PTTEP เริ่มเล็กเพื่อใหญ่.!?
ถ้าพูดถึง ปตท.สผ. หรือ PTTEP เป็นลูกคนโตของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่ทำผลงานโดดเด่นมาโดยตลอด...เห็นได้ชัดในปีที่ผ่านมา
ถ้าพูดถึงปตท.สผ.หรือบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เป็นลูกคนโตของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่ทำผลงานโดดเด่นมาโดยตลอด…เห็นได้ชัดในปีที่ผ่านมา แม้ลูกคนอื่น ๆ จะเผชิญวิกฤตตกที่นั่งลำบาก แต่ลูกที่ชื่อ PTTEP ก็ไม่ทำให้แม่ผิดหวัง ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2565 ฟาดกำไรสุทธิไป 55,290 ล้านบาท จากรายได้รวม 243,253 ล้านบาท และมีอัตรากำไรสุทธิ 22.73%
(ในช่วงที่ผ่านมาปตท.ก็ได้ลูกหัวแก้วหัวแหวนคนนี้นี่แหละที่คอยอุ้มชูดันรายได้และกำไร)…
PTTEP จึงถือเป็นลูกเทพของปตท.ก็ว่าได้..!!
ขณะที่ PTTEP เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เน้นการสำรวจขุดเจาะก๊าซและปิโตรเลียม เป็นบริษัท Worldwide ระดับโลกที่น่าภูมิใจของคนไทย…
โอเค…ในแง่การสำรวจขุดเจาะก๊าซและปิโตรเลียมก็ว่ากันไป แต่มีอีกเรื่องหนึ่งที่ PTTEP ทำแล้วสร้างความฮือฮา นั่นคือ การไปจับมือกับบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM ตั้งบริษัทร่วมทุนที่ชื่อว่า บริษัท เอทีไอ เทคโนโลยีส์ จำกัด เพื่อร่วมกันพัฒนา “เจ้าเอี้ยง” โดรนเกษตรอัจฉริยะ หวังยกระดับผลผลิตด้านการเกษตร
กลายเป็นที่ฮือฮาในแวดวงเกษตรกรของไทย..!!
และถือเป็นนวัตกรรมที่แหกคอกจากการสำรวจและขุดเจาะชิ้นแรก ๆ ของ PTTEP เลยทีเดียว แต่น่าเสียดายที่ตอนนี้เงียบหายเข้ากลีบเมฆไปซะแล้ว…
อุตส่าห์มีของดีอยู่ในมือแท้ ๆ แต่หลบ ๆ ซ่อน ๆ อยู่ในซอกหลืบซะงั้น…เสียของจริง ๆ
ล่าสุด PTTEP ก็รุกมาสู่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ด้วยการส่งบริษัทลูก บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จํากัด จัดตั้งสองบริษัทใหม่เอี่ยมอ่อง ได้แก่ บริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จํากัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เพื่อให้บริการแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองโดยใช้เทคโนโลยี AI & Machine Learning พร้อมการวิเคราะห์ข้อมูลแบบครบวงจร
ตามมาด้วยบริษัท ไบนด์ ซิสเต็มส์ จํากัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เพื่อให้บริการระบบความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว การยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และองค์กร ผ่านเทคโนโลยี Web 3.0
ไม่หมดเท่านั้น ยังไฟเขียวให้ลูกอีกคน นั่นคือบริษัท โรวูล่า (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า บริษัท เอสทูโรโบติกส์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อให้บริการซ่อมแซมท่อใต้ทะเลโดยใช้หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ Nautilus ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงและระยะเวลาในการซ่อมแซมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โอเค…สิ่งที่สองบริษัทแรกจะทำ อาจมองภาพยังไม่ชัดเท่าไหร่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน…ยังไง.? แต่สำหรับการให้บริการซ่อมแซมท่อใต้ทะเลโดยใช้หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ อันนี้เห็นภาพชัดเจน เพราะจะเอื้อประโยชน์ต่อ PTTEP โดยตรง เริ่มจาก 1) PTTEP ซึ่งทำธุรกิจสำรวจและขุดเจาะในทะเลอยู่แล้ว ต่อไปในการซ่อมบำรุงท่อต่าง ๆ ก็จะมีความคล่องตัวมากขึ้น…
และ 2) ในการซ่อมบำรุงท่อต่าง ๆ หากก่อนหน้านี้ PTTEP ใช้บริการของบริษัทอื่น ต้องจ่ายแพง แต่เมื่อมีบริษัทในเครือทำตรงนี้ ก็จะจ่ายในราคาดิสเคานต์ ช่วยประหยัดต้นทุนไปได้มากโข
แม้จะเริ่มจากเล็ก ๆ แต่ถ้าทำตรงนี้สำเร็จก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่เลยนะ..!!
ก็ถือเป็นอีกก้าวย่างในการรุกสู่ธุรกิจใหม่ ๆ ที่น่าจับตาของ PTTEP…
แหม๊…ภายใต้การนำทัพของ “เฮียมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล” มีสีสันไม่น้อยทีเดียว…
…อิ อิ อิ…