ขันติธรรมทางความคิดกับยุโรปในอนาคต

ความเกลียดชังต่อมุสลิมในยุโรปกำลังพุ่งขึ้นสู่ระดับใหม่หลังจากที่มีกรณียิงกราดชาวสวีเดนในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างเบลเยียมกับสวีเดน


ความเกลียดชังต่อมุสลิมในยุโรปกำลังพุ่งขึ้นสู่ระดับใหม่หลังจากที่มีกรณียิงกราดชาวสวีเดนในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างเบลเยียมกับสวีเดน จนต้องระงับการแข่งขันชั่วคราว

เหตุผลของชายมุสลิมที่เป็นผู้ก่อเหตุในเบลเยียมคือเหตุผลของคนที่คลั่งศาสนาที่เรียกกันว่าพวกความคิดพื้นฐาน (คลั่งศาสนา) หรือ fundamentalist ซึ่งเน้นการก่อเหตุรุนแรงต่อคนที่เป็นเป้าหมายอย่างโหดเหี้ยมโดยที่ไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว ซึ่งเป็นการกระทำของคนที่บ้าคลั่งเท่านั้น

เหตุร้ายที่เกิดขึ้นส่งผลที่บ่งชี้อีกครั้งว่ายุโรปกำลังเผชิญกับความท้าทายทางสังคมครั้งใหม่เช่นเดียวกันกับเรื่องขันติธรรมทางความคิดและสังคมที่เคยบานปลายเป็นเรื่องใหญ่ทางประวัติศาสตร์มาแล้ว

อันที่จริงความเกลียดชังมุสลิมในยุโรปนั้นมีมามายาวนานนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วโดยครั้งนั้นศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นคนสร้างสถานการณ์ขึ้นมา โดยอาศัยการเบี่ยงเบนประเด็นจากความขัดแย้งระหว่างศาสนจักรกับกษัตริย์เรื่อง invest stitution หรือการแต่งตั้งหรือรับรองฐานะของของกษัตริย์โดยพวกโรมันคาธอลิก โดยพยายามอ้างถึงเหตุจากชาวมุสลิมที่เคลื่อนตัวเข้ายึดเมืองเยรูซาเลมจากพวกยิวและคริสตจักรไบแซนไทน์ (ที่เคยเป็นศัตรูกันมายาวนานตั้งแต่ครั้งคริสต์ศตวรรษที่ 5 เกี่ยวกับการตีความอำนาจของศาสนจักรไบแซนไทน์ที่ใช้ภาษากรีกเป็นหลักกับโรมันคาธอลิกที่ใช้ภาษาละตินเป็นหลัก จนบานปลายมาเป็นสงครามครูเสดอันไร้สาระที่กองทัพจากพวกนักรบฟิวดัลในยุโรปต้องยกขบวนไปทำสงครามที่เมืองเยรูซาเลมเพื่อสร้างอาณาจักรครูเสดที่จบลงด้วยการล่มสลายของอาณาจักรครูเสดและระบบฟิวดัลของยุโรป เปิดทางให้กับระบอบทุนนิยมเข้ามาแทนที่แล้วสร้างรัฐประชาชาติขึ้นมาเป็นแนวคิดใหม่จนถึงทุกวันนี้

การล่าถอยของอาณาจักรครูเสด  ได้สร้างปัญหาเรื่องการปฏิรูปศาสนาคริสต์ครั้งใหญ่ที่กลายมาเป็นรัฐที่นับถือโปรเตสแตนท์กับรัฐที่ยึดถือศานสนจักรโรมันคาธอลิก ซึ่งหลังจากการสู้รบกันในสงครามศาสนาในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (นครรัฐก่อนจะรวมกันเป็นชนชาติเยอรมนีในปัจจุบันพร้อมกับการแพร่กระจายของแนวคิดแบบขันติธรรมทางศาสนาและการเมืองขึ้นมาโดยหลักการแตกต่างไม่แตกแยก

คำว่าขันติธรรมในทางพุทธศาสนาที่คนไทยเข้าใจนั้นมีความหมายทั้งทางส่วนบุคคลและทางสังคม

ขันติ เป็นภาษาบาลี หมายถึง การรักษาภาวะปกติของตนไว้ได้  โดยไม่ได้มีความโกรธแค้นกันทางส่วนตัว ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่ง ด้วยสิ่งที่น่าพอใจ หรือ ไม่น่าพอใจก็ตาม ในภาษาไทย ขันติ หมายถึง ความอดทน      

โดยในภาษาไทยนั้น มาจากคำว่า อด เป็นอาการ ที่อยากจะได้ แต่ไม่ได้ ทน เป็นอาการ ที่ไม่อยากได้ แต่ต้องได้

