อิสรภาพระลอก 2แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

ปี 2557 เป็นปีที่นางสาววันดี กุญชรยาคง และผู้บริการ กับกรรมการบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG ผู้ประกอบกิจการพลังงานทางเลือกรายใหญ่หัวแถว ได้ใช้ความกล้าหาญไปแล้วอย่างมีนัยสำคัญด้วยวิศวกรรมการเงินเพื่อสลัดทิ้งอดีตที่มีหนี้ท่วมกิจการ ด้วยการการตัดสินใจออกหุ้นกู้ และเพิ่มทุนพร้อมกัน


ปี 2557 เป็นปีที่นางสาววันดี กุญชรยาคง และผู้บริการ กับกรรมการบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG ผู้ประกอบกิจการพลังงานทางเลือกรายใหญ่หัวแถว ได้ใช้ความกล้าหาญไปแล้วอย่างมีนัยสำคัญด้วยวิศวกรรมการเงินเพื่อสลัดทิ้งอดีตที่มีหนี้ท่วมกิจการ ด้วยการการตัดสินใจออกหุ้นกู้ และเพิ่มทุนพร้อมกัน

ครั้งนั้น มีการออกและเสนอขายหุ้นกู้ในวงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาท หรือในสกุลเงินอื่นในจำนวนที่เทียบเท่า อายุไม่เกิน 5 ปี และเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทอีก 83.99 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 839.99 ล้านบาท เพื่อเสนอขายหุ้นต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement)

การตัดสินใจดังกล่าว มีจุดหมายสำคัญเพื่อแหวกวงล้อมของปัญหาการเงินที่รุมเร้ามายาวนานกว่า 3 ปี ทำให้ต้นทุนการเงินของบริษัทจะลดลงฮวบฮาบ และลดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน

ที่สำคัญจะเป็นอิสระจากภาระหนี้สินกับเจ้าหนี้รายใหญ่ที่เป็นตัวฉุดรั้งความก้าวหน้าของกิจการมาหลายปีมาได้อย่างลุล่วงได้บางส่วน

การตัดสินใจครั้งนั้น ถือเป็นก้าวแรก เพราะ ว่าภาระหนี้สินยังไม่หมดไปเสียทีเดียว เท่ากับว่า นกยังไม่ได้ถูกปลดปล่อยออกจากกรงทองให้โบยบินโดยเสรี แม้ธุรกิจของบริษัทกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น

อิสรภาพครั้งนั้นก็เพียงแค่…ขยายกรงให้ใหญ่ขึ้น เคลื่อนไหวสะดวกกว่าเดิม เท่านั้น

ภาระหนี้ของ SPCG ยังคงหนักหนา เพราะใครก็รู้ว่า แม้จะมีกำไร และรับรู้รายได้เต็มที่จากโครงการรุ่นแรก 36 แห่งเสร็จไปแล้ว แต่โครงการหารายได้ใหม่ ยังต้องเดินหน้าต่อไป และใช้เงินมากกว่าเดิมทั้งสิ้น

ภาระหนี้สินเทียบกับส่วนผู้ถือหุ้นที่ระดับ 2.5 เท่าของ SPCG บอกให้รู้ว่า อิสรภาพที่สมบูรณ์ ยังไม่ได้เกิดขึ้น

การตัดสินใจล่าสุดปลายปี 2558 นี้ ก็ถือเป็นกระบวนการ “ปลดหนี้” ระลอก 2 ที่สำคัญกว่าเดิม  แม้ว่า อาจจะไม่ได้ทำให้หนี้หมดไป (เพราะบริษัทที่ไม่มีหนี้ ย่อมเป็นบริษัทที่ผู้บริหาร “ขี้เกียจสันหลังยาว”)

