GPSC-WHAUP วิบาก ‘เก็คโค่-วัน’.!?
ระหว่างที่คนไทยใจชื้นกับค่าไฟฟ้าช่วงปลายปีนี้ที่จะถูกลง หลัง กกพ. ส่งสัญญาณจะปรับลดค่า Ft งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2566 อย่างน้อย 20 สตางค์ต่อหน่วย
ระหว่างที่คนไทยใจชื้นกับค่าไฟฟ้าช่วงปลายปีนี้ที่จะถูกลง หลังสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ส่งสัญญาณจะปรับลดค่า Ft งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2566 อย่างน้อย 20 สตางค์ต่อหน่วย จากปัจจุบันค่าไฟฟ้างวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 อยู่ที่ 4.70 บาทต่อหน่วย…
แต่ขณะเดียวกันมีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสองรายที่กำลังงานเข้าจัง ๆ นั่นคือ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ในกลุ่มปตท. และบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP ในกลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA
จากปมปัญหาบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด (เก็คโค่-วัน) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้า IPP ขนาดกำลังการผลิต 660 เมกะวัตต์ ที่ใช้ถ่านหินประเภทบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิง ถูกคู่ค้า AVRA International DMCC (AVRA) ซึ่งเป็นบริษัทซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ระดับโลก เน้นไปที่ถ่านหิน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ดูไบ ยื่นร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce หรือ ICC) เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2566 กรณียกเลิกคำสั่งซื้อถ่านหินจาก AVRA ทำให้ได้รับความเสียหายประมาณ 309 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราว 10,815 ล้านบาท (คิดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 35 บาท)
สารตั้งต้นของเรื่องนี้ เกิดจากเก็คโค่-วันต้องหยุดซื้อถ่านหินจาก AVRA ตามสิทธิภายใต้สัญญาซื้อขายและขนส่งมอบถ่านหิน (Coal Supply and Transportation Agreements หรือ CSTAs) หลังจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีคำสั่งให้หยุดผลิตไฟฟ้า โดยยังได้รับค่าความพร้อมจ่าย ตั้งแต่เดือน มี.ค.-ต.ค. 2566 เป็นอย่างน้อย…
ขณะที่ โรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน เป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง GPSC กับ WHAUP (GPSC ถือหุ้น 65% รับรู้กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 429 เมกะวัตต์ ส่วน WHAUP ถือหุ้น 35% รับรู้กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 231 เมกะวัตต์) โดยตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เริ่มขายไฟให้กับกฟผ.มาตั้งแต่ปี 2555 แล้ว…แต่จู่ ๆ กฟผ.สั่งให้หยุดเดินเครื่องซะงั้น…
ก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะราคาก๊าซที่พุ่งทะลุทะลวงก่อนหน้านี้หรือเปล่า..? เอ๊ะ…หรือจะเกี่ยวพันกับปริมาณสำรองที่ล้นปรี่ในขณะนี้..? คงต้องรอผู้ว่าฯ กฟผ.คนใหม่ชี้แจงแล้วล่ะ…
โอเค..ในแง่ของการฟ้องร้องคดีความก็ว่ากันไป..ซึ่งไม่รู้จะจบเมื่อไหร่..? โดยตามขั้นตอนอนุญาโตตุลาการจะใช้เวลานานถึง 12–24 เดือน…นั่นเท่ากับว่าปมปัญหานี้จะกลายเป็นวิบากกรรมที่ตามหลอกหลอน GPSC กับ WHAUP ไปอีกนาน..!!
แต่เบื้องต้นวิบากแรกที่ต้องเจอก่อนเลย..เมื่อหยุดผลิตไฟฟ้าทั้ง GPSC และ WHAUP ก็จะไม่มีรายได้จากเก็คโค่-วันเข้ามา อย่างน้อย ๆ ช่วง 8 เดือนนี้ ก็เสียโอกาสด้วยกันทั้งคู่ กระทบต่อรายได้และกำไร…
ตามด้วยวิบากที่ 2 หากว่าเก็คโค่-วันกลับมาเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าอีกครั้ง คำถามจะเอาถ่านหินจากไหน..? จะเกิดปัญหาซัพพลายเชนหรือเปล่า..? ยังจะซื้อจาก AVRA มั้ย..? หรือจะเปลี่ยนไปซื้อจากเจ้าใหม่แทน…ก็ไม่รู้สินะ
แต่ที่เบาใจหน่อย เห็นว่าเคสนี้ไม่ต้องตั้งสำรองฯ ให้เป็นแผลเป็นในงบการเงินของทั้งคู่นะ…
จะว่าไปช่วงนี้ทั้งคู่อุตส่าห์โปรยข่าวดีมาปลุกใจผู้ถือหุ้นแท้ ๆ อย่าง GPSC เพิ่งแจ้งลงทุนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์และธุรกิจระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่เพิ่ม ในประเทศอินเดีย กว่า 8,600 ล้านบาท ผ่านการซื้อหุ้น Avaada จำนวน 42.93%…
ฟาก WHAUP แจ้งข่าวดีปีด 2 ดีลใหญ่ เซ็นขายน้ำเพื่ออุตสาหกรรมคุณภาพสูง ป้อนให้กับบริษัทผู้ผลิต Solar Panel รายใหญ่จากประเทศจีน ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท 4 จังหวัดระยอง สัญญา 15 ปี มูลค่า 1,800 ล้านบาท และขายน้ำให้กับบริษัทผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ มูลค่าสัญญา 1,100 ล้านบาท
กลับมาโดนเตะสกัดขาซะงั้น…
…แหม เสียดายจัง เฮ้อ เสียดายจัง…
…อิ อิ อิ…