นักปฏิวัติของเขาต้องลี้ภัยไปอยู่ในเยอรมนี เพื่อเข้าร่วมในขบวนการรวมชาติอิตาลียุคใหม่ ซึ่งชื่อวิลเฟรโด้ของเขา ก็เป็นชื่อที่ตั้งตามวีรชนนักปฏิวัติของเยอรมันร่วมสมัยเดียวกับมาร์กซ์และเองเกลส์ ที่พ่อแม่เขาสนิทสนม
วัยเด็กที่เติบโตในต่างประเทศทั่วยุโรปทำให้เมื่อพ่อแม่ย้ายกลับไปอิตาลี วิลเฟรโด้ต้องเพิ่มพูนคุณภาพของความรู้ตนเองทำงานหลากหลากหลายอาชีพ เป็นทั้ง วิศวกรโยธา นักคณิตศาสตร์ นักสังคมวิทยา นักเศรษฐศาสตร์ และนักการเมือง
ผลงานที่โดดเด่น ของเขา ที่ยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้คือหลักการพาเรโต้ หรือ Pareto Principle เพราะถูกนำไปใช้อธิบาย กลยุทธ์การวิจัยที่ว่าด้วยป่าเศรษฐศาสตร์การเมืองจากศาสตร์ที่เป็นเชิงคุณภาพและปรัชญานับต่อยุคของอาดัม สมิธ ให้กลายเป็นสังคมศาสตร์เชิงปริมาณที่ว่าไว้ด้วยตัวเลขด้วยหลักคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าได้มีส่วนสำคัญในด้านเศรษฐศาสตร์หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาการกระจายรายได้และในการวิเคราะห์ทางเลือกของแต่ละบุคคล
ที่สำคัญช่วยตอกย้ำให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำจากการมีชั้นสูงไม่น้อยกว่า 20% ถือว่าสังคมยังมีความชอบธรรมหลงเหลืออยู่จากคุณภาพที่ไม่เท่าเทียมกัน มิใช่เพราะโครงสร้างของสังคมเปิดช่องให้อภิสิทธิ์ชน
นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา หลักการพาเรโต้ถือเป็นเครื่องมือทางสถิติที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นผลจากการสังเกตการณ์ที่เป็นจริงว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในอิตาลีมาจากประชากรจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปรากฏว่าอัตราส่วน 80:20 นี้เป็นจริงในวงการอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน และยังสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
ตามหลักการนี้ ไม่จำเป็นว่าคุณต้องทำ 80/20 เป๊ะ ๆ ตามสถิติ แค่ต้องเข้าใจว่ามันเป็นเพียงเครื่องชี้วัด หนึ่งเท่านั้น เพราะ Concept หลัก ๆ ของกฎ 80/20 ก็คือ หาส่วนเล็ก ๆ ที่ทำให้ได้ผลลัพธ์มหาศาล อาจสอดคล้องกับสำนวนไทยบ้านเราที่ว่า “ทำน้อยแต่ได้มากเป็นความชาญฉลาด”
หลักการพาเรโต้นั้นมักถูกเข้าใจผิดว่า หมายถึง การทำงานน้อย ๆ ผลิตน้อย ๆ และใช้เวลาน้อย ๆ เพราะผลลัพธ์ที่ได้จากการทำน้อย ๆ ไว้ก่อนโดยไม่ได้วางแผนการทำงาน ก็อาจจะได้งานออกมาที่มีข้อผิดพลาดมากขึ้น และสุดท้ายต้องเสียเวลามากกว่า 80 % ไปกับการแก้ไข จริง ๆ แล้วหลักการพาเรโต้ หมายถึงทำงานอย่างฉลาดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้เหลือเวลาไว้ไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์
สิ่งที่สำคัญที่สุดของหลักการ 80/20 ก็คือ ความสามารถในการวางเป้าหมายและทำให้ได้ แต่ขั้นตอนในการทำนี่แหละคือสิ่งที่สำคัญ ว่าจะทำอย่างไรที่ไม่ต้องทำถึง 100% หรือ 80% แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นได้มากถึง 80-100% ซึ่งวิธีการที่ว่าก็คือ 20%
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับหลักการ 80/20 ดังนั้นจึงต้องการให้เรียนรู้การใช้หลักการ 80/20 เพื่อเพิ่มกำไรในองค์กร เพื่อใช้เวลาอย่างถูกต้องและมีคุณค่าในทีม ทำความเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญจริง ๆ อะไรคือสิ่งจำเป็นในตอนนี้ และเป้าหมายที่แท้จริงขององค์กรในอนาคต
ในตลาดหุ้น การค้นหาหุ้นที่เรียกว่าบลูชิพ 20% ที่กำกับทิศทางของดัชนีรวมตลาดจึงมีการจัดระเบียบไว้ในกลุ่มชั้นนำของตลาดสำหรับตลาดหุ้นไทยคือ SET50 และ SET100 ซึ่งบรรดากองทุนเลือกถือไว้แต่นั่นก็ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนเท่ากับตลาด ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายหลัก เพราะหากต้องการ “เอาชนะตลาด” ก็ต้องเลือกหุ้นขนาดเล็กที่ซุ่มซ่อนเพื่อทำให้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด
ตรงนี้แหละที่เป็นปัจจัยชี้ขาดของบรรดาผู้จัดการกองทุนหรือนักลงทุนสถาบันทั้งหลาย โดยมีนักวิเคราะห์คอยช่วยเหลือ ในฐานะพี่เลี้ยง
ประเด็นสำคัญของพาเรโต้กับตลาดหุ้นอยู่ตรงนี้เองว่าการเลือกเชื่อนักวิเคราะห์อย่าง เด็กแนว หรือเอ็ดดี้ ……แล้วเจ๋งกว่ากันในแง่ผลลัพธ์