เพียงแต่ปลดหนี้จากเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินที่คิดต้นทุน “มหาโหด” มีเงื่อนไขสารพัด มาเป็นเจ้าหนี้ “มหาชน” ที่ถือหุ้นกู้ที่มีต้นทุนต่ำกว่า และมีเงื่อนไขผูกมัดน้อยกว่า…เพราะยามนี้ การออกหุ้นกู้สามารถทำได้สะดวก เพราะ SPCG ยังคงมีสภาพ “คนสวยเลือกได้

มติที่ประชุมบริษัท ให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ จำนวน 12,500 ล้านบาท ให้แก่สถาบันการเงินและผู้ลงทุน รายใหญ่ โดยบริษัทได้นำเงินดังกล่าวไปให้บริษัทย่อยใช้คืน หนี้เงินกู้กับสถาบันการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้ง 7 แห่ง เพื่อ “ปลดล็อกเงื่อนไขทางการเงินต่างๆ” ที่เคยมี ไม่ว่าจะเป็น  1) ส่วนของเงินฝากธนาคาร ที่มีข้อจำกัดในการใช้จำนวน 1,170 ล้านบาท  2) ลดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเงินกู้เดิม  3) ปลดภาระจำนองที่ดิน และเครื่องจักรทั้งหมดของโครงการ โซลาร์ฟาร์มทั้ง 36 โครงการ

ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัวอย่างนี้ ใครมีโอกาส แล้วไม่ฉวยเอาไว้…ก็ไม่ใช่นักบริหารที่ดี

การออกหุ้นกู้ที่ออกแบบไว้ดี  8 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ มีระยะเวลาไถ่ถอนไม่เท่ากัน มีอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 2.27-3.94% ต่อปี แน่นอนว่าขายได้หมดไม่ยาก เพราะมีเงื่อนไขที่คนถือหุ้นกู้ชอบกันนัก เนื่องจากได้รับการจัดอันดับจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ในระดับ “A-” แนวโน้ม “คงที่” 

ดีแค่ไหน…ไปดูข่าวสารของ SPCG กันเอาเอง…

ถือเป็นการรีไฟแนนซ์ ที่ออกแบบมาอย่างดีทีเดียว เพราะแปลงหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว และมีอัตราต่ำกว่าเดิม  แม้ว่าอาจจะไม่ทำให้ D/E ของบริษัทลดลงไปกี่มากน้อย

เงินที่ได้จากหุ้นกู้ 8 ชุดนี้ จะเอาไปกระจายให้กับบริษัทในเครือข่าย เพื่อให้บริษัทย่อย นำเงินไปชำระคืนหนี้เงิน กู้กับสถาบันการเงิน หรือใช้ขยายธุรกิจหรือเป็นเงินทุนหมุนเวียน

ที่แน่นอน….รีไฟแนนซ์อย่างนี้ผู้ถือหุ้นชอบ เพราะทำให้มีกำไรมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนการเงินลดฮวบฮาบ

ส่วนเรื่องลดหนี้ ล้างหนี้ ไม่ใช่ประเด็น เพราะ บางครั้ง การมีหนี้ก็เป็นลาภอันประเสริฐ…เนื่องจากทำให้ผู้บริหารขยันขึ้นไงล่ะ

งานนี้ ผู้บริหารอย่างวันดี จะหายหน้าหายตาไป…ก็ขอให้เข้าใจว่ากำลังทำงานหนัก…เหมือนเดิมนะจ๊ะ

ไม่ได้หนีหน้าเจ้าหนี้

 ที่ผ่านมา.. SPCG โตมาเพราะหนี้ตั้งแต่เริ่มต้น เพียงแต่หนี้ซึ่งเป็น “ดินพอกหางหมู” นั้น ตอนนี้  ได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปแล้วเกือบทั้งหมด

จุดเด่นอันเป็นจุดขายสำคัญ ของ วันดี และ ทีมงานแห่ง SPCG  …นอกจากทำโซลาร์ฟาร์มได้แจ่มแจ๋วแล้ว..ก็อยู่ที่ ความสามารถในการแก้ปัญหาหนี้ นี่เอง…555555

Back to top button