ดังนั้น ขันติ ความอดทน อดกลั้น ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน จึงหมายถึง อดทนในสิ่งที่ควรอดทนด้วยความเต็มใจและพอใจ คือ อดทน ในการละ หลีกเลี่ยงจากความชั่ว

อดทน ทำความดี ต่อไปในทุกสถานการณ์

อดทน รักษาใจให้ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง

ความอดทน จึงเปรียบเสมือนการขุดขุมทรัพย์อันมีค่ามหาศาล

เนื่องจากพุทธศาสนาเน้นเรื่องขันติธรรมทางจิตใจส่วนบุคคลมากกว่าทางสังคมและการเมือง ทำให้เวลาเอ่ยถึงขันติธรรมจึงขาดมิติทางสังคมและการเมืองไปไม่น้อย

ความอดทน  หรืออดกลั้นนั้น พุทธศาสนา มีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า หากแบ่งตามเหตุที่มากระทบได้เป็น 4 ประเภทคือ  

  1. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ เป็นการอดทนต่อสภาพธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ ความหนาว ความร้อน
  2. อดทนต่อทุกขเวทนา เป็นการอดทนต่อการเจ็บไข้ได้ป่วยความไม่สบายกายของเราเอง ความปวด ความเมื่อย
  3. อดทนต่อความเจ็บใจ เป็นการอดทนต่อความโกรธ ความไม่พอใจ ความขัดใจ อันเกิดจากคำพูดที่ไม่ชอบใจ กิริยามารยาทที่ไม่งาม บางคน เพียงถูกคนโน้นกระทบที คนนี้กระแทกที เขาว่าหน่อยค่อนขอดนิด ก็อึดอัดเจ็บใจ
  4. อดทนต่ออำนาจกิเลส เป็นการอดทนต่ออารมณ์อันน่าใคร่น่าเพลิดเพลินใจ อดทนต่อสิ่งที่เราอยากทำ แต่ไม่สมควรทำในที่นี้มุ่งหมายถึง การไม่เอาแต่ใจตัว ไม่ยอมปล่อยตัวตามกระแสโลก ความเพลิดเพลิน เช่น ความสนุกสนาน การเที่ยวเตร่ ความฟุ้งเฟ้อต่าง ๆ หรือการได้ผลประโยชน์ในทางที่ไม่ควร เป็นต้น

สำหรับโลกยุคปัจจุบันนั้น ภาพยนตร์ยุคหนังเงียบในซีรีส์ขนาด 4 ตอน ว่าด้วยอขันติธรรมในสังคมตะวันตกเรื่อง Intolerance ตอนที่หนึ่งและสองว่าด้วยกำเนิดและสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ที่ชาวยิวกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาของชาวโลก และตอนที่สามว่าด้วยการสังหารหมู่ชาวอูเกโนต์หรือโปรเตสแตนท์ในฝรั่งเศสในวันแซง บาร์โธโลมิวเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และตอนที่สี่ว่าด้วยการสังหารชาวยิวและขับไล่ไปเป็นคนนอกสังคมยุโรปเมื่อก่อนคริสตกาล ก็เป็นตัวอย่างของความสะเทือนใจที่มนุษย์ปฏิบัติต่อกันในสมัยประวัติศาสตร์เมื่อกว่า 3,000 ปี

ตัวอย่างความเกลียดชังของชาวยุโรปต่อมุสลิมนั้นเคยปรากฏอยู่ในคำพูดอันสะเทือนใจของเมซุตโอซิลเมื่อวันอำลาทีมชาติเยอรมนีอันติดตรึงใจที่ว่า “เวลาที่ทีมชาติฟุตบอลเยอรมนีชนะ พวกเขาถือว่าผมเป็นคนเยอรมัน แต่เมื่อทีมชาติแพ้เรากลายเป็นลูกของผู้อพยพจากตุรกีเท่านั้นเอง”

ยามนี้สังคมยุโรปจะทนกับความท้าทายครั้งใหม่จากการต่อสู้กับอขันติธรรมของตนเองและของผู้ก่อเหตุรุนแรงที่เป็นผู้ปฏิบัติการของพวก Fundamentalist ได้ดีเพียงใด หลังจากที่ชาวอเมริกันหลังยุคจอร์จ บุชผู้ลูกที่ถูกวิพากษ์อย่างแรงโดยคนมุสลิมในสหรัฐฯ ที่อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์การเมืองที่นำแสดงโดยชาห์รุกข่าน เรื่อง my name is khan ว่าด้วยความอยุติธรรมที่ชาวมุสลิมในดินแดนสหรัฐฯ ถูกปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและ เอฟบีไออ้างกฎหมายความมั่นคงมาปฏิบัติเสมือนชาวมุสลิมทุกคนถูกเหมารวมว่า เป็นผู้ก่อการร้ายแบบเดียวกับโอซามา บิน ลาเดน

Back to top button