กสทช. กับ พฤติกรรมแบล็กเมล (ตอนจบ)

ดัชนี Herfindahl เป็นการวัดขนาดของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่พวกเขาอยู่ และเป็นตัวบ่งชี้ถึงปริมาณการแข่งขันระหว่างบริษัทเหล่านั้น


ดัชนี Herfindahl (หรือที่รู้จักในชื่อ Herfindahl–Hirschman Index, HHI หรือบางครั้ง HHI-score) เป็นการวัดขนาดของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่พวกเขาอยู่ และเป็นตัวบ่งชี้ถึงปริมาณการแข่งขันระหว่างบริษัทเหล่านั้น ตั้งชื่อตามนักเศรษฐศาสตร์ Orris C. Herfindahl และ Albert O. Hirschman เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกฎหมายการแข่งขัน การต่อต้านการผูกขาด และการจัดการเทคโนโลยีด้วย

HHI ยังคงถูกใช้โดยหน่วยงานต่อต้านการผูกขาด โดยหลักแล้วเพื่อประเมินและทำความเข้าใจว่าการควบรวมกิจการจะส่งผลต่อตลาดที่เกี่ยวข้องอย่างไร HHI คำนวณโดยการยกกำลังส่วนแบ่งตลาดของแต่ละบริษัทที่แข่งขันกันในอุตสาหกรรม แล้วรวมตัวเลขผลลัพธ์ บางครั้งจำกัดอยู่ที่ 50 บริษัทขนาดใหญ่ ส่วนแบ่งการตลาดจะแสดงเป็นเศษส่วน ทศนิยม หรือทั้งหมด ดังนั้นจึงสามารถอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0 ถึง 1.0 โดยเปลี่ยนจากของตลาดที่มีบริษัทขนาดเล็กจำนวนมาก มาเป็นผู้ผลิตที่ผูกขาดเพียงรายเดียว การเพิ่มขึ้นของดัชนี Herfindahl บ่งชี้ว่าการแข่งขันลดลงและอำนาจทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การลดลงบ่งบอกถึงสิ่งที่ตรงกันข้าม

ประโยชน์ที่สำคัญของดัชนี Herfindahl อย่างยืดหยุ่น สัมพันธ์กับมาตรการต่าง ๆ เช่น อัตราส่วนความเข้มข้น คือ ให้น้ำหนักมากขึ้นแก่บริษัทขนาดใหญ่ ประโยชน์อื่น ๆ ของดัชนี Herfindahl รวมถึงวิธีการคำนวณอย่างง่าย และข้อมูลจำนวนเล็กน้อยที่จำเป็นสำหรับการคำนวณ

สภาของคุณสารีนั้น ไม่ได้บอกด้วยว่าผลการศึกษาที่แท้จริงเชิงปริมาณของเธอนั้น มีผลลัพธ์ต่อค่า HHI อย่างไรหลังการควบรวม ซึ่งเท่ากับเป็นการอ้างอิงถึงดัชนี HHI อย่างเลื่อนลอย ตามมาตรฐานส่วนตัว ที่สรุปไว้ก่อนว่าการควบรวมย่อมนำไปสู่การผูกขาดตลาดและประสิทธิภาพของการแข่งขันย่ำแย่ลง…เป็นแค่ “ข้ออ้างของนักแบล็กเมล” ที่พร่ำเพรื่อ

ข้อกล่าวหาทั้งหมดล้วนเกิดจากอคติส่วนตัวของการ “รังเกียจคนรวย แต่ไม่รังเกียจความรวย” และเป็นการกระทำแบบแบล็กเมลทั้งสิ้น เพราะยังไม่เกิดเหตุการณ์ขึ้นมา

สภาองค์กรของคุณสารี อ๋องสมหวังนั้น แต่เดิมก็ไม่ไว้วางใจกสทช.ในฐานะของผู้กำกับดูแลธุรกิจอยู่แล้ว การยอมสยบให้กับเสียงค้าน แสดงให้เห็นถึงการยอมรับความอ่อนแอของกสทช.เอง ที่กรรมการแต่ละคนกินเงินเดือนแพงสุดในบรรดา state regulators ของประเทศไทยโดยปริยาย

องค์กรที่มีอำนาจมากมาย แต่ยอมรับการแบล็กเมลของสภาคุ้มครองผู้บริโภค ไม่มีเสียเลยจะดีกว่า

กสทช.ซึ่งมีหน้าที่เบ็ดเสร็จในการกำกับดูแลธุรกรรมทางด้านโทรคมนาคมและสื่อของประเทศ ยอมรับข้อกล่าวหาขององค์กรเอกชนที่อ้างตนอยู่เหนือหน่วยงานใดก็ตามภายใต้ข้ออ้างในเรื่องความหวังดีต่อประชาชน…อย่างน้ำขุ่น ๆ ……เพียงเพราะเกรงกลัวข้อกล่าวหาอันไม่มีหลักฐานชัดเจนแล้ว กสทช.ก็เสมือนเจว็ดในศาลพระภูมิที่ไร้คุณค่าดี ๆ นี่เอง ……ไม่มีเสียจะดีกว่า

การเรียกร้องของสภาองค์กรเพื่อผู้บริโภค จึงถือเป็นการปรุงแต่งเหตุการณ์ของปรากฏการณ์ มากกว่ามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่รู้จักกัน ถือว่าเป็นการถ่ายทำกิจกรรมที่สร้างขึ้นใหม่ในสถานที่จริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น หรือ Docudrama ซึ่งแตกต่างจาก “ตามเหตุการณ์ที่แท้จริง ที่เกิดขึ้นต่อฉากหลังของเจตนา” ล่ารายชื่อต้านการควบรวมกิจการธุรกิจโทรคมนาคม ระหว่าง ดีแทค กับ ทรูมูฟ เอช อันน่าเคลือบแคลง

ยิ่งตามมาด้วยคำพูดทำนองแบล็กเมล สำหรับกรณีที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นจริงด้วยแล้ว ยิ่งไม่สมควรโอนอ่อนตามแม้แต่น้อย

งานนี้ขอเชียร์แบบซีรีส์เกาหลีต่อกสทช.ว่า “ไฟท์ติ้ง ๆ ๆ”

Back to top button