บจ.กับการเตรียมตัวรับ ‘คาร์บอนเครดิต’

ท่ามกลางของกระแสโลก ที่ทุกคนกำลังมุ่งเน้นไปสู่การปกป้องโลกจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่มีความรุนแรงของธรรมชาติ


ท่ามกลางของกระแสโลก ที่ทุกคนกำลังมุ่งเน้นไปสู่การปกป้องโลกจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่มีความรุนแรงของธรรมชาติ ที่มีผลมาจากปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก ทำให้แต่ละประเทศต่างตื่นตัวในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี, การจูงใจให้ลดการปล่อยคาร์บอนผ่านการจัดเก็บภาษีคาร์บอน รวมถึงการชดเชยคาร์บอน ผ่านการซื้อคาร์บอนเครดิตกับ ผู้ที่มีสิทธิ์ หรือซื้อใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate:REC)

โดยตลาดซื้อขายคาร์บอน (Carbon markets) คือการนำกลไกตลาดมาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยอาศัยหลักการที่ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีต้นทุนที่ต้องจ่าย (Carbon pricing)

ขณะที่คนที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกก็จะได้รับผลตอบแทน กล่าวคือ หากองค์กรใดมีการดำเนินงานที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่ากรณีการปล่อยตามปกติ หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าเพดานที่ทางการกำหนด Cap” จะได้รับคาร์บอนเครดิตซึ่งสามารถนำคาร์บอนเครดิตหรือสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหลือไปขายให้กับองค์กรหรือบุคคลอื่นที่ต้องการซื้อเพื่อนำไปชดเชยสถานะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองให้ลดลงทดแทนการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรียนกระจกโดยตรง

โดยท้ายที่สุดแล้วระบบตลาดซื้อขายคาร์บอนจะทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกสุทธิ (ปริมาณที่ปล่อยออกมาหักกับปริมาณที่สามารถลดหรือดูดซับได้) ทั้งประเทศลดลง

คาร์บอนเครดิตที่สามารถซื้อขายได้คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด ได้จากการทำโครงการต่าง ๆ และได้รับการรับรองจากมาตรฐานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากองค์กรหนึ่งดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานซึ่งทำให้ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกลงเมื่อเทียบกับการดำเนินงานปกติ (Baseline emission) หรือหากองค์กรหนึ่งดำเนินโครงการปลูกป่าที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่ากรณีตามปกติปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงหรือถูกดูดซับมากขึ้นนี้คือ คาร์บอนเครดิต นั่นเอง

ทั้งนี้เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกมักถูกวัดหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) ทำให้มีการเรียกเครดิตที่ได้จากการลดก๊าซเรือนกระจกว่าคาร์บอนเครดิตและเรียกการซื้อขายก๊าซเรือนกระจกว่าตลาดซื้อขายคาร์บอน

ผู้ประกอบการควรเริ่มดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกและซื้อขายคาร์บอนเครดิตตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเตรียมการเพื่อเตรียมพร้อม ก้าวสู่องค์กรแห่ง Net zero emission ซึ่งเป็นเทรนด์โลกพร้อมทั้งสร้างความคุ้นชิน และเพิ่มพูนองค์กรความรู้ในการซื้อขายคาร์บอนในช่วงที่ราคาคาร์บอนยังไม่สูงมากนัก

อีกทั้งเพื่อเป็นแต้มต่อในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศที่มีความเข้มงวดต่อมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมสูงเช่นยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย

รวมถึงช่วยดึงดูดลูกค้าที่มีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตลอดจนสามารถนำผลการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกและซื้อขายคาร์บอนเครดิตไปเผยแพร่ในรายงานต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสาธารณชนและดึงดูดนักลงทุน เช่น One report และ Dow Jones Sustainability Index (DJSI) โดยผู้ประกอบการอาจเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก การที่จะมีการตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันและดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตนเองควบคู่กับการชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิต และนำผลที่ได้ไปรายงานต่อสาธารณชน

ทั้งนี้จากงานวิจัยของ EY พบว่ากิจกรรมการชดเชยคาร์บอนจะช่วยลดต้นทุนในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยรวม 50-80% เมื่อเทียบกับการดำเนินโครงการด้วยตัวเองเพียงอย่างเดียว

สำหรับราคาคาร์บอนเครดิต ที่ผลิตได้ในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังขายตามคุณภาพอยู่ที่ประมาณ 34 บาทในปี 2021 เป็น 107 บาทต่อตัน ในปี 2022 เนื่องจากไม่ได้เป็นคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพสูงในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก อย่างการปลูกป่าโดยตรง ที่จะทำให้เกิดส่วนเหลือ จนสามารถนำส่วนต่าง หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกในส่วนที่ปล่อยต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไปขายให้กับองค์กรอื่นได้ ที่เรียกว่า “Emission Trading Scheme (ETS)”

ยิ่งเมื่อเทียบราคากลางของคาร์บอนเครดิต World Bank ล่าสุดเมื่อเดือน เมษายน 2022 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 25 เหรียญสหรัฐต่อตันคาร์บอน ที่มีคุณภาพสูงในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก โดยระบบ ETS ในยุโรป ราคาคาร์บอนเครดิตจะอยู่ที่ประมาณ 80-100 เหรียญสหรัฐต่อตัน เทียบแล้วสูงกว่าของไทย 25 เท่า ในขณะที่ของเกาหลีใต้ ถ้าเป็นระบบ ETS จะมีราคาสูงกว่าของไทย 6 เท่า

ในประเทศไทย วิธีการได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิตคุณภาพสูง คือ การปลูกป่าและการใช้ที่ดิน (Nature Based) นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage:CCUS) CCUS ซึ่งอันนี้ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและมีต้นทุนที่แพงมาก

ในส่วนของเอกชนที่เป็นองค์กรใหญ่ ที่มีการปลูกป่า อย่างจริงจัง ที่เห็นจะมีของกลุ่ม SCG กับกลุ่มปตท. ฯลฯ ที่ทำอยู่ แต่เป็นการทำเพื่อใช้เองภายในองค์กร ไม่ได้มีส่วนเหลือพอที่จะขายออกมา

*หมายเหตุ

ข้อมูลจาก Krungthai COMPASS: ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต และใบรับรองพลังงานหมุนเวียน

https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_474REC_2_9_65.pdf

Back to top button