เกมของคนรวยในโลกของคนจน
คำประกาศเงินคือโลกของคนรวย เกิดขึ้นเพราะสาระสำคัญที่ว่า คนรวยเท่านั้นที่มีความอึดต่อความเสี่ยงจากความผันผวนของวิกฤตทุนนิยม
ในเพลงร็อคสไตล์สวีดิชของวง ABBA ในช่วงทศวรรษ 1970-1980 ที่มีเพลงโด่งดังเกี่ยวการปฏิวัติที่ล้มเหลวในเม็กซิโกช่วงทศวรรษ 1950 ชื่อเพลง เฟอร์นันโด ที่มีเนื้อหากินใจคนหนุ่มสาวรุ่นหลัง 14 ตุลาคม ที่ว่าด้วยเวลาผันผ่าน ผู้ผ่านศึกในวัยโรยรา มาพบกันอีกครั้ง ในมือไม่มีปืนอีกแล้ว และในจิตสำนึกก็ไม่มีอุดมการณ์อะไรอีก
…แค่เนื้อหาท่อนท้ายของเพลงนั้นที่ว่า…
“…เคยเสียใจมั้ย…??”
ตอบได้เลยว่าไม่
แล้วหากถามต่อวรรคถามว่าถ้ามีโอกาสแบบเดิม จะยังคงทำแบบนั้นอยู่อีกรึไม่
คำตอบคือ จะทำในบัดดล ไม่มีลังเล เพราะ… I can see it in your eyes How proud you were to fight for freedom in this land
ถัดจากนั้น ก็มีเพลงที่เนื้อหากินใจในทางตรงกันข้าม ด้วยเพลง Money, Money, Money
เพลงดังกล่าว เนื้อหาว่าด้วยการแปรเปลี่ยนในลักษณะกลายพันธุ์ อันมีสาระของการมีศูนย์กลางอยู่ที่ผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำงานหนัก “ทั้งคืน” และทั้งวันแต่ในท้ายที่สุด เนื่องจากภาระหนี้ที่มาก เธอพบว่าตัวเองยากจนและต้องทนทุกข์ทรมานจากความสงสารตัวเอง จึงมี “แผน” ที่จะเอากระเป๋า “เศรษฐี” เธอเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าการทำเช่นนั้นเธอ “ไม่ต้องทำงานเลย” และสามารถทำใจให้สบายได้ทั้งวัน พูดง่าย ๆ คือ เธอเชื่อว่าหนทางเดียวที่จะหลุดพ้นจากความยากจนและ “สนุกกับชีวิต” ได้คือการทำให้ตัวเองเป็นเศรษฐี หรือการแปลงกายเป็น “คุณตลาด” ที่ร่ำรวยคือเป้าหมายชีวิต เพราะ “…ใคร ๆ ก็ทำกัน…” ที่สำคัญคือมันบ่งบอกถึงธาตุแท้ของวัฒนธรรมทุนนิยม อย่างตรงไปตรงมา
“…Money, money, money Must be funny In the rich man’s world Money, money, money Always sunny So I must leave, I’ll have to go To Las Vegas or Monaco And win a fortune in a game, my life will never the same again. In the rich man’s world Aha aha …”
คำประกาศเงินคือโลกของคนรวย……เกิดขึ้นเพราะสาระสำคัญที่ว่า คนรวยเท่านั้นที่มีความอึดต่อความเสี่ยงจากความผันผวนของวิกฤตทุนนิยมแต่ละครั้งได้ดีกว่าความยากจน เพราะวิกฤตแต่ละครั้งคือบททดสอบว่า ใครควรอยู่รอดและใครควรถูกขับไล่ออกไป
คำยืนยันว่าทุนนิยมต่อโลกของคนรวย ถือเป็นหลักการที่พึงยึดถือ……เกิดขึ้นอีกครั้งในยามที่เกิดวิกฤตคริปโทเคอเรนซี หรือตลาด da (digital assets)
ปัญหาก็คือ คนที่ “ตัวเล็กแต่เสียงดัง” หมายถึงคนรวยน้อยที่เข้ามาในตลาด da ของประเทศไทยปฏิเสธหลักการนี้ แล้วพยายามโยนความเป็น “แพะ” ให้หน่วยงานที่กำกับดูแลในฐานะ regulator อย่าง ก.ล.ต.
ที่ร้ายกว่านั้น เลขาธิการฯ อย่าง “แป๋วแหวว” ยังทำตัวเป็นไม้หลักปักขี้เลนด้วย ในการเอียงข้างคนตัวเล็กเสียงดังที่ไม่ยอมรับกติกา “โลกของคนรวย” เสียอีก เพราะกำลังลุ้นนั่งเป็นเลขาฯ รอบสอง
ผลลัพธ์คือ การทำประชาพิจารณ์ เพื่อสร้างกติกาใหม่ “ให้ดีลซื้อขายขั้นต่ำสุดของตลาด da อยู่ที่ 5,000 บาท” จึงถูกสับเละเทะถึงขั้นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยที่อุตส่าห์อดตาหลับขับตานอน ไปค้นหากรณีตัวอย่างในโลกนี้มาสร้างกติกาใหม่ ต้องถอดใจขอย้ายแผนกกันอุตลุดเลยทีเดียวเพราะแรงกดดันที่ถาโถมเข้าใส่จากบรรดาคนตัวเล็กเสียงดัง (แต่เส้นใหญ่) ที่คุ้นเคยกับกติกาที่ผิดหลักนั้นคือ “ตอนโดนทับ ไม่เคยร้อง แต่ตอนท้อง จะให้ ก.ล.ต.รับแทน”
ตลาด da ของไทยที่ผิดประหลาดเพราะกำลังจะสร้าง “โลกของคนจน” ขึ้นมาอย่างผิดฝาผิดตัวจึงออกมาอย่างชนิด ตีนโต แต่หัวลีบ ที่เหมาะสำหรับงานภูเขาทองเท่านั